“บ้านปะการัง จากเทคโนโลยี 3D Printing ” เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชาติ สร้างประโยชน์ได้เกินคาด
“บ้านปะการัง จากเทคโนโลยี 3D Printing ” เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชาติ สร้างประโยชน์ได้เกินคาด
ทช. X คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ x SCG
ทช. X คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ x SCG
เราคงเคยได้ยินแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลในหลายเมืองทั่วโลก นำเอาสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้วอย่าง ตู้รถไฟ ซากรถถัง เครื่องบิน ยางรถยนต์ โครงสร้างคอนกรีตต่าง ๆ ไปจัดวางใต้ท้องทะเล เพื่อให้เป็นแหล่งฟื้นฟูปะการัง ที่เป็นเสมือนบ้านหลังหนึ่งให้กับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลได้อยู่อาศัย
เหตุผลเพราะเวลานี้ปะการังจริง ๆ ใต้ท้องทะเล เกิดความเสียหายมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีต้นเหตุมาจากทั้งธรรมชาติและมนุษย์ โดยจากผลการสำรวจในปี 2558 อ่าวไทยมีพื้นที่ปะการัง 148,955 ไร่
ซึ่งมีแนวปะการังเสียหายสูงถึง 78.4% จากทั้งหมด และคาดการณ์ว่าความเสียหายดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งมีแนวปะการังเสียหายสูงถึง 78.4% จากทั้งหมด และคาดการณ์ว่าความเสียหายดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
แม้รูปแบบการใช้วัสดุเหล่านี้ จะมีผลการวิจัยจากหลายหน่วยงานว่าเป็นสถานที่สำหรับให้สัตว์น้ำมาอยู่อาศัย
แต่…ก็ต้องยอมรับว่าโครงสร้างทางกายภาพก็ยังไม่เหมือนปะการังจริง ๆ
แต่…ก็ต้องยอมรับว่าโครงสร้างทางกายภาพก็ยังไม่เหมือนปะการังจริง ๆ
จะดีกว่านี้ไหม หากมีการสร้างบ้านปะการัง ที่มีความกลมกลืนใกล้เคียงกับแหล่งที่อยู่ของปะการังจริงมากที่สุด มีความแข็งแกร่งทนทานต่อคลื่นและกระแสใต้น้ำ
คำถามนี้เองที่ได้จุดประกายทางความคิดให้กับ SCG ในกลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง,
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกันพัฒนาวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง หรือ บ้านปะการัง ผ่านโครงการ “รักษ์ทะเล”
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกันพัฒนาวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง หรือ บ้านปะการัง ผ่านโครงการ “รักษ์ทะเล”
บ้านปะการัง คืออะไร ?
แล้วมีความสมจริงเหมือนปะการังจากธรรมชาติ มากน้อยแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แล้วมีความสมจริงเหมือนปะการังจากธรรมชาติ มากน้อยแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
“เทคโนโลยี” กับ “ปะการัง” ฟังดูก็รู้สึกได้ทันทีว่าทั้งสองสิ่งนี้ มันช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน
แต่ทาง SCG กับพันธมิตรในโครงการ “รักษ์ทะเล” กำลังทำให้มันกลายเป็นเรื่องเดียวกัน
แต่ทาง SCG กับพันธมิตรในโครงการ “รักษ์ทะเล” กำลังทำให้มันกลายเป็นเรื่องเดียวกัน
รู้หรือไม่ว่า ระบบนิเวศทางทะเลมีขนาดใหญ่ และซับซ้อนที่สุดในโลก
ปะการัง คือสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่มีความซับซ้อนไม่แพ้กัน
เพราะหากสังเกต จะพบว่า โครงสร้างพื้นผิวด้านนอกของปะการัง จะเป็นหินปูนละเอียดยิบ ที่เกิดจากการสะสมตัวของแร่อะราโกไนต์ โดยพื้นผิวนี้เองก็จะมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ เกาะอาศัยอยู่
ปะการัง คือสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่มีความซับซ้อนไม่แพ้กัน
เพราะหากสังเกต จะพบว่า โครงสร้างพื้นผิวด้านนอกของปะการัง จะเป็นหินปูนละเอียดยิบ ที่เกิดจากการสะสมตัวของแร่อะราโกไนต์ โดยพื้นผิวนี้เองก็จะมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ เกาะอาศัยอยู่
ทีนี้การจะทำให้เกิดวัสดุพื้นผิวแข็ง ที่มีความเหมาะสมกับตัวอ่อนของปะการัง สามารถลงเกาะ และเจริญเติบโตได้ จำเป็นต้องพึ่งพา 2 เรื่องหลัก ๆ นั่นคือ เทคโนโลยี และคุณสมบัติของปูนที่มีความเหมาะสมในการทำปะการัง
ขอเริ่มในเรื่องเทคโนโลยีก่อน หากใครอยู่ในแวดวงธุรกิจก่อสร้าง
คงเคยได้ยินเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution ของทาง SCG ที่เป็นโซลูชันสร้างภาพ 3 มิติ โดยสามารถขึ้นภาพเสมือนจริง แล้วขึ้นรูปปูนซีเมนต์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบทำให้ในงานก่อสร้าง ผู้รับเหมาสามารถคำนวณการก่อสร้าง และลดความผิดพลาดในตัวงาน เป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านวัสดุก่อสร้างไปในตัว
คงเคยได้ยินเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution ของทาง SCG ที่เป็นโซลูชันสร้างภาพ 3 มิติ โดยสามารถขึ้นภาพเสมือนจริง แล้วขึ้นรูปปูนซีเมนต์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบทำให้ในงานก่อสร้าง ผู้รับเหมาสามารถคำนวณการก่อสร้าง และลดความผิดพลาดในตัวงาน เป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านวัสดุก่อสร้างไปในตัว
โดยเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้ในงานออกแบบพัฒนา “บ้านปะการัง” ที่ดึงความโดดเด่นทางโครงสร้าง ทั้งแสงและช่องว่าง ลักษณะพื้นผิว ให้เหมาะสมกับการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังจริง ๆ คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ที่นำมาใช้มีค่าความเป็นกรดและด่าง ใกล้เคียงกับค่าของน้ำทะเล เพื่อช่วยย่นระยะเวลา ให้ตัวอ่อนปะการังลงมาเกาะได้มากขึ้น ขณะเดียวกันสามารถเคลื่อนย้าย ขนส่ง และการติดตั้งได้ง่าย
โครงการ “รักษ์ทะเล” ได้นำร่อง ดำเนินการความร่วมมือ นำ“บ้านปะการังไปจัดวางในพื้นที่ต่าง ๆ
เช่น เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต, เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี, เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, เขาหลัก จังหวัดพังงา และเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ตามลำดับ และวางแผนที่จะนำไปวางที่เกาะล้านพัทยา ในเดือนพฤศจิกายนที่ใกล้จะถึงนี้
เช่น เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต, เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี, เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, เขาหลัก จังหวัดพังงา และเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ตามลำดับ และวางแผนที่จะนำไปวางที่เกาะล้านพัทยา ในเดือนพฤศจิกายนที่ใกล้จะถึงนี้
ตรงนี้เองที่สามารถนำไปต่อยอด ในเชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมากมาย
เช่น ต้นแบบแหล่งฟื้นฟูปะการังในธรรมชาติ, หรือเป็นแหล่งเพาะปะการังเพื่อการท่องเที่ยว ทดแทนแนวปะการังธรรมชาติ หรือ สวนปะการังใต้น้ำ ลดการรบกวนปะการังในแหล่งธรรมชาติ
เช่น ต้นแบบแหล่งฟื้นฟูปะการังในธรรมชาติ, หรือเป็นแหล่งเพาะปะการังเพื่อการท่องเที่ยว ทดแทนแนวปะการังธรรมชาติ หรือ สวนปะการังใต้น้ำ ลดการรบกวนปะการังในแหล่งธรรมชาติ
อย่างนี้คงพอจะเห็นแล้วว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ที่จะกลับมา แต่ยังรวมถึงมนุษย์ทุกชีวิต
เมื่อคิดดี ๆ ก็จะพบว่า สารพัดประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก “บ้านปะการัง”
สอดคล้องกับแนวทางของโลกใบนี้ ที่กำลังมุ่งสู่แนวคิด ESG
ซึ่งก็เป็นวิถีทางธุรกิจของ SCG ที่กำลังขับเคลื่อน
สอดคล้องกับแนวทางของโลกใบนี้ ที่กำลังมุ่งสู่แนวคิด ESG
ซึ่งก็เป็นวิถีทางธุรกิจของ SCG ที่กำลังขับเคลื่อน
ความร่วมมือของโครงการ “รักษ์ทะเล” เป็นการร่วมมือกันของหลายภาคส่วน ที่นำเอาความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายมาร่วมมือกันสร้าง “บ้านปะการัง”
โดยได้ระดมทุน ผ่านมูลนิธิ Earth Agenda ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเปิดขอรับการสนับสนุนระดมทุนเพื่อผลิตและจัดวางบ้านปะการัง ซึ่งสามารถร่วมสมทบทุน และติดตามรายละเอียดได้ที่ www.lovethesea.net
พออ่านมาถึงตรงนี้ ก็น่าจะทำให้หลายคนที่เคยมองว่า หากทุกคนร่วมมือกัน นำเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญของแต่ละส่วน ผนวกกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ก็สามารถนำมาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยโลก เปลี่ยนโลกได้
References
-งานแถลงข่าวโครงการ “รักษ์ทะเล”
-http://www.mkh.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=60&Itemid=66&lang=th#status
-งานแถลงข่าวโครงการ “รักษ์ทะเล”
-http://www.mkh.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=60&Itemid=66&lang=th#status