รู้จัก Uralkali ผู้ผลิตโพแทชจากรัสเซีย ต้นตอปุ๋ยแพงอาหารแพง ในปีนี้
รู้จัก Uralkali ผู้ผลิตโพแทชจากรัสเซีย ต้นตอปุ๋ยแพงอาหารแพง ในปีนี้ /โดย ลงทุนแมน
สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ไม่เพียงแต่ทำให้น้ำมันแพงขึ้นเท่านั้น
แต่สิ่งที่เรากินทุกวันอย่าง “อาหาร” ก็กำลังแพงขึ้นเช่นกัน
สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ไม่เพียงแต่ทำให้น้ำมันแพงขึ้นเท่านั้น
แต่สิ่งที่เรากินทุกวันอย่าง “อาหาร” ก็กำลังแพงขึ้นเช่นกัน
นอกจากยูเครนและรัสเซียจะเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่แล้ว
ประเทศรัสเซียยังเป็นผู้ผลิตปุ๋ยเคมีและสารตั้งต้นรายใหญ่ของโลกด้วยเช่นกัน
ประเทศรัสเซียยังเป็นผู้ผลิตปุ๋ยเคมีและสารตั้งต้นรายใหญ่ของโลกด้วยเช่นกัน
เมื่อรัสเซียมีปัญหา ราคาปุ๋ยจึงแพงขึ้น
ในเวลาต่อมา ก็ได้ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรทั่วโลกนั้นสูงขึ้นไปด้วย
ในเวลาต่อมา ก็ได้ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรทั่วโลกนั้นสูงขึ้นไปด้วย
วันนี้ เรามารู้จักผู้ผลิต “โพแทช” ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของปุ๋ยเคมีรายใหญ่
ชื่อว่า Uralkali บริษัทที่เริ่มจากการทำเหมืองแร่เล็ก ๆ ในสมัยของสหภาพโซเวียต
จนกลายมาเป็นผู้ผลิตโพแทช รายใหญ่ของโลก
ชื่อว่า Uralkali บริษัทที่เริ่มจากการทำเหมืองแร่เล็ก ๆ ในสมัยของสหภาพโซเวียต
จนกลายมาเป็นผู้ผลิตโพแทช รายใหญ่ของโลก
เรื่องราวของบริษัทนี้ เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อยากลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่อยากลงทุนเอง?
Merkle Capital ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายแรกของไทย ในเครือ Cryptomind Group จับมือ StockRadars เปิดโลกการลงทุน ลุ้นโอกาสใหม่ในโลกคริปโทเคอร์เรนซี่
เริ่มต้นลงทุนผ่าน StockRadars ขั้นต่ำ 100,000 บาท ได้ที่นี่ https://bit.ly/3DmIFJL
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1925 หลังจากที่สหภาพโซเวียตได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพียง 3 ปี
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อยากลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่อยากลงทุนเอง?
Merkle Capital ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายแรกของไทย ในเครือ Cryptomind Group จับมือ StockRadars เปิดโลกการลงทุน ลุ้นโอกาสใหม่ในโลกคริปโทเคอร์เรนซี่
เริ่มต้นลงทุนผ่าน StockRadars ขั้นต่ำ 100,000 บาท ได้ที่นี่ https://bit.ly/3DmIFJL
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1925 หลังจากที่สหภาพโซเวียตได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพียง 3 ปี
กลุ่มนักสำรวจแร่ชาวโซเวียตได้ค้นพบแหล่งแร่โพแทชและเกลือหิน ที่มีปริมาณแร่สำรองเป็นอันดับสองของโลก บริเวณเทือกเขาอูราล ทางภาคตะวันตกของประเทศ
รัฐบาลของสหภาพโซเวียต จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสร้างเหมืองและอุตสาหกรรมแร่โพแทชในบริเวณนั้นขึ้น
จนกระทั่งในปี 1934 Uralkali ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อมาดูแลอุตสาหกรรมแร่โพแทชในบริเวณนั้น
รวมถึงได้มีการเริ่มสายการผลิตแร่คาร์นัลไลต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการบิน ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคู่ขัดแย้งของสงคราม
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จบลง การก่อสร้างนิคมเหมืองแร่โพแทชแห่งที่สอง จึงได้เริ่มต้นขึ้น
การดำเนินงานของ Uralkali ภายใต้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตนั้นก็ไม่ได้หวือหวาเท่าไรนัก
แต่ถึงอย่างนั้น ก่อนที่สหภาพโซเวียตจะล่มสลายในปี 1991 Uralkali ก็ได้ขยายนิคมเหมืองแร่โพแทชออกไปถึง 4 แห่ง จนกลายเป็นผู้ผลิตแร่โพแทชที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานั้น
2 ปีต่อมา รัฐบาลของนายบอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีของประเทศรัสเซีย ซึ่งแตกออกมาจากสหภาพโซเวียต ต้องการที่จะปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมกับโลกตะวันตก
2 ปีต่อมา รัฐบาลของนายบอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีของประเทศรัสเซีย ซึ่งแตกออกมาจากสหภาพโซเวียต ต้องการที่จะปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมกับโลกตะวันตก
จึงได้เริ่มดำเนินการนำองค์กรของรัฐต่าง ๆ มาแปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งก็รวมถึง Uralkali และองค์กรของรัฐอีกหลายแห่ง ทำให้บริษัทได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่
ในปี 2001 บริษัทได้สร้างท่าเรือ “Baltic Bulk Terminal” ที่เมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เพื่อใช้ส่งออกสินแร่ต่าง ๆ ไปยังต่างประเทศโดยตรง ทำให้ผลประกอบการของบริษัทเติบโตขึ้นอย่างมาก
6 ปีต่อมา Uralkali ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกต่างก็ให้ความสนใจบริษัทแห่งนี้เป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นจากปริมาณการจองหุ้น ที่สูงกว่าจำนวนที่เปิดขายถึง 23 เท่า
หลังจากนั้นบริษัทก็ได้ขยายกิจการไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการเข้าซื้อผู้ผลิตโพแทชรายใหญ่ในรัสเซียอีกรายที่มีชื่อว่า “Silvinit” ทำให้กำลังการผลิตโพแทชของ Uralkali นั้น คิดเป็น 20% ของตลาดโลก
ทีนี้เรามาดูกันว่า “โพแทช” นั้นสำคัญอย่างไร ?
โพแทช คือคำรวม ๆ ที่ใช้เรียกแร่ธาตุที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียม
ซึ่งมนุษย์รู้จักการใช้งานมาตั้งแต่สมัยยุคสัมฤทธิ์
ไม่ว่าจะเป็นการฟอกสีผ้า ผลิตสบู่ ทำเซรามิก หรือการทำกระจก
ซึ่งมนุษย์รู้จักการใช้งานมาตั้งแต่สมัยยุคสัมฤทธิ์
ไม่ว่าจะเป็นการฟอกสีผ้า ผลิตสบู่ ทำเซรามิก หรือการทำกระจก
สำหรับปัจจุบันนั้น โพแทชมีความสำคัญอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมเคมี
แต่ว่าที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด ก็คือ “การผลิตปุ๋ยเคมี” ในรูปของโพแทสเซียมคลอไรด์
แต่ว่าที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด ก็คือ “การผลิตปุ๋ยเคมี” ในรูปของโพแทสเซียมคลอไรด์
ซึ่งสินค้าหลักของบริษัท Uralkali ก็คือ โพแทสเซียมคลอไรด์ ที่ได้มาจากเหมืองแร่โพแทช
มีกำลังการผลิตอยู่ที่ราว 11 ถึง 12 ล้านตันต่อปี แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด
มีกำลังการผลิตอยู่ที่ราว 11 ถึง 12 ล้านตันต่อปี แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด
- Standard ใช้ผสมในดินโดยตรง หรือนำไปทำปุ๋ย NPK
- Granular ใช้ผสมในดินผ่านเครื่องจักร หรือผสมรวมกับปุ๋ยแร่ธาตุอื่น ๆ
- Standard +60% โพแทสเซียมออกไซด์ ใช้ทำแม่ปุ๋ย หรือเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม อย่างเช่น โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ โพแทสเซียมซัลเฟต
- Pelletized ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เหมาะสำหรับการขนส่งระยะไกล
- Granular ใช้ผสมในดินผ่านเครื่องจักร หรือผสมรวมกับปุ๋ยแร่ธาตุอื่น ๆ
- Standard +60% โพแทสเซียมออกไซด์ ใช้ทำแม่ปุ๋ย หรือเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม อย่างเช่น โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ โพแทสเซียมซัลเฟต
- Pelletized ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เหมาะสำหรับการขนส่งระยะไกล
และหากลองแบ่งยอดขายตามภูมิศาสตร์ เราจะพบว่า
- การส่งออกไปยังต่างประเทศ 83%
- ขายภายในประเทศ 17%
- การส่งออกไปยังต่างประเทศ 83%
- ขายภายในประเทศ 17%
แล้วผลประกอบการของ Uralkali เป็นอย่างไรบ้างในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ?
ปี 2562 รายได้ 93,000 ล้านบาท กำไร 40,600 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 90,000 ล้านบาท ขาดทุน 1,400 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 140,000 ล้านบาท กำไร 60,000 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 90,000 ล้านบาท ขาดทุน 1,400 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 140,000 ล้านบาท กำไร 60,000 ล้านบาท
จากผลประกอบการจะเห็นได้ว่ารายได้ของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
เนื่องจากราคาของโพแทชที่พุ่งสูงขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมา
เนื่องจากราคาของโพแทชที่พุ่งสูงขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมา
หากเรามาดูกันที่ในตลาดโลก แม้ว่าแคนาดาจะเป็นผู้ส่งออกโพแทสเซียมคลอไรด์เป็นอันดับหนึ่งของโลก คิดเป็นประมาณ 40% ของทั้งตลาด
แต่ว่า Uralkali ซึ่งเป็นบริษัทผู้ส่งออกหลักของประเทศรัสเซียนั้น
ส่งออกแร่โพแทสเซียมคลอไรด์ คิดเป็นเกือบ 20% ของทั้งโลกเลยทีเดียว
ส่งออกแร่โพแทสเซียมคลอไรด์ คิดเป็นเกือบ 20% ของทั้งโลกเลยทีเดียว
ถึงตรงนี้เราคงพอเข้าใจได้ว่า ทำไมเมื่อเกิดสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย และมีการคว่ำบาตรสินค้าจากรัสเซียนั้น จึงทำให้ปริมาณโพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของปุ๋ยเคมีหายไปจากตลาดโลก
และก็ยังไม่รวมถึงส่วนประกอบอื่น ๆ อย่าง ไนโตรเจน ที่ได้มาจากแก๊สธรรมชาติ ซึ่งรัสเซียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกเช่นเดียวกัน
ทั้งหมดที่กล่าวมา จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมราคาของปุ๋ยในตลาดโลกจึงแพงขึ้นอย่างมากในช่วงนี้
เรื่องนี้จะส่งผลให้ต้นทุนของเกษตรกรทั่วโลกนั้นสูงขึ้น และผลผลิตจากภาคการเกษตรลดลง
และท้ายที่สุด ก็จะสะท้อนไปสู่ราคาอาหารที่แพงขึ้น ซึ่งเราจะได้พบเจอในอีกไม่นานนี้..
╔═══════════╗
อยากลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่อยากลงทุนเอง?
Merkle Capital ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายแรกของไทย ในเครือ Cryptomind Group จับมือ StockRadars เปิดโลกการลงทุน ลุ้นโอกาสใหม่ในโลกคริปโทเคอร์เรนซี่
ลงทุนครั้งแรก ?
❤️ ลงทุนครบ 200,000 บาท
รับฟรี เสื้อยืด Cryptomind และ ตุ๊กตา Radars Man จาก StockRadars
❤️ ลงทุนครบ 500,000 บาท
รับฟรี Cryptomind Research Investment Outlook Printed Edition, เสื้อยืด Cryptomind, และ ตุ๊กตา Radars Man
พิเศษ! รับสิทธิ์ร่วม Merkle x StockRadars Exclusive Online Workshop (จำนวนจำกัด)
แคมเปญหมดเขต 12 เม.ย. นี้เท่านั้น!
เริ่มต้นลงทุนผ่าน StockRadars ขั้นต่ำ 100,000 บาท ได้ที่นี่ https://bit.ly/3DmIFJL
╚═══════════╝
References
-https://www.uralkali.com/upload/content/Uralkali_AR_2020-en.pdf
-http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=1030&filename=m
-https://www.dtnpf.com/agriculture/web/ag/crops/article/2022/01/19/fertilizer-prices-continue-mostly
-https://www.yara.com/crop-nutrition/why-fertilizer/production-of-fertillizer/#:~:text=In%20a%20modern%20plant%2C%20nitrogen,air%20to%20form%20nitrogen%20fertilizer.
-https://www.cropnutrition.com/resource-library/potassium-chloride
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-03-28/fertilizer-price-surges-43-to-fresh-record-as-supplies-tighten
และท้ายที่สุด ก็จะสะท้อนไปสู่ราคาอาหารที่แพงขึ้น ซึ่งเราจะได้พบเจอในอีกไม่นานนี้..
╔═══════════╗
อยากลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่อยากลงทุนเอง?
Merkle Capital ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายแรกของไทย ในเครือ Cryptomind Group จับมือ StockRadars เปิดโลกการลงทุน ลุ้นโอกาสใหม่ในโลกคริปโทเคอร์เรนซี่
ลงทุนครั้งแรก ?
❤️ ลงทุนครบ 200,000 บาท
รับฟรี เสื้อยืด Cryptomind และ ตุ๊กตา Radars Man จาก StockRadars
❤️ ลงทุนครบ 500,000 บาท
รับฟรี Cryptomind Research Investment Outlook Printed Edition, เสื้อยืด Cryptomind, และ ตุ๊กตา Radars Man
พิเศษ! รับสิทธิ์ร่วม Merkle x StockRadars Exclusive Online Workshop (จำนวนจำกัด)
แคมเปญหมดเขต 12 เม.ย. นี้เท่านั้น!
เริ่มต้นลงทุนผ่าน StockRadars ขั้นต่ำ 100,000 บาท ได้ที่นี่ https://bit.ly/3DmIFJL
╚═══════════╝
References
-https://www.uralkali.com/upload/content/Uralkali_AR_2020-en.pdf
-http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=1030&filename=m
-https://www.dtnpf.com/agriculture/web/ag/crops/article/2022/01/19/fertilizer-prices-continue-mostly
-https://www.yara.com/crop-nutrition/why-fertilizer/production-of-fertillizer/#:~:text=In%20a%20modern%20plant%2C%20nitrogen,air%20to%20form%20nitrogen%20fertilizer.
-https://www.cropnutrition.com/resource-library/potassium-chloride
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-03-28/fertilizer-price-surges-43-to-fresh-record-as-supplies-tighten