บราซิล ประเทศที่เคยเติบโตสูง แต่ตอนนี้คนอยากย้ายออก
บราซิล ประเทศที่เคยเติบโตสูง แต่ตอนนี้คนอยากย้ายออก /โดย ลงทุนแมน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา บราซิล เคยได้รับการจับตามองว่า จะกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงประเทศหนึ่งของโลก เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีมานี้ ความหวังนั้นค่อย ๆ ริบหรี่ลงไปเรื่อย ๆ
เศรษฐกิจของบราซิลกลับเติบโตช้าลง จำนวนคนตกงานพุ่งสูงขึ้น
เศรษฐกิจของบราซิลกลับเติบโตช้าลง จำนวนคนตกงานพุ่งสูงขึ้น
เรื่องนี้ทำให้ชาวบราซิลจำนวนมาก เริ่มสิ้นหวังและตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สมองไหล”
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2000-2011 บราซิลมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว มากกว่า 5% ต่อปี
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในปี 2012 GDP ของบราซิลสูงถึง 86.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของสหราชอาณาจักร
และเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ณ เวลานั้น
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนบราซิล เพิ่มขึ้นจากราว 123,600 บาท ในปี 2000 มาอยู่ที่ราว 426,700 บาท ในปี 2011
จุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการเติบโตของบราซิลนั้นเกิดมา ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ รับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ
ขณะที่ในปี 1995 บราซิลได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2000-2011 บราซิลมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว มากกว่า 5% ต่อปี
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในปี 2012 GDP ของบราซิลสูงถึง 86.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของสหราชอาณาจักร
และเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ณ เวลานั้น
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนบราซิล เพิ่มขึ้นจากราว 123,600 บาท ในปี 2000 มาอยู่ที่ราว 426,700 บาท ในปี 2011
จุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการเติบโตของบราซิลนั้นเกิดมา ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ รับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ
ขณะที่ในปี 1995 บราซิลได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
ทั้ง 2 ปัจจัย ทำให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศของบราซิลนั้นเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าการค้าของประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการจ้างงานและการลงทุนต่าง ๆ ภายในประเทศเกิดขึ้นตามไปด้วย
การเปิดประเทศยังช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตในประเทศ
นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลบราซิลในตอนนั้น
ยังได้แสดงเจตจำนงในการชำระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศ
ทำให้ภาระหนี้สินที่บราซิลกู้ยืมจากต่างประเทศ จากเดิมที่ประมาณ 59% ต่อ GDP ในปี 2003 ลดลงจนเหลือ 12% ต่อ GDP ในปี 2009
นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลบราซิลในตอนนั้น
ยังได้แสดงเจตจำนงในการชำระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศ
ทำให้ภาระหนี้สินที่บราซิลกู้ยืมจากต่างประเทศ จากเดิมที่ประมาณ 59% ต่อ GDP ในปี 2003 ลดลงจนเหลือ 12% ต่อ GDP ในปี 2009
ภาระหนี้สินที่กู้จากต่างประเทศที่ลดลงจนเหลือสัดส่วนต่ำ ช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลให้โดดเด่นมากในเวลานั้น
จนบราซิลเคยถูกจับตามองว่า เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางด้านเศรษฐกิจ
บราซิล ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีชื่อว่า “BRIC” ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ก่อนที่จะเพิ่มประเทศแอฟริกาใต้เข้ามาอีกในปี 2010 และใช้ชื่อว่า “BRICS” ในปัจจุบัน
แต่ใครจะรู้ว่า นับจากนั้นเศรษฐกิจของบราซิลก็เริ่มประสบปัญหา
GDP ของบราซิล ในปี 2020 ลดลงมาเหลือ 47.6 ล้านล้านบาท จากที่เคยสูงกว่า 86 ล้านล้านบาท ในช่วงพีกคือปี 2011
ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้อดีตประเทศดาวรุ่งอย่างบราซิล กลับต้องเข้าสู่ยุคแห่งความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ปัจจัยก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- ประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำ สวนทางกับค่าจ้างแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น
จนบราซิลเคยถูกจับตามองว่า เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางด้านเศรษฐกิจ
บราซิล ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีชื่อว่า “BRIC” ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ก่อนที่จะเพิ่มประเทศแอฟริกาใต้เข้ามาอีกในปี 2010 และใช้ชื่อว่า “BRICS” ในปัจจุบัน
แต่ใครจะรู้ว่า นับจากนั้นเศรษฐกิจของบราซิลก็เริ่มประสบปัญหา
GDP ของบราซิล ในปี 2020 ลดลงมาเหลือ 47.6 ล้านล้านบาท จากที่เคยสูงกว่า 86 ล้านล้านบาท ในช่วงพีกคือปี 2011
ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้อดีตประเทศดาวรุ่งอย่างบราซิล กลับต้องเข้าสู่ยุคแห่งความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ปัจจัยก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- ประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำ สวนทางกับค่าจ้างแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในช่วงปี 2003-2014 ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 68% ในขณะที่อัตราการผลิตต่อคนงานเพิ่มขึ้นเพียง 21%
พูดง่าย ๆ คือ ต้นทุนค่าแรงของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพและผลผลิตนั้นเพิ่มขึ้นน้อยกว่ามาก ซึ่งการขาดผลิตภาพในการผลิตส่วนสำคัญเกิดมาจากการลงทุนในนวัตกรรมของประเทศที่ต่ำ
- ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
- ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
โดยเฉพาะท่าเรือ ถนน หนทาง ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ข้อมูลของ World Bank ระบุว่า ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของบราซิลนั้น ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 56 จาก 160 ประเทศทั่วโลก
ขณะที่ข้อมูลจาก International Trade Administration ของสหรัฐอเมริการะบุว่า การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ภายในบราซิลนั้นใช้รถบรรทุก ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทางไม่ค่อยมีความพร้อม ก็ทำให้เกิดต้นทุนค่าขนส่งที่สูง
ขณะที่ข้อมูลจาก International Trade Administration ของสหรัฐอเมริการะบุว่า การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ภายในบราซิลนั้นใช้รถบรรทุก ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทางไม่ค่อยมีความพร้อม ก็ทำให้เกิดต้นทุนค่าขนส่งที่สูง
- ปัญหาคอร์รัปชันในบราซิล ถือว่ารุนแรงไม่แพ้หลายประเทศในแถบอเมริกาใต้
ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ของประเทศนั้นได้คะแนนน้อยลงเรื่อย ๆ (ยิ่งน้อยลงคือยิ่งภาพลักษณ์ไม่ดีในเรื่องคอร์รัปชัน)
ปี 2012 บราซิลได้ 43 คะแนน และลดลงเหลือเพียง 38 คะแนนในปี 2020
ปี 2012 บราซิลได้ 43 คะแนน และลดลงเหลือเพียง 38 คะแนนในปี 2020
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการคอร์รัปชันในบราซิลไม่เพียงแต่ยังคงอยู่ แต่กลับเลวร้ายลงเรื่อย ๆ
ปัญหาคอร์รัปชัน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสูงสุดของประเทศอย่างประธานาธิบดี อย่างเช่น ในปี 2015 อดีตประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
ปัญหาคอร์รัปชัน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสูงสุดของประเทศอย่างประธานาธิบดี อย่างเช่น ในปี 2015 อดีตประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
โดยเป็นการรับสินบนเพื่อแลกกับ การอนุมัติให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง เข้าไปรับงานก่อสร้างจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่อย่างปิโตรบาส รัฐวิสาหกิจน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ
ปัญหาคอร์รัปชันที่อื้อฉาวของนักการเมือง นักธุรกิจ สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบราซิลจำนวนมาก
ปัญหาคอร์รัปชันที่อื้อฉาวของนักการเมือง นักธุรกิจ สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบราซิลจำนวนมาก
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ครั้งหนึ่งชาวบราซิลใน 3 รัฐทางใต้ ที่ไม่พอใจการบริหารและเรื่องคอร์รัปชันของรัฐบาล ร่วมลงคะแนนประชามติเพื่อแสดงความต้องการแยกประเทศ ภายใต้แคมเปน “The South is My Country”
การประท้วง การก่อจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบราซิล
การประท้วง การก่อจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบราซิล
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้บราซิลที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว กลับสะดุด จนเหมือนกลายเป็นคนป่วยแห่งทวีปอเมริกาใต้ไปแล้วในตอนนี้
ความเปราะบางทางเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งมาเจอผลจากการระบาดของโควิด 19 ก็ยิ่งทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย
ความเปราะบางทางเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งมาเจอผลจากการระบาดของโควิด 19 ก็ยิ่งทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย
ปี 2014 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 6.0 ล้านคน
ปี 2021 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 14.7 ล้านคน
จำนวนผู้ว่างงานสูง เศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากรู้สึกว่า ตนเองต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ปี 2021 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 14.7 ล้านคน
จำนวนผู้ว่างงานสูง เศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากรู้สึกว่า ตนเองต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข้อมูลจาก Migration Policy Institute (MPI) ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีชาวบราซิลอพยพออกนอกประเทศเฉลี่ยปีละกว่า 100,000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัญหาความขัดแย้งมากมายในประเทศที่ดูไร้ทางออก
ประเด็นคือ ผู้ที่อพยพออกไป ได้รวมแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Brain Drain” หรือสมองไหล
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประเทศหนึ่งกำลังสูญเสียคนเก่งไปจากประเทศ เนื่องจากคนเหล่านั้นต้องการออกไปทำงานและอาศัยในประเทศที่ทำให้พวกเขามีรายได้สูงกว่า สภาพการทำงานที่ดีกว่า
ดังนั้น อนาคตของบราซิลหลังจากนี้ จึงเกิดเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ของคนในประเทศตามมาว่า แล้วประเทศจะพัฒนาและก้าวหน้าจากวันนี้ไปได้อย่างไร ?
ประเด็นคือ ผู้ที่อพยพออกไป ได้รวมแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Brain Drain” หรือสมองไหล
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประเทศหนึ่งกำลังสูญเสียคนเก่งไปจากประเทศ เนื่องจากคนเหล่านั้นต้องการออกไปทำงานและอาศัยในประเทศที่ทำให้พวกเขามีรายได้สูงกว่า สภาพการทำงานที่ดีกว่า
ดังนั้น อนาคตของบราซิลหลังจากนี้ จึงเกิดเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ของคนในประเทศตามมาว่า แล้วประเทศจะพัฒนาและก้าวหน้าจากวันนี้ไปได้อย่างไร ?
คนเก่ง ๆ ที่หมดหวังกับประเทศและอพยพออกไป
ทำให้บราซิลกำลังมีบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ ยิ่งทำให้มีการสร้างสรรค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ
รู้ไหมว่า วันนี้ สัดส่วนนักวิจัยต่อประชากร 1 ล้านคนของบราซิล มีอยู่เพียง 700 คนเท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น
- จีน 1,071 คน
- รัสเซีย 3,191 คน
- สหราชอาณาจักร 4,269 คน
- สหรัฐอเมริกา 4,663 คน
ตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่า ปัญหาสมองไหลที่บราซิลกำลังเจออยู่นั้น จะรุนแรงมากกว่านี้ในอนาคตหรือไม่
และรัฐบาลจะหาทางหยุดปัญหานี้ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ฝังลึกอยู่ในประเทศได้อย่างไร
แต่เรื่องนี้ ก็ถือเป็นกรณีศึกษา ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยควรต้องจับตามอง
ว่าประเทศที่เคยรุ่งเรือง เปี่ยมไปด้วยความหวัง
ทุกอย่างก็พังทลายลงได้ หากการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/country/BR
-https://en.wikipedia.org/wiki/BRIC
-https://ditp.go.th/contents_attach/81555/81555.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazil
-https://www.migrationpolicy.org/article/migration-brazil-making-multicultural-society
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazilian_diaspora
-https://www.worldbank.org/en/country/brazil/publication/brazil-how-resume-growth-keep-social-progress
-https://www.trade.gov/knowledge-product/brazil-infrastructure
-https://tradingeconomics.com/brazil/unemployed-persons
-https://www.if.org.uk/2020/07/06/politics-covid-brain-drain-in-brazil/
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/table/bra
-https://www.bbc.com/thai/international-41544397
-http://chartsbin.com/view/1124
ทำให้บราซิลกำลังมีบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ ยิ่งทำให้มีการสร้างสรรค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ
รู้ไหมว่า วันนี้ สัดส่วนนักวิจัยต่อประชากร 1 ล้านคนของบราซิล มีอยู่เพียง 700 คนเท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น
- จีน 1,071 คน
- รัสเซีย 3,191 คน
- สหราชอาณาจักร 4,269 คน
- สหรัฐอเมริกา 4,663 คน
ตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่า ปัญหาสมองไหลที่บราซิลกำลังเจออยู่นั้น จะรุนแรงมากกว่านี้ในอนาคตหรือไม่
และรัฐบาลจะหาทางหยุดปัญหานี้ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ฝังลึกอยู่ในประเทศได้อย่างไร
แต่เรื่องนี้ ก็ถือเป็นกรณีศึกษา ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยควรต้องจับตามอง
ว่าประเทศที่เคยรุ่งเรือง เปี่ยมไปด้วยความหวัง
ทุกอย่างก็พังทลายลงได้ หากการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/country/BR
-https://en.wikipedia.org/wiki/BRIC
-https://ditp.go.th/contents_attach/81555/81555.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazil
-https://www.migrationpolicy.org/article/migration-brazil-making-multicultural-society
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazilian_diaspora
-https://www.worldbank.org/en/country/brazil/publication/brazil-how-resume-growth-keep-social-progress
-https://www.trade.gov/knowledge-product/brazil-infrastructure
-https://tradingeconomics.com/brazil/unemployed-persons
-https://www.if.org.uk/2020/07/06/politics-covid-brain-drain-in-brazil/
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/table/bra
-https://www.bbc.com/thai/international-41544397
-http://chartsbin.com/view/1124