
สังคมผู้สูงอายุ ความท้าทายที่รออยู่ หลังโควิด
สังคมผู้สูงอายุ ความท้าทายที่รออยู่ หลังโควิด /โดย ลงทุนแมน
ปัญหาโรคระบาดโควิด 19 ทำให้เศรษฐกิจไทยบอบช้ำอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม หลายคนเชื่อว่า
สุดท้ายปัญหานี้น่าจะผ่านพ้นไปเมื่อประชากรในประเทศส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้
ปัญหาโรคระบาดโควิด 19 ทำให้เศรษฐกิจไทยบอบช้ำอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม หลายคนเชื่อว่า
สุดท้ายปัญหานี้น่าจะผ่านพ้นไปเมื่อประชากรในประเทศส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้
แต่ปัญหาระยะยาวที่ท้าทายเศรษฐกิจอีกเรื่องคือ “สังคมผู้สูงอายุ”
จนอาจทำให้แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะผ่านพ้นวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ไปได้
แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจไม่กลับไปเหมือนเดิม
จนอาจทำให้แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะผ่านพ้นวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ไปได้
แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจไม่กลับไปเหมือนเดิม
เรื่องนี้จะสร้างความท้าทายให้กับประเทศไทยมากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูจำนวนผู้สูงอายุชาวไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ในช่วงที่ผ่านมาและการคาดการณ์โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูจำนวนผู้สูงอายุชาวไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ในช่วงที่ผ่านมาและการคาดการณ์โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปี 2560 จำนวนผู้สูงอายุชาวไทย 11.1 ล้านคน คิดเป็น 16.9% ของจำนวนประชากร
ปี 2564 จำนวนผู้สูงอายุชาวไทย 13.2 ล้านคน คิดเป็น 19.9% ของจำนวนประชากร
ปี 2569 จำนวนผู้สูงอายุชาวไทย 15.9 ล้านคน คิดเป็น 23.4% ของจำนวนประชากร
ปี 2564 จำนวนผู้สูงอายุชาวไทย 13.2 ล้านคน คิดเป็น 19.9% ของจำนวนประชากร
ปี 2569 จำนวนผู้สูงอายุชาวไทย 15.9 ล้านคน คิดเป็น 23.4% ของจำนวนประชากร
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ทำให้ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) หรือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2565
จริงๆ แล้ว ต้องบอกว่า การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็สร้างโอกาสให้แก่หลายธุรกิจ เช่น
ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งผู้สูงอายุมักให้ความใส่ใจกับอาหารการกิน เมื่ออายุมากขึ้น
ธุรกิจด้านการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งการดูแลสุขภาพทั่วไป หรือให้บริการประเภทโฮมแคร์ที่มีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลผู้สูงอายุถึงบ้าน
ธุรกิจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบ้านพักอาศัยที่ถูกสร้างมาสำหรับผู้สูงอายุ
ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนมายังจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจดูแลผู้สูงอายุนั้นมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น
ปี 2560 จำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 76 ราย
ปี 2562 จำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 113 ราย
ปี 2563 จำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 117 ราย
ปี 2562 จำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 113 ราย
ปี 2563 จำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 117 ราย
จะเห็นว่า ในปี 2563 แม้ประเทศไทยจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ยังคงมีผู้สนใจเข้ามาทำธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอีกด้านหนึ่งก็สร้างความท้าทายต่อประเทศเช่นกัน ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
เรื่องแรกคือ เรื่องของโครงสร้างประชากรไทยที่ดูแล้วจะเป็นที่น่ากังวลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
ลองมาดูอัตราการเกิดของประชากรไทยที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ
ลองมาดูอัตราการเกิดของประชากรไทยที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ
ปี 2543-2553 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เฉลี่ยปีละ 845,000 คน
ปี 2554-2563 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เฉลี่ยปีละ 738,900 คน
ปี 2554-2563 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เฉลี่ยปีละ 738,900 คน
ที่น่าสนใจคือ ปีสุดท้ายที่ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เกินปีละ 1 ล้านคน คือ ปี 2538 หรือเมื่อ 26 ปีที่แล้ว
เด็กเกิดใหม่ที่ลดลง นั่นหมายถึง กำลังแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานจะค่อย ๆ ลดลง จนก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ในบางอุตสาหกรรม เราจึงเห็นว่าบางองค์กรเริ่มมีการขยายอายุเกษียณให้ยาวขึ้น แต่นั่นอาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น
เด็กเกิดใหม่ที่ลดลง นั่นหมายถึง กำลังแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานจะค่อย ๆ ลดลง จนก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ในบางอุตสาหกรรม เราจึงเห็นว่าบางองค์กรเริ่มมีการขยายอายุเกษียณให้ยาวขึ้น แต่นั่นอาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น
เด็กเกิดใหม่ที่ลดลงในช่วงก่อนหน้านี้ ยังทำให้ธุรกิจการศึกษาหลายแห่งเริ่มได้รับผลกระทบ เพราะปัญหาเรื่องจำนวนนักเรียนที่น้อยลงเรื่อย ๆ จนทำให้ปัจจุบัน บางคณะในบางมหาวิทยาลัยต้องปิดตัวลง จนบุคลากรทางด้านการศึกษาบางส่วนเริ่มได้รับผลกระทบ
จำนวนแรงงานที่ลดลงขณะที่จำนวนผู้สูงอายุค่อย ๆ เพิ่มขึ้น พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อผู้สูงอายุจะค่อย ๆ ลดลง
ในปี 2560 สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อผู้สูงอายุ อยู่ที่ 3.8 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน
แต่มีการประเมินกันว่า
ในปี 2579 สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อผู้สูงอายุ จะอยู่ที่ 1.9 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน
แต่มีการประเมินกันว่า
ในปี 2579 สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อผู้สูงอายุ จะอยู่ที่ 1.9 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน
หมายความว่า ผู้สูงอายุจะพึ่งพาคนวัยทำงานได้น้อยลง หรือพูดอีกด้านหนึ่งก็คือ คนที่เกิดมาช่วงหลัง ๆ จะแบกรับภาระในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
อีกปัญหาหนึ่งที่ดูน่าเป็นห่วงไม่น้อยก็คือ ประชากรผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยยังขาดความมั่นคงด้านการเงิน หรือคำพูดที่เรามักได้ยินกันเสมอ ๆ นั่นก็คือ “แก่ก่อนรวย”
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ทำการสำรวจฐานะการเงินของผู้สูงอายุชาวไทยนั้นพบว่า
2% มีเงินใช้เกินพอ
62% มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
36% มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
2% มีเงินใช้เกินพอ
62% มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
36% มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
หมายความว่า ทุก ๆ 100 คนของผู้สูงอายุชาวไทย จะมี 36 คนที่ยังมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ
ขณะที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่บอกว่า มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
รายได้เหล่านั้นส่วนมากก็มาจากลูกหลานของพวกเขา
รายได้เหล่านั้นส่วนมากก็มาจากลูกหลานของพวกเขา
แต่คำถามคือ
ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลาน และไม่ได้ทำงานแล้วจะสามารถพึ่งพาใครได้ ?
ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลาน และไม่ได้ทำงานแล้วจะสามารถพึ่งพาใครได้ ?
แน่นอนว่า เรื่องนี้ก็ทำให้ภาครัฐอาจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งสร้างความท้าทายต่อฐานะการเงินการคลังของประเทศ
เพราะต้องยอมรับว่า ประเทศเรายังเป็นประเทศฐานะรายได้ปานกลาง ความสามารถในการจัดสวัสดิการให้แก่ทุกคนรวมทั้งผู้สูงอายุด้วย จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2555-2562 ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรวมกันสูงกว่า 500,300 ล้านบาท ซึ่งในแต่ละปีนั้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนี้ การที่สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภคภาคเอกชนมีสัดส่วนต่อ GDP ลดลง เมื่อเทียบกับในอดีต
โดยในปี 2547 สัดส่วนการบริโภคภาคเอกชนต่อ GDP อยู่ที่ประมาณ 58% แต่ปัจจุบันกลับลดลงเหลือเพียง 51%
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การบริโภคภาคเอกชนที่ในอดีตนั้นถือว่า เป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย กำลังมีบทบาทลดลงเรื่อย ๆ
สรุปแล้ว การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทยนั้น กำลังสร้างความท้าทายให้แก่ประเทศไทยหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านสังคมและเศรษฐกิจซึ่งก็เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องต้องคิดหาทางออกที่เหมาะสมให้แก่ประเทศต่อไป
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนผู้สูงอายุสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2562 จำนวน 1 ใน 3 ของประชากรญี่ปุ่นทั้งหมดหรือประมาณ 42 ล้านคน นั้นเป็นผู้สูงอายุ จนนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า นี่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตได้ช้าลงตลอดทศวรรษที่ผ่านมา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2564/T26/T26_032021.pdf
-https://knoema.com/atlas/Thailand/topics/Demographics/Fertility/Number-of-births
-https://www.dop.go.th/th/know/15/465
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/AgePeriodCohort.pdf
-https://www.youtube.com/watch?v=oXRqHQQkCa0
-https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610945020-322_0.pdf
-http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/274
-https://thediplomat.com/2019/11/how-does-japans-aging-society-affect-its-economy/#:~:text=%E2%80%9CA%20rapidly%20aging%20population%20and,over%20the%20next%20three%20decades.
รู้ไหมว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนผู้สูงอายุสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2562 จำนวน 1 ใน 3 ของประชากรญี่ปุ่นทั้งหมดหรือประมาณ 42 ล้านคน นั้นเป็นผู้สูงอายุ จนนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า นี่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตได้ช้าลงตลอดทศวรรษที่ผ่านมา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2564/T26/T26_032021.pdf
-https://knoema.com/atlas/Thailand/topics/Demographics/Fertility/Number-of-births
-https://www.dop.go.th/th/know/15/465
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/AgePeriodCohort.pdf
-https://www.youtube.com/watch?v=oXRqHQQkCa0
-https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610945020-322_0.pdf
-http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/274
-https://thediplomat.com/2019/11/how-does-japans-aging-society-affect-its-economy/#:~:text=%E2%80%9CA%20rapidly%20aging%20population%20and,over%20the%20next%20three%20decades.