สงคราม กำลังเร่งให้โลก หันไปใช้พลังงานสะอาดเร็วขึ้น
สงคราม กำลังเร่งให้โลก หันไปใช้พลังงานสะอาดเร็วขึ้น /โดย ลงทุนแมน
ประเทศในสหภาพยุโรปต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากรัสเซีย โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่มีสัดส่วนมากถึง 40%
ประเทศในสหภาพยุโรปต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากรัสเซีย โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่มีสัดส่วนมากถึง 40%
แต่ดูเหมือนว่าสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน กำลังผลักดันให้หลายประเทศ ให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
จากเดิมสหภาพยุโรปมีแผนที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 0% ภายในปี 2050
แต่ดูเหมือนว่าสงครามในตอนนี้ กำลังเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียนเร็วขึ้นกว่าเดิม
แต่ดูเหมือนว่าสงครามในตอนนี้ กำลังเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียนเร็วขึ้นกว่าเดิม
แล้วสงครามที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงานบนโลกอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ประเทศรัสเซีย เป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่กว่า 17 ล้านตารางกิโลเมตร
ด้วยพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 8 ของโลก ทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่กุมทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ไว้มากมาย
โดยข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของรัสเซียระบุว่า ในปี 2019
ทรัพยากรที่รัสเซียมีทั้งหมด ตีเป็นมูลค่ากว่า 6 ใน 10 ของ GDP ทั้งประเทศ
จึงไม่แปลกเลย ที่ประเทศรัสเซีย จะเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลรายใหญ่
- ส่งออกก๊าซธรรมชาติ เป็นอันดับ 1 ของโลก
- ส่งออกน้ำมันดิบ เป็นอันดับ 2 ของโลก
- ส่งออกถ่านหิน เป็นอันดับ 3 ของโลก
นอกจากนั้น ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่รัสเซียครอบครองอยู่ ยังมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก
และคิดเป็นถึง 1 ใน 5 ของปริมาณสำรองทั้งหมดบนโลกเลยทีเดียว
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ประเทศรัสเซีย เป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่กว่า 17 ล้านตารางกิโลเมตร
ด้วยพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 8 ของโลก ทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่กุมทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ไว้มากมาย
โดยข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของรัสเซียระบุว่า ในปี 2019
ทรัพยากรที่รัสเซียมีทั้งหมด ตีเป็นมูลค่ากว่า 6 ใน 10 ของ GDP ทั้งประเทศ
จึงไม่แปลกเลย ที่ประเทศรัสเซีย จะเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลรายใหญ่
- ส่งออกก๊าซธรรมชาติ เป็นอันดับ 1 ของโลก
- ส่งออกน้ำมันดิบ เป็นอันดับ 2 ของโลก
- ส่งออกถ่านหิน เป็นอันดับ 3 ของโลก
นอกจากนั้น ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่รัสเซียครอบครองอยู่ ยังมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก
และคิดเป็นถึง 1 ใน 5 ของปริมาณสำรองทั้งหมดบนโลกเลยทีเดียว
โดยลูกค้าหลักของรัสเซีย ก็เป็นใครไปไม่ได้นอกจากประเทศที่มีอากาศหนาวและอยู่ติดกันอย่าง “กลุ่มสหภาพยุโรป” ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า และให้ความอบอุ่นในบ้านเรือน
รู้หรือไม่ว่า ปริมาณก๊าซธรรมชาติกว่า 40% ที่ยุโรปใช้ทั้งหมด ถูกนำเข้ามาจากรัสเซียเพียงประเทศเดียว
ในขณะที่บางประเทศ ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียถึง 100% เต็ม เลยด้วยซ้ำ
ในขณะที่บางประเทศ ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียถึง 100% เต็ม เลยด้วยซ้ำ
จากการที่รัสเซียบุกโจมตียูเครนนั้น ได้สร้างความกังวลให้เกิดขึ้นกับกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นอย่างมาก
และแม้ว่าที่ผ่านมา สหภาพยุโรปจะมีความขัดแย้งกับรัสเซีย และมีข้อพิพาทระหว่างกันมาเป็นระยะ
แต่สหภาพยุโรปก็ไม่สามารถตอบโต้รัสเซียได้อย่างเต็มที่ เพราะก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย
คอยหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและสร้างความอบอุ่นให้กับประชากรกว่า 450 ล้านคน
แต่สหภาพยุโรปก็ไม่สามารถตอบโต้รัสเซียได้อย่างเต็มที่ เพราะก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย
คอยหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและสร้างความอบอุ่นให้กับประชากรกว่า 450 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม จากมาตรการของรัสเซียที่หยุดส่งก๊าซธรรมชาติชั่วคราว รวมถึงมาตรการแบนการส่งออกพลังงานจากรัสเซียของชาติตะวันตก
ก็ทำให้ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลก ปรับตัวสูงขึ้น
อีกความหมายหนึ่งก็คือ ต้นทุนทางพลังงานในยุโรป ก็จะเพิ่มขึ้นด้วยทันที
อีกความหมายหนึ่งก็คือ ต้นทุนทางพลังงานในยุโรป ก็จะเพิ่มขึ้นด้วยทันที
เรื่องดังกล่าว จึงผลักดันให้ยุโรปจำเป็นต้องหาวิธี ให้ยืนได้ด้วยตัวเอง
โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะจากคู่แข่งอย่างรัสเซีย
และแหล่งพลังงาน ที่จะเข้ามาแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ก็คือ..
“พลังงานหมุนเวียน”
โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะจากคู่แข่งอย่างรัสเซีย
และแหล่งพลังงาน ที่จะเข้ามาแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ก็คือ..
“พลังงานหมุนเวียน”
พลังงานหมุนเวียนนั้นสามารถหาได้ทั่วไปตามธรรมชาติ
หมายความว่าแต่ละประเทศ สามารถสร้างแหล่งพลังงานขึ้นมา เป็นของตัวเองได้
หมายความว่าแต่ละประเทศ สามารถสร้างแหล่งพลังงานขึ้นมา เป็นของตัวเองได้
ประกอบกับกลุ่มสหภาพยุโรปมีเป้าหมายที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือเพียง 55% ภายในปี 2030 และ 0% ภายในปี 2050
ทำให้ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปมีการพัฒนาเทคโนโลยีและปรับเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น พลังงานลม น้ำ แสงอาทิตย์ หรือแม้แต่ความร้อนจากใต้พิภพ
นำโดยไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ และสวีเดน ที่มีสัดส่วนการผลิตพลังงานเกินกว่าครึ่งหนึ่งมาจากพลังงานหมุนเวียนแล้ว
และเมื่อถูกเร่งด้วยภาวะสงคราม การปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลของหลายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้กลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงทางพลังงานอีกครั้ง
จึงมีการออกร่างมาตรการที่เรียกว่า “REPowerEU” ซึ่งมีเป้าหมายคือตัดขาดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย และทำให้สหภาพยุโรปมีแหล่งพลังงานที่มั่นคงภายในปี 2030
โดยร่างดังกล่าวครอบคลุมทั้งการเปลี่ยนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า
การขยายความสามารถในการกักเก็บพลังงานให้มากขึ้น
การหาแหล่งนำเข้าพลังงานแห่งใหม่
รวมถึงเร่งเข้าสู่ประเทศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก ให้เร็วยิ่งขึ้น
การขยายความสามารถในการกักเก็บพลังงานให้มากขึ้น
การหาแหล่งนำเข้าพลังงานแห่งใหม่
รวมถึงเร่งเข้าสู่ประเทศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก ให้เร็วยิ่งขึ้น
แล้วทำไม การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน
ตามแผนเดิมมีระยะเวลาที่ยาวนานตั้งหลายสิบปี
แต่ตอนนี้ กลับดูเหมือนจะเร่งให้เร็วขึ้นได้ เมื่อมีสงคราม ?
ตามแผนเดิมมีระยะเวลาที่ยาวนานตั้งหลายสิบปี
แต่ตอนนี้ กลับดูเหมือนจะเร่งให้เร็วขึ้นได้ เมื่อมีสงคราม ?
ก็ต้องบอกว่าหัวใจสำคัญของเรื่องนี้เลยก็คือ “ราคา” และ “เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น”
โดยปกติแล้ว พลังงานหมุนเวียนที่เราคุ้นเคย คือ พลังงานลม น้ำ และแสงอาทิตย์ ต่างก็มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
อย่างเช่น พลังงานลม ที่เป็นพลังงานหมุนเวียน ที่นิยมมากที่สุดในยุโรป
ก็เพราะตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ที่มีแรงลมเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 8 เมตรต่อวินาที
ซึ่งถือว่า มีความเหมาะสมที่จะใช้ในการผลิตไฟฟ้า
ก็เพราะตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ที่มีแรงลมเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 8 เมตรต่อวินาที
ซึ่งถือว่า มีความเหมาะสมที่จะใช้ในการผลิตไฟฟ้า
ในขณะที่ในประเทศไทยมีแรงลมเฉลี่ยเพียง 4 เมตรต่อวินาที ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ
ทำให้สถานที่สำหรับติดตั้งกังหันลมในประเทศไทยมีจำกัด และหาได้ยากกว่าแหล่งพลังงานอื่น ๆ
ทำให้สถานที่สำหรับติดตั้งกังหันลมในประเทศไทยมีจำกัด และหาได้ยากกว่าแหล่งพลังงานอื่น ๆ
ดังนั้นแต่ละประเทศที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน ต่างก็ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อให้เงินลงทุนคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด
อีกทั้งเมื่อเทียบกันในเรื่องของราคาแล้ว
ด้วยต้นทุนต่อหน่วยของพลังงานหมุนเวียน ยังคงมีราคาแพงกว่าพลังงานฟอสซิล
อีกทั้งเมื่อเทียบกันในเรื่องของราคาแล้ว
ด้วยต้นทุนต่อหน่วยของพลังงานหมุนเวียน ยังคงมีราคาแพงกว่าพลังงานฟอสซิล
แต่สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
ก็ได้ผลักดันให้ราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงขึ้นอย่างมาก
จึงกลายเป็นตัวเร่งให้แต่ละประเทศวิ่งเข้าหาพลังงานหมุนเวียนไปเลย
เพราะไหน ๆ เชื้อเพลิงดั้งเดิมก็แพงแล้ว สู้เราไปลงทุนระยะยาวในพลังงานอนาคตไปเลยดีกว่า
ก็ได้ผลักดันให้ราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงขึ้นอย่างมาก
จึงกลายเป็นตัวเร่งให้แต่ละประเทศวิ่งเข้าหาพลังงานหมุนเวียนไปเลย
เพราะไหน ๆ เชื้อเพลิงดั้งเดิมก็แพงแล้ว สู้เราไปลงทุนระยะยาวในพลังงานอนาคตไปเลยดีกว่า
หลายประเทศในยุโรป หรือแม้แต่สหรัฐอเมริกาเองจึงเริ่มเปลี่ยนความคิด
และหันมาให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนมากกว่าแต่ก่อน
และหันมาให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนมากกว่าแต่ก่อน
ซึ่งเมื่อเกิดการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนในการผลิตก็จะถูกลง
ท้ายที่สุดแล้ว ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่ยากจน
ก็จะสามารถเข้าถึงพลังงานเหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน
ท้ายที่สุดแล้ว ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่ยากจน
ก็จะสามารถเข้าถึงพลังงานเหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา
ปัจจุบัน สหภาพยุโรปยังคงต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะผลกระทบจากสงครามมีแนวโน้มจะทำให้ยุโรปขาดแคลนพลังงานสำหรับฤดูหนาวในปีนี้
หลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนีและอิตาลีที่ปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้อยู่กว่าครึ่งถูกนำเข้ามาจากรัสเซีย จึงยังคงต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยการนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ไปก่อน
ส่งผลให้หลายประเทศในยุโรปเพิ่มปริมาณการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากสหรัฐอเมริกา และถ่านหินจากออสเตรเลีย
อีกหนึ่งทางเลือกก็เช่นในประเทศเยอรมนี ที่ได้กลับมาพิจารณาต่ออายุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
รวมถึงยังเปิดใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เก่า ที่เคยหยุดดำเนินการไปแล้ว
รวมถึงยังเปิดใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เก่า ที่เคยหยุดดำเนินการไปแล้ว
ทั้ง ๆ ที่สาเหตุที่ปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ก็เพราะกังวลเรื่องอุบัติเหตุและการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี
ถึงตรงนี้ ก็คงพอเห็นถึงผลกระทบอีกมุมหนึ่งที่เกิดจากสงคราม จนอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ซึ่งการที่โลกเราหันไปใช้แหล่งพลังงานสะอาดมากขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ดีต่อทุกชีวิตบนโลก
ซึ่งการที่โลกเราหันไปใช้แหล่งพลังงานสะอาดมากขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ดีต่อทุกชีวิตบนโลก
แต่จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ควรเกิดขึ้นตั้งนานแล้ว
ไม่ใช่ต้องรอให้มีสงคราม ถึงจะคิดได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.dw.com/en/will-war-fast-track-the-energy-transition/a-61021440
-https://www.eea.europa.eu/ims/share-of-energy-consumption-from
-https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/IP_22_1511
-https://www.bloomberg.com/news/features/2022-03-08/can-europe-weaken-putin-s-power-over-global-energy
-https://www.theguardian.com/environment/2022/mar/04/ukraine-war-european-reappraisal-energy-supplies-coal-renewables
-https://www.nytimes.com/2022/03/04/climate/ukraine-russia-fossil-fuels.html
-https://theconversation.com/will-russias-invasion-of-ukraine-push-europe-towards-energy-independence-and-faster-decarbonisation-177914
-https://www.longtunman.com/35627
-https://www.longtunman.com/31410
-https://www.spglobal.com/commodity-insights/en/market-insights/latest-news/coal/031022-australias-record-high-thermal-coal-prices-here-to-stay-amid-sweeping-european-demand
-http://reca.or.th/wind/
ไม่ใช่ต้องรอให้มีสงคราม ถึงจะคิดได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.dw.com/en/will-war-fast-track-the-energy-transition/a-61021440
-https://www.eea.europa.eu/ims/share-of-energy-consumption-from
-https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/IP_22_1511
-https://www.bloomberg.com/news/features/2022-03-08/can-europe-weaken-putin-s-power-over-global-energy
-https://www.theguardian.com/environment/2022/mar/04/ukraine-war-european-reappraisal-energy-supplies-coal-renewables
-https://www.nytimes.com/2022/03/04/climate/ukraine-russia-fossil-fuels.html
-https://theconversation.com/will-russias-invasion-of-ukraine-push-europe-towards-energy-independence-and-faster-decarbonisation-177914
-https://www.longtunman.com/35627
-https://www.longtunman.com/31410
-https://www.spglobal.com/commodity-insights/en/market-insights/latest-news/coal/031022-australias-record-high-thermal-coal-prices-here-to-stay-amid-sweeping-european-demand
-http://reca.or.th/wind/