ทำความรู้จัก ‘ตราสารเงินกองทุน’ ทางเลือกการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน จากธนาคารยูโอบี
ทำความรู้จัก ‘ตราสารเงินกองทุน’ ทางเลือกการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน จากธนาคารยูโอบี
UOB x ลงทุนแมน
สถาบันการเงินเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่มีบทบาทและเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
การรักษาความมั่นคงของสถาบันการเงิน จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
เป็นที่มาของหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เรียกว่า Basel III
หรือแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ธนาคารสามารถรองรับความผันผวน
UOB x ลงทุนแมน
สถาบันการเงินเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่มีบทบาทและเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
การรักษาความมั่นคงของสถาบันการเงิน จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
เป็นที่มาของหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เรียกว่า Basel III
หรือแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ธนาคารสามารถรองรับความผันผวน
โดยเนื้อหาสำคัญของ Basel III คือการรักษาสัดส่วนเงินกองทุน
ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงถึงความแข็งแกร่งของฐานะการเงินของธนาคาร
โดยหนึ่งในที่มาของเงินกองทุนเหล่านี้คือ การออกตราสารเงินกองทุน (Basel)
ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่สามารถใช้นับเป็นเงินกองทุนของธนาคารได้
ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงถึงความแข็งแกร่งของฐานะการเงินของธนาคาร
โดยหนึ่งในที่มาของเงินกองทุนเหล่านี้คือ การออกตราสารเงินกองทุน (Basel)
ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่สามารถใช้นับเป็นเงินกองทุนของธนาคารได้
เร็ว ๆ นี้ ตลาดทุนในประเทศไทยก็กำลังจะมีตราสารเงินกองทุนที่ออกโดย ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
ธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
แล้วตราสารเงินกองทุนของธนาคารยูโอบี ที่เป็นตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกสั้น ๆ ว่า “ตราสารเงินกองทุน”) เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ตราสารเงินกองทุน เป็นหลักทรัพย์ที่ระบุวันครบกำหนดไถ่ถอน และอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ถือตราสารเงินกองทุนจะได้รับไว้อย่างชัดเจนเหมือนกับหุ้นกู้
แต่การลงทุนในตราสารเงินกองทุนนั้น ผู้ลงทุนจะต้องสามารถรองรับผลขาดทุนของธนาคารผู้ออกตราสารเงินกองทุน หากธนาคารไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานทางการอื่น ตัดสินใจเข้าช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารรวมถึงลำดับในการได้รับชำระหนี้ของผู้ถือตราสารเงินกองทุน ที่อยู่ในลำดับหลังจากเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ และเจ้าหนี้สามัญทั่วไป (ซึ่งรวมถึงผู้ฝากเงิน) ในกรณีที่ธนาคารถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายหรือเลิกกิจการไป
สำหรับการเสนอขายตราสารเงินกองทุนของธนาคารยูโอบีในครั้งนี้ มีจำนวนประมาณ 8,000,000 หน่วย
และมีตราสารเงินกองทุนสำรองอีกจำนวนประมาณ 6,000,000 หน่วย
รวมจำนวนตราสารเงินกองทุนทั้งสิ้นไม่เกินประมาณ 14,000,000 หน่วย
คิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกินประมาณ 14,000 ล้านบาท
และมีตราสารเงินกองทุนสำรองอีกจำนวนประมาณ 6,000,000 หน่วย
รวมจำนวนตราสารเงินกองทุนทั้งสิ้นไม่เกินประมาณ 14,000,000 หน่วย
คิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกินประมาณ 14,000 ล้านบาท
โดยเป็นตราสารเงินกองทุนชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน ไม่มีผู้แทนผู้ถือตราสารเงินกองทุน ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2575 หรือมีอายุ 10 ปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน โดยผู้ออกตราสารเงินกองทุนมีสิทธิขอไถ่ถอนตราสารเงินกองทุนทั้งจำนวนก่อนวันครบกำหนดได้ ณ วันกำหนดชำระดอกเบี้ยใดๆ หลังจากครบ 5 ปีนับจากวันออกตราสารเงินกองทุน
ครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2575 หรือมีอายุ 10 ปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน โดยผู้ออกตราสารเงินกองทุนมีสิทธิขอไถ่ถอนตราสารเงินกองทุนทั้งจำนวนก่อนวันครบกำหนดได้ ณ วันกำหนดชำระดอกเบี้ยใดๆ หลังจากครบ 5 ปีนับจากวันออกตราสารเงินกองทุน
เพื่อนำเงินที่ได้ไปนับเป็นเงินกองทุน ใช้ในการประกอบธุรกิจ และเป็นเงินทุนในการดำเนินกิจการ
ธนาคารยูโอบีอยู่ระหว่างการจัดทำอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารเงินกองทุนซึ่งคาดว่าจะประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารเงินกองทุนประมาณปลายเดือนเมษายน 2565
แล้วการลงทุนกับธนาคารยูโอบี น่าสนใจอย่างไร?
ธนาคารยูโอบีอยู่ระหว่างการจัดทำอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารเงินกองทุนซึ่งคาดว่าจะประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารเงินกองทุนประมาณปลายเดือนเมษายน 2565
แล้วการลงทุนกับธนาคารยูโอบี น่าสนใจอย่างไร?
ธนาคารยูโอบี ที่เราเห็นกันในประเทศไทยนั้น เป็นบริษัทย่อยในเครือกลุ่มธนาคารยูโอบี ประเทศสิงคโปร์
ซึ่งมีอายุเก่าแก่มากกว่า 80 ปี และมีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในแถบประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และจีน
ซึ่งมีอายุเก่าแก่มากกว่า 80 ปี และมีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในแถบประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และจีน
โดยธนาคารยูโอบี ประเทศสิงคโปร์ นั้น ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศระยะยาวจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ อย่างมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส, ฟิทซ์ เรทติ้ง และเอสแอนด์พี ที่ระดับ Aa1, AA- และ AA- ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยที่ Baa1 (มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส) และ BBB+ (ฟิทซ์ เรทติ้ง และเอสแอนด์พี)
ปัจจุบัน กลุ่มธนาคารยูโอบีมีสาขากว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยธนาคารยูโอบีในประเทศไทย แบ่งโมเดลธุรกิจได้เป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่มบรรษัทธนกิจ ให้บริการลูกค้าบรรษัทขนาดใหญ่ การบริหารจัดการความเสี่ยง (Hedging) และวาณิชธนกิจที่ให้บริการทางการเงินในตลาดทุน
2. กลุ่มพาณิชย์ธนกิจ ให้บริการลูกค้าที่ประกอบธุรกิจในลักษณะที่ปรึกษาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น สินเชื่อสำหรับขยายธุรกิจ การจ่ายเงินเดือนผ่านบัญชีอิเล็กทรอนิกส์
3. กลุ่มวิสาหกิจขนาดเล็ก ดูแลลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs เช่น สินเชื่อเพื่อการลงทุนซื้อสถานประกอบการหรือ UOB BizProperty, สินเชื่อหมุนเวียนไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรือ UOB BizMoney
4. กลุ่มบุคคลธนกิจ บริการทางการเงินทั่วไปแก่กลุ่มลูกค้าบุคคล
โดยธนาคารยูโอบีได้รับรางวัล Best Foreign Retail Bank in Thailand
หรือธนาคารต่างชาติที่ประกอบธุรกิจรายย่อยที่โดดเด่นที่สุดในประเทศไทย เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน จาก The Asian Banker
โดยธนาคารยูโอบีได้รับรางวัล Best Foreign Retail Bank in Thailand
หรือธนาคารต่างชาติที่ประกอบธุรกิจรายย่อยที่โดดเด่นที่สุดในประเทศไทย เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน จาก The Asian Banker
นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดอันดับจาก บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
อยู่ในระดับความน่าเชื่อถือภายในประเทศระยะยาวสูงสุด AAA(tha)
ซึ่งจะออกให้กับบริษัทที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับผู้ออกตราสารหนี้ หรือตราสารหนี้อื่น ๆ ในประเทศไทย
อยู่ในระดับความน่าเชื่อถือภายในประเทศระยะยาวสูงสุด AAA(tha)
ซึ่งจะออกให้กับบริษัทที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับผู้ออกตราสารหนี้ หรือตราสารหนี้อื่น ๆ ในประเทศไทย
โดยการออกตราสารเงินกองทุนครั้งนี้ จะทำให้ธนาคารยูโอบีมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งขึ้น
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ธนาคารยูโอบีมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ระดับ 19.0%
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำและเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อสำรองไว้ยามฉุกเฉินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 11.0%
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ธนาคารยูโอบีมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ระดับ 19.0%
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำและเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อสำรองไว้ยามฉุกเฉินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 11.0%
ในส่วนของทิศทางการเติบโตในช่วง 5 ปีจากนี้
ธนาคารยูโอบีมีเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารขนาดกลางที่มีผลกำไรระดับแนวหน้า และมีงบดุลที่แข็งแกร่ง โดยเน้นเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการให้แก่ลูกค้าทุกกลุ่ม ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการ สร้างองค์กรให้เป็นบริษัทที่คนต้องการเข้ามาทำงานด้วย หรือ Employer of Choice
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนกลุ่มธนาคารยูโอบีสู่การเป็น The World Most Trusted Bank หรือธนาคารที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดในโลก
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนกลุ่มธนาคารยูโอบีสู่การเป็น The World Most Trusted Bank หรือธนาคารที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดในโลก
ตามวิชันที่วางไว้ทั้งหมดนี้ ทำให้การออกตราสารเงินกองทุนของธนาคารยูโอบีในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่ไม่ควรมองข้าม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มองหาการลงทุนที่มีโอกาสรับผลตอบแทนสม่ำเสมอ ท่ามกลางสภาวะตลาดผันผวน
และที่สำคัญคือ โอกาสในการร่วมลงทุนกับองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค
โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=412687
หรือติดต่อสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งนี้
ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2343-4900 หรือ 0-2093-4900
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 0-2645-5555 หรือ 1333
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-888-8888 กด 819
คำเตือน: การลงทุนในตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป แม้ว่าผู้ลงทุนจะเคยมีประสบการณ์ในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมาก่อน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ความเสี่ยง เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มองหาการลงทุนที่มีโอกาสรับผลตอบแทนสม่ำเสมอ ท่ามกลางสภาวะตลาดผันผวน
และที่สำคัญคือ โอกาสในการร่วมลงทุนกับองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค
โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=412687
หรือติดต่อสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งนี้
ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2343-4900 หรือ 0-2093-4900
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 0-2645-5555 หรือ 1333
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-888-8888 กด 819
คำเตือน: การลงทุนในตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป แม้ว่าผู้ลงทุนจะเคยมีประสบการณ์ในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมาก่อน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ความเสี่ยง เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
References
-https://www.longtunman.com/25631
-https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/base1.aspx
-https://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/FinancialInstitutions_StoryTelling_FI.aspx
-https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/Basel3Article/Basel_III_Paper_15_Jun_2011.pdf
-https://www.longtunman.com/25631
-https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/base1.aspx
-https://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/FinancialInstitutions_StoryTelling_FI.aspx
-https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/Basel3Article/Basel_III_Paper_15_Jun_2011.pdf