สรุปอุตสาหกรรม อาวุธสงคราม บนโลกนี้

สรุปอุตสาหกรรม อาวุธสงคราม บนโลกนี้

สรุปอุตสาหกรรม อาวุธสงคราม บนโลกนี้ /โดย ลงทุนแมน
สงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวเลขของผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 60 ถึง 70 ล้านคนเป็นอย่างน้อย
ความเจ็บปวดทรมานทั้งร่างกายและจิตใจกระจายไปทั่วโลก
มูลค่าทางเศรษฐกิจเสียหายเกินกว่าจะประเมินออกมาได้
แต่ในวันนี้ หรือหลังจากผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มาแล้ว 70 ปี
โลกของเราก็ยังคงมีสงครามเกิดขึ้นอยู่หลายแห่ง
และที่น่าแปลกคือ “ธุรกิจผลิตอาวุธ” ที่เป็นเครื่องมือในการคร่าชีวิตมนุษย์ด้วยกันยังคงดำเนินกิจการอยู่
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมอาวุธสงครามเป็นอย่างไรและมีมูลค่ามากขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้หรือไม่ว่าในแต่ละปี มูลค่าการส่งออกอาวุธทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านบาท
โดยในช่วงระหว่างปี 2016 ถึง 2020 ประเทศสหรัฐอเมริกาคือ ผู้ส่งออกอันดับ 1 คิดเป็น 37%
ในขณะที่ อันดับ 2 ถึง 5 ไล่ตามลำดับ ก็คือ รัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และจีน รวมกัน คิดเป็น 39%
จากตรงนี้จะเห็นได้ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาคือเจ้าพ่อแห่งอาวุธสงคราม
ที่กินส่วนแบ่งมากที่สุดในโลกและเมื่อมาดูลูกค้ารายใหญ่ใน 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า
อันดับ 1 คือ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
อันดับ 2 คือ ประเทศออสเตรเลีย
อันดับ 3 คือ ประเทศเกาหลีใต้
และลูกค้ารายอื่น ๆ ก็ยังมีประเทศอิสราเอล ไต้หวัน และญี่ปุ่น
จากรายชื่อที่กล่าวถึงก็จะพบว่าประเทศเหล่านี้ กำลังอยู่ในภาวะตึงเครียดทางด้านสงคราม
กับประเทศใกล้เคียงอย่างเช่น จีน รัสเซีย และอิหร่าน ซึ่งล้วนเป็นคู่แข่งของสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น
ทำให้อาวุธหนักอย่างเครื่องบินรบหรือเรือรบจะถูกจำกัดการขายให้กับประเทศที่เป็นพันธมิตรเท่านั้น
แล้วอุตสาหกรรมอาวุธสงครามมีการซื้อขายกันอย่างไร ?
จุดนี้หลายคนอาจจะคิดว่าหากประเทศที่เป็นพันธมิตรติดต่อซื้ออาวุธสงคราม
ประเทศเหล่านั้น ก็น่าจะได้อาวุธทุกอย่างตามที่ต้องการ
แต่ในความเป็นจริงมันก็ไม่ได้ง่ายแบบนั้น เพราะทุก ๆ รายการสั่งซื้อจะต้องถูกตรวจสอบและต้องได้รับอนุมัติโดยหน่วยงานของรัฐฯ เสมอ
เราลองมาดูระบบการขายอาวุธของประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีการขายอาวุธผ่าน 2 ช่องทางหลัก แบ่งออกเป็น
1. การติดต่อขอซื้อผ่านรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยตรง
ช่องทางนี้จะมีมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 1.65 ล้านล้านบาทต่อปี
โดยส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อในปริมาณมากหรือเป็นยุทโธปกรณ์ที่ต้องติดต่อซื้อขายในแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G Business) เท่านั้น
นอกจากนี้ วิธีดังกล่าวยังเป็นการซื้อขายที่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละประเทศ
2. การซื้อขายโดยตรงเชิงพาณิชย์
ช่องทางนี้ มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 3.40 ล้านล้านบาทต่อปี
สำหรับการซื้อขายโดยตรงเชิงพาณิชย์ มีการกำหนดรายการซื้อขายไว้อย่างชัดเจน
แบ่งออกเป็น 21 หมวดหมู่ ครอบคลุมตั้งแต่ปืนไรเฟิลไปจนถึงเครื่องบินรบ
ทั้งนี้การซื้อขายที่เกิดขึ้นจะเป็นการเจรจาระหว่างผู้ซื้อและบริษัทในสหรัฐอเมริกาโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ทุกรายการจะต้องถูกตรวจสอบและอนุมัติการซื้อขายโดยหน่วยงานของรัฐฯ
ที่อยู่ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงพาณิชย์เสมอ
ก่อนมีการดำเนินการส่งมอบสินค้า
ยิ่งเป็นรายการสั่งซื้อที่มีปริมาณมาก หรือมีความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นคง
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะต้องแจ้งรายการสั่งซื้อดังกล่าวให้รัฐสภา รับทราบและพิจารณาอนุมัติด้วย
ยกตัวอย่างเช่น การอนุมัติขายอาวุธและระบบป้องกันภัยให้กับประเทศไต้หวันมูลค่ากว่า 150,000 ล้านบาท
หรือในกรณีที่ไม่อนุมัติก็เป็นตอนที่วุฒิสภาปฏิเสธสัญญาขายอาวุธของรัฐบาลดอนัลด์ ทรัมป์ ให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มูลค่ากว่า 690,000 ล้านบาท ในปี 2020 นั่นเอง
ซึ่งระบบการซื้อขายที่มีภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็บอกได้ว่านอกจากเรื่องของผลกำไรจากการซื้อขายอาวุธ
มันก็ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยในการพิจารณา เช่น
การเสริมสร้างพันธมิตรในภูมิภาคต่าง ๆ อย่างที่สหรัฐอเมริกาได้ขายอาวุธจำนวนมาก
ไปยังประเทศพันธมิตรในภูมิภาคตะวันออกกลางในช่วงปี 2016 ถึง 2020
โดยคิดเป็นมากถึง 47% ของยอดส่งออกทั้งหมด
รวมถึงการป้องกันเทคโนโลยีชั้นสูงจะตกไปอยู่ในมือของคู่แข่ง ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด
คือการที่รัฐบาลไม่อนุญาตให้ทำการขายหรือเปิดเผยข้อมูลของเครื่องบินรบ รุ่น F-22
ที่มีมูลค่าสูงถึง 5,500 ล้านบาทต่อลำ เพราะถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่มีชาติใดในโลกสามารถก้าวขึ้นมาแข่งขันได้
ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตทั้งหมดจะถูกปกปิดเป็นความลับระหว่างรัฐบาลและผู้ผลิตเท่านั้น
เมื่อมีกฎระเบียบที่มีความเข้มงวดสูง ก็น่าจะส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของบริษัทค้าอาวุธอยู่ไม่น้อย แต่ดูเหมือนว่าธุรกิจค้าอาวุธที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐนั้นจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ดูได้จากผลประกอบการของบริษัท Lockheed Martin
บริษัทค้าอาวุธอเมริกันที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
ปี 2018 รายได้ 1,613,000 ล้านบาท กำไร 151,000 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 1,794,000 ล้านบาท กำไร 187,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 1,962,000 ล้านบาท กำไร 205,000 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่ารายได้บริษัทเติบโตเฉลี่ย 10.3% ต่อปีและกำไรเติบโต 16.5% ต่อปี
ซึ่งรายได้กว่า 70% ของยอดขายมาจากสัญญาซื้อขายกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ในขณะที่อีก 30% มาจากลูกค้าทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จะเห็นได้ว่า แม้ว่าอุตสาหกรรมค้าอาวุธสงครามจะมีข้อจำกัดมากมาย
แต่รายได้ส่วนใหญ่ก็มาจากรัฐบาล และการเติบโตที่เราเห็นกัน
ก็อาจจะสะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศทั่วโลกกำลังเสริมอาวุธยุทโธปกรณ์กันมากขึ้น
หากเรามาดู งบประมาณรายจ่ายทางทหารของสหรัฐอเมริกา
มีมากกว่า 23.0 ล้านล้านบาทต่อปี
อันดับ 2 คือ จีน 7.5 ล้านล้านบาทต่อปี
อันดับ 3 คือ อินเดีย 2.2 ล้านล้านบาทต่อปี
ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าโลกของเรายังคงเดินหน้าสะสมทรัพยากรด้านสงครามกันอย่างต่อเนื่อง
และจากความขัดแย้งทางการทหาร ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น
เกาหลีใต้ กับ เกาหลีเหนือ
ไต้หวัน กับ จีน
ซาอุดีอาระเบีย กับ อิหร่าน
อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์
ถึงตรงนี้ เราก็สามารถสรุปได้ว่าอุตสาหกรรมอาวุธสงคราม
ก็เหมือนจะเป็นธุรกิจที่จำเป็นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่
จึงไม่แปลกที่เวลามีสงครามเกิดขึ้นที่ใดบนโลก
ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องอาวุธสงครามอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และรัสเซีย
มักจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เหตุผลสำคัญคงหนีไม่พ้นข้อเท็จจริงที่ว่า ยิ่งมีสงครามกันมากเท่าไร
ประเทศเหล่านี้ที่มีสถานะเป็นผู้ขายอาวุธ ก็น่าจะยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.state.gov/u-s-arms-sales-and-defense-trade/
-https://www.lockheedmartin.com/content/dam/lockheed-martin/eo/documents/annual-reports/lo-ckheed-martin-annual-report-2020.pdf
-https://sipri.org/sites/default/files/2021-03/fs_2103_at_2020.pdf
-https://www.sipri.org/databases/financial-value-global-arms-trade
-https://www.wearethemighty.com/mighty-tactical/why-f-22-never-exported/
-https://militarymachine.com/f-22-raptor-vs-f-35-lightning-ii/
-https://www.sipri.org/media/press-release/2021/world-military-spending-rises-almost-2-trillion-2020
-https://www.defenseworld.net/news/28470/United_States____Arms_Exports_Totaled__175_08_billion_in_2020__up_2_8__Over_2019#.YNIZXOgzaUk
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon