ว่าที่ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงคนใหม่ กับภารกิจเปลี่ยนถ่ายพลังงานไฟฟ้าในยุค Disruption
<สัมภาษณ์พิเศษ>
ว่าที่ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงคนใหม่ กับภารกิจเปลี่ยนถ่ายพลังงานไฟฟ้าในยุค Disruption
ว่าที่ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงคนใหม่ กับภารกิจเปลี่ยนถ่ายพลังงานไฟฟ้าในยุค Disruption
“ในอนาคตเราอาจต้อง ‘Disrupt’ ตัวเองก็เป็นไปได้”
คุณวิลาศ เฉลยสัตย์ ว่าที่ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA
ได้เปิดประเด็นสนทนากับลงทุนแมน ไว้อย่างน่าสนใจ เลยทีเดียว
ได้เปิดประเด็นสนทนากับลงทุนแมน ไว้อย่างน่าสนใจ เลยทีเดียว
พอได้ยินแบบนี้ ก็พอจะรู้ว่าต่อจากนี้ไป MEA จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง
ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่ก่อตั้งมา 63 ปี
ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่ก่อตั้งมา 63 ปี
แล้วทำไม MEA ต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง
และอีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงนี้ กำลังเกี่ยวข้องโดยตรงกับคนกรุงเทพฯ, นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ MEA
และอีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงนี้ กำลังเกี่ยวข้องโดยตรงกับคนกรุงเทพฯ, นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ MEA
เรื่องราวทั้งหมด น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมน จะสรุปการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ
ลงทุนแมน จะสรุปการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA
มีหน้าที่หลักคือ การส่งกระแสไฟฟ้าให้แก่บ้านเรือนและธุรกิจต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ภายใต้ภารกิจสร้างสรรค์นวัตกรรม ขับเคลื่อนระบบพลังงานอัจฉริยะ เพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร
มีหน้าที่หลักคือ การส่งกระแสไฟฟ้าให้แก่บ้านเรือนและธุรกิจต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ภายใต้ภารกิจสร้างสรรค์นวัตกรรม ขับเคลื่อนระบบพลังงานอัจฉริยะ เพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร
โดยในแต่ละปี MEA จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 50,000 ล้านหน่วยต่อปี
หรือคิดเป็น 30% ของจำนวนการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ
หรือคิดเป็น 30% ของจำนวนการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ
เหตุผลที่ในแต่ละปี MEA ต้องส่งกระแสไฟฟ้ามหาศาลให้แก่พื้นที่ดังกล่าว
ก็เพราะนี่คือพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ ที่เต็มไปด้วยที่อยู่อาศัย, ศูนย์การค้า
และออฟฟิศสำนักงาน จนถึงการเป็นพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัย
ก็เพราะนี่คือพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ ที่เต็มไปด้วยที่อยู่อาศัย, ศูนย์การค้า
และออฟฟิศสำนักงาน จนถึงการเป็นพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัย
สิ่งที่ตามมาก็คือ ไลฟ์สไตล์คนกรุงเทพฯ ปริมณฑล เปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามความเจริญ
ยิ่งการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นเสมือนการกระตุ้นให้คนเข้าสู่ยุคดิจิทัลเร็วขึ้นกว่าเดิม
ยิ่งการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นเสมือนการกระตุ้นให้คนเข้าสู่ยุคดิจิทัลเร็วขึ้นกว่าเดิม
โจทย์เลยมาอยู่ที่ว่าเมื่อ MEA มีวิสัยทัศน์ในการเป็นองค์กร “พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร”
แล้วเมื่อไลฟ์สไตล์จนถึงการใช้พลังงานของคนกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
MEA จะมีวิธีการรับมือเรื่องนี้อย่างไร ?
แล้วเมื่อไลฟ์สไตล์จนถึงการใช้พลังงานของคนกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
MEA จะมีวิธีการรับมือเรื่องนี้อย่างไร ?
คุณวิลาศ เล่าให้ฟังว่าต่อจากนี้ไป บริการต่าง ๆ ของ MEA จะอยู่บนโลกดิจิทัล
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ MEA มีแผนที่จะนำทุกบริการไปอยู่ในแอปพลิเคชันที่ชื่อ MEA Smart Life
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ MEA มีแผนที่จะนำทุกบริการไปอยู่ในแอปพลิเคชันที่ชื่อ MEA Smart Life
รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันเราสามารถจ่ายค่าไฟฟ้า, แจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้อง, ตรวจสอบการใช้ไฟฟ้า, ขอใช้ไฟฟ้า
ผ่านแอปพลิเคชันชื่อ MEA Smart Life ได้ทันที โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานหรือจุดบริการให้เสียเวลาอีกต่อไป
ผ่านแอปพลิเคชันชื่อ MEA Smart Life ได้ทันที โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานหรือจุดบริการให้เสียเวลาอีกต่อไป
อีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ เวลานี้ MEA กำลังใช้เทคโนโลยี Smart Metro Grid
ระบบโครงข่ายจ่ายไฟฟ้าอัจฉริยะครบวงจร ซึ่งกำลังเกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าของคนกรุงเทพฯ
ระบบโครงข่ายจ่ายไฟฟ้าอัจฉริยะครบวงจร ซึ่งกำลังเกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าของคนกรุงเทพฯ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพแบบเข้าใจง่าย ๆ คือการติดตั้ง สมาร์ต มิเตอร์
ซึ่งเป็นระบบหนึ่งที่อยู่ในเทคโนโลยี Smart Metro Grid
ซึ่งเป็นระบบหนึ่งที่อยู่ในเทคโนโลยี Smart Metro Grid
คนไทยคุ้นเคยกับการใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแบบจานหมุนมายาวนาน
โดยแต่ละเดือนก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาจดบันทึกหน่วยค่าไฟฟ้า
แล้วคำนวณออกมาเป็นบิลให้เราต้องจ่าย
โดยแต่ละเดือนก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาจดบันทึกหน่วยค่าไฟฟ้า
แล้วคำนวณออกมาเป็นบิลให้เราต้องจ่าย
แต่หากเปลี่ยนมิเตอร์ จานหมุน มาใช้ สมาร์ต มิเตอร์ ที่อัปเกรดเทคโนโลยีอีกขั้น
ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ จะถูกส่งถึงเราผ่านแอปพลิเคชันได้ทันที
ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ จะถูกส่งถึงเราผ่านแอปพลิเคชันได้ทันที
ข้อดีก็คือ นอกจากเราจะตรวจสอบค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้แล้วนั้น
ก็ยังสามารถนำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือนมาวิเคราะห์
เพื่อนำมาปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง
ก็ยังสามารถนำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือนมาวิเคราะห์
เพื่อนำมาปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง
โดยเริ่มต้นได้ทดลองติดตั้ง สมาร์ต มิเตอร์ จำนวน 31,539 ชุด
ในปี พ.ศ. 2565 จากนั้นจึงขยายการติดตั้งครอบคลุมทุกพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2565 จากนั้นจึงขยายการติดตั้งครอบคลุมทุกพื้นที่
ส่วนสิ่งที่คนกรุงเทพฯ เฝ้ารอคำตอบมาอย่างยาวนานคือ การนำสายไฟฟ้าลงดิน
โดยมีเป้าหมายนำสายไฟฟ้าลงดินรวมเส้นทาง 215 กิโลเมตร ปัจจุบันดำเนินการเสร็จไป 48.6 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกประมาณ 150 กิโลเมตร
อุปสรรคเรื่องนี้มีสารพัดอย่างเลยทีเดียว เช่น คนงานทำงานได้เฉพาะเวลากลางคืน การประสานงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ต้องทำไปพร้อมกัน
หรืออย่างปีล่าสุด แคมป์คนงานต้องปิดเพราะการระบาดของ COVID-19
หรืออย่างปีล่าสุด แคมป์คนงานต้องปิดเพราะการระบาดของ COVID-19
คุณวิลาศ บอกว่าในอนาคต สายไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ตามถนนสายหลัก และพื้นที่สำคัญจะลงสู่ใต้ดินหมด
เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเหมือนมหานครระดับโลก ที่เมื่อมองไปทางไหนก็สบายตา
เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเหมือนมหานครระดับโลก ที่เมื่อมองไปทางไหนก็สบายตา
ซึ่งวิธีไปสู่เป้าหมายนั้นคือ การบูรณาการงานก่อสร้างสายใต้ดินของสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ต้องทำไปพร้อมกัน
ส่วนสิ่งที่เป็น เมกะเทรนด์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือ
บนท้องถนนกรุงเทพฯ จะเต็มไปด้วยรถพลังงานไฟฟ้าหรือ EV เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
กลุ่มธุรกิจสถานีบริการน้ำมันและธุรกิจอื่น ๆ ก็เริ่มหันมาทำสถานีชาร์จไฟ
จนถึงบริษัทและบ้านเรือนต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้แผงโซลาร์รูฟผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองกันมากขึ้น
ต้องทำไปพร้อมกัน
ส่วนสิ่งที่เป็น เมกะเทรนด์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือ
บนท้องถนนกรุงเทพฯ จะเต็มไปด้วยรถพลังงานไฟฟ้าหรือ EV เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
กลุ่มธุรกิจสถานีบริการน้ำมันและธุรกิจอื่น ๆ ก็เริ่มหันมาทำสถานีชาร์จไฟ
จนถึงบริษัทและบ้านเรือนต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้แผงโซลาร์รูฟผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองกันมากขึ้น
มองดูผิวเผินก็รู้ทันที ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นกำลัง “Disrupt” ธุรกิจไฟฟ้าของ MEA
ซึ่งมันก็จะมีทางเลือกอยู่ 2 ทาง นั่นคือ
ซึ่งมันก็จะมีทางเลือกอยู่ 2 ทาง นั่นคือ
1. ทำธุรกิจในแบบเดิม ๆ ไม่ต้องสนใจการเปลี่ยนแปลง
2. ปรับเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่ เมกะเทรนด์ ที่จะเกิดขึ้น
2. ปรับเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่ เมกะเทรนด์ ที่จะเกิดขึ้น
โดยคุณวิลาศ เลือกคำตอบข้อ 2 คือ การปรับตัว
ที่จะทำให้ MEA เป็นมากกว่าองค์กรที่ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าเหมือนอย่างในอดีต
ที่จะทำให้ MEA เป็นมากกว่าองค์กรที่ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าเหมือนอย่างในอดีต
รู้หรือไม่ว่า วันนี้ MEA ทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนมากมาย เพื่อเริ่มติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า
ขณะเดียวกัน ก็มีการจัดตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อ MEA Smart Energy Solutions ที่ตัวเองถือหุ้น 100%
ขณะเดียวกัน ก็มีการจัดตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อ MEA Smart Energy Solutions ที่ตัวเองถือหุ้น 100%
บริษัทลูกแห่งนี้ จัดทำธุรกิจด้าน Smart Energy เช่น บริการติดตั้งระบบจนถึงให้เช่าแผงโซลาร์รูฟผลิตไฟฟ้า
ให้อาคารสำนักงานและโครงการอสังหาฯ ต่าง ๆ
ให้อาคารสำนักงานและโครงการอสังหาฯ ต่าง ๆ
ซึ่งคุณวิลาศ ยอมรับว่า หากมองระยะยาวการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์
คุ้มค่ากว่า หากเทียบกับการจ่ายค่าไฟฟ้าต่อเดือน แต่ต้องประเมินพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมด้วย
คุ้มค่ากว่า หากเทียบกับการจ่ายค่าไฟฟ้าต่อเดือน แต่ต้องประเมินพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมด้วย
การลงทุนในธุรกิจพลังงานจะค่อยเป็นค่อยไป
เพราะไม่แน่เหมือนกันว่า ในอนาคตก็อาจมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ดีกว่าระบบเดิม ก็เป็นได้
เพราะไม่แน่เหมือนกันว่า ในอนาคตก็อาจมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ดีกว่าระบบเดิม ก็เป็นได้
ซึ่งคุณวิลาศบอกว่า “ถ้าถึงวันนั้น MEA เองก็อาจต้อง Disrupt ตัวเองแบบชัดเจนขึ้นกว่าเดิม”
อย่างไรก็ตาม คุณวิลาศบอกว่า เป้าหมายทั้งหมดจะสำเร็จลงได้ก็ด้วย กลยุทธ์การบริหารองค์กร และความร่วมมือร่วมใจของพนักงานกว่า 7,600 คน ที่จะต้องมีวิธีทำงาน และมีแนวคิดสอดคล้องไป ในทิศทางเดียวกัน
นั่นคือ MEA ต้องเข้าใกล้พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของคนเมือง ที่กำลังเปลี่ยนไป
นั่นคือ MEA ต้องเข้าใกล้พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของคนเมือง ที่กำลังเปลี่ยนไป
ซึ่งเรื่องนี้ก็คือ ความท้าทายมากที่สุด ของว่าที่ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงคนใหม่ นั่นเอง