เศรษฐกิจไทยพร้อมแค่ไหน ถ้าดอกเบี้ยทั่วโลก เป็นขาขึ้น

เศรษฐกิจไทยพร้อมแค่ไหน ถ้าดอกเบี้ยทั่วโลก เป็นขาขึ้น

เศรษฐกิจไทยพร้อมแค่ไหน ถ้าดอกเบี้ยทั่วโลก เป็นขาขึ้น /โดย ลงทุนแมน
ภาวะของแพง หรือ “เงินเฟ้อ”
กำลังเป็นสถานการณ์ที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบอยู่ในตอนนี้
ไม่กี่วันที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา ก็เพิ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปี
พอเป็นแบบนี้ ธนาคารกลางในหลายประเทศ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ ก็เริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกันไปแล้ว
ขณะที่ธนาคารกลางบางแห่ง ก็เริ่มส่งสัญญาณที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้เช่นกัน
แล้วในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเป็นขาขึ้น จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ลองมาดูตัวอย่างธนาคารกลาง ที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว
- ธนาคารกลางของอังกฤษ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 0.25% เป็น 0.50% โดยปรับเพิ่ม 2 ครั้งในรอบ 3 เดือน
- ธนาคารกลางของเกาหลีใต้
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 1.00% เป็น 1.25% โดยปรับเพิ่ม 3 ครั้งในรอบ 6 เดือน
- ธนาคารกลางของนิวซีแลนด์
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 0.50% เป็น 0.75% ทั้งยังคาดว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะเพิ่มเป็น 2.50% ภายในปี 2023
ส่วนทางฝั่ง FED หรือธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา แม้ว่าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.0% - 0.25% เป็นเวลาประมาณ 2 ปีแล้ว
แต่จากที่ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา เพิ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปีไป ก็น่าจะกดดันให้ FED ต้องพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้า
ทีนี้ คำถามที่น่าคิดคือ
แล้วการที่อัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศปรับตัวขึ้น จะส่งผลอย่างไร กับเศรษฐกิจไทย ?
เพื่อจะตอบคำถามนี้ เราต้องเข้าใจภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยในตอนนี้ก่อน..
ในช่วงปี 2015-2019 เศรษฐกิจไทย เติบโตปีละประมาณ 2% - 4%
ขณะที่ในปี 2020 เศรษฐกิจของไทยนั้น หดตัวไป 6.1% จากผลกระทบของโควิด 19
และในปี 2021 นั้น หลายฝ่ายก็คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้แค่ประมาณ 1%
ซึ่งหากเทียบกับกรณีของสหรัฐอเมริกา ที่เศรษฐกิจเติบโตปีละประมาณ 2% ในช่วงก่อนวิกฤติโควิด 19
ขณะที่ในปี 2020 GDP ของสหรัฐอเมริกา ติดลบไป 3.6% แต่ก็กลับมาเติบโตกว่า 6.9% ในปี 2021
เมื่อดูแบบนี้ก็ต้องบอกว่า ในภาพรวมนั้น เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ฟื้นตัวขึ้นมากและรวดเร็ว แตกต่างกับเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ยังไม่ค่อยฟื้นตัวกลับไปเหมือนช่วงก่อนวิกฤติโควิด 19
และนี่คือเหตุผลสำคัญข้อหนึ่ง
ที่ทำให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย และนักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ในปัจจุบันที่ 0.50%
แต่ประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อไทยยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ประเทศอื่นเริ่มทยอยขึ้นกัน โดยธรรมชาติแล้วเงินทุนจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ไปยังที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง
ในกรณีนี้คือ จะเกิดการไหลออกของเงินทุนจากประเทศไทย ไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งเรื่องนี้จะส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง
หลายคนอาจมองว่า ค่าเงินบาทอ่อนก็น่าจะส่งผลดี
เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เราส่งออกสินค้า ไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น และน่าจะช่วยให้ดุลการค้าเกินดุลมากขึ้น
แต่ต้องอย่าลืมว่า ในขาของการนำเข้าสินค้านั้น ประเทศไทยก็ต้องจ่ายค่าสินค้านำเข้าแพงขึ้นด้วย ซึ่งสุทธิแล้ว ดุลการค้าอาจจะไม่ได้เกินดุลมากอย่างที่คิด
นอกจากนี้ ราคาสินค้านำเข้าที่สูง ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการ ที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศนั้น สูงขึ้นด้วย และจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเราก็เริ่มเห็นกันบ้างแล้ว
สถานการณ์แบบนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ของธนาคารแห่งประเทศไทย
เพราะถ้าต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อชะลอเงินเฟ้อ แต่กำลังซื้อของประชาชน และเศรษฐกิจภาพรวมยังเปราะบางอยู่แบบนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายพอสมควร
อีกประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม คือเรื่อง “หนี้ครัวเรือน”
ของคนไทยในวันนี้ที่อยู่ในระดับสูงกว่า 89% ของมูลค่า GDP
ปัจจุบัน หนี้ครัวเรือนของไทยนั้น มีมูลค่าประมาณ 14.3 ล้านล้านบาท โดยประมาณ 4.9 ล้านล้านบาท หรือกว่า 1 ใน 3 นั้น เป็นหนี้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์
ซึ่งถ้าในอนาคต ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งเพื่อหยุดเงินเฟ้อและป้องกันไม่ให้เงินทุนไหลออกมากเกินไป
อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลต่อครัวเรือนที่จะมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสุดท้ายก็จะส่งผลเสียต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หนี้ครัวเรือนที่สูง อาจไม่ใช่เรื่องน่ากังวล ถ้าในอนาคตเศรษฐกิจของไทยนั้นเติบโต รายได้ของครัวเรือนก็จะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าหนี้ที่มีอยู่
แต่ความจริงที่ปรากฏขึ้นในตอนนี้ ก็ยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับไปเติบโตเหมือนในอดีต หรืออย่างน้อยในช่วงก่อนวิกฤติโควิด 19 ได้เมื่อไร
และเมื่อเราอ่านมาถึงตรงนี้
เราคิดว่า เศรษฐกิจไทยพร้อมแค่ไหน ถ้าดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ในอนาคต ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/Federal_funds_rate
-https://www.theguardian.com/business/2022/feb/03/bank-of-england-raises-interest-rates-to-05
-https://www.theguardian.com/world/2021/nov/24/new-zealand-interest-rate-hike-raises-pressure-on-central-banks-over-inflation
-https://th.investing.com/rates-bonds/u.s.-10-year-bond-yield
-https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n9364.aspx
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=US
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=775&language=TH
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=891&language=TH
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon