เราอยากเป็นเจ้าของ Flash หรือ Kerry ?
เราอยากเป็นเจ้าของ Flash หรือ Kerry ? /โดย ลงทุนแมน
ถ้าเราเป็นนักลงทุนที่มีเงินมากพอ
แล้วมี 2 กิจการให้เลือก ระหว่าง Flash และ Kerry ที่ทำธุรกิจขนส่งพัสดุเหมือนกัน
โดยราคาของกิจการ Kerry เป็น 2 เท่าของ ราคากิจการ Flash
เป็นเรา เราจะเลือกลงทุนในดีลไหน ?
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับมูลค่าของ 2 กิจการนี้ ในตอนนี้
แล้วมี 2 กิจการให้เลือก ระหว่าง Flash และ Kerry ที่ทำธุรกิจขนส่งพัสดุเหมือนกัน
โดยราคาของกิจการ Kerry เป็น 2 เท่าของ ราคากิจการ Flash
เป็นเรา เราจะเลือกลงทุนในดีลไหน ?
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับมูลค่าของ 2 กิจการนี้ ในตอนนี้
Kerry Express จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีมูลค่าบริษัทล่าสุด 75,000 ล้านบาท
ส่วน Flash Express ยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาด แต่วันนี้บริษัทสามารถถระดมทุนซีรีส์ D+ และ E ในมูลค่ากิจการระดับยูนิคอร์นตัวแรกของไทย ที่ทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 31,000 ล้านบาท
คำนวณแล้ว มูลค่ากิจการ Kerry Express ตอนนี้จะเป็น 2.4 เท่าของ Flash Express
แล้วผลประกอบการของ 2 บริษัทนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาเจาะลึกให้ฟัง
แล้วผลประกอบการของ 2 บริษัทนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาเจาะลึกให้ฟัง
บริษัท Flash Express
ปี 2561 รายได้ 47 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,123 ล้านบาท ขาดทุน 1,666 ล้านบาท
และจากในบทสัมภาษณ์กับ THE STANDARD คุณคมสันต์ ลี ผู้ก่อตั้ง Flash Express บอกว่า ปี 2563 รายได้บริษัทเติบโต 600% นั่นก็อาจคำนวณรายได้ ปี 2563 ได้ประมาณ 14,900 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 47 ล้านบาท ขาดทุน 183 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,123 ล้านบาท ขาดทุน 1,666 ล้านบาท
และจากในบทสัมภาษณ์กับ THE STANDARD คุณคมสันต์ ลี ผู้ก่อตั้ง Flash Express บอกว่า ปี 2563 รายได้บริษัทเติบโต 600% นั่นก็อาจคำนวณรายได้ ปี 2563 ได้ประมาณ 14,900 ล้านบาท
บริษัท Kerry Express
ปี 2561 รายได้ 13,668 ล้านบาท กำไร 1,185 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 19,895 ล้านบาท กำไร 1,329 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 19,010 ล้านบาท กำไร 1,405 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 13,668 ล้านบาท กำไร 1,185 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 19,895 ล้านบาท กำไร 1,329 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 19,010 ล้านบาท กำไร 1,405 ล้านบาท
สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือ
การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Flash 4,464% ในปี 2562 และ 600% ในปี 2563 อย่างไรก็ตามบริษัทก็น่าจะเติบโตพร้อมกับการขาดทุน เพราะบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างเร่งขยายกิจการ
การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Flash 4,464% ในปี 2562 และ 600% ในปี 2563 อย่างไรก็ตามบริษัทก็น่าจะเติบโตพร้อมกับการขาดทุน เพราะบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างเร่งขยายกิจการ
ในขณะเดียวกัน Kerry เป็นธุรกิจที่สามารถทำกำไรระดับพันล้านบาทต่อปี มาอย่างต่อเนื่อง
แต่ในปี 2563 ที่รายได้ของบริษัทก็ลดลง ซึ่งบริษัทระบุว่าเป็นผลมาจากโรคระบาด และการปรับราคาค่าบริการลงเพื่อเจาะตลาดขนส่งแบบประหยัด
แต่ในปี 2563 ที่รายได้ของบริษัทก็ลดลง ซึ่งบริษัทระบุว่าเป็นผลมาจากโรคระบาด และการปรับราคาค่าบริการลงเพื่อเจาะตลาดขนส่งแบบประหยัด
ซึ่งจริง ๆ แล้ว การแข่งขันในอุตสาหกรรมที่มากขึ้น ก็น่าจะมีส่วนที่ทำให้รายได้ของ Kerry ไม่เติบโต
และเมื่อดูจากรายได้ด้านบน ก็พอจะเดากันได้ว่าหนึ่งในคู่แข่งคนสำคัญของ Kerry ก็คือ “Flash”
และเมื่อดูจากรายได้ด้านบน ก็พอจะเดากันได้ว่าหนึ่งในคู่แข่งคนสำคัญของ Kerry ก็คือ “Flash”
ถ้าเราเป็นนักลงทุน เราจะเลือกอะไร ? ระหว่าง
-การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Flash ที่แลกมาด้วยผลขาดทุน
-หรือ Kerry ที่มีกำไรปีละพันล้านบาท แบรนด์คุ้นหูกว่า แต่เติบโตไม่แรง
เก็บคำตอบไว้ในใจ แล้วมาดูข้อมูลกันต่อ..
-การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Flash ที่แลกมาด้วยผลขาดทุน
-หรือ Kerry ที่มีกำไรปีละพันล้านบาท แบรนด์คุ้นหูกว่า แต่เติบโตไม่แรง
เก็บคำตอบไว้ในใจ แล้วมาดูข้อมูลกันต่อ..
ถ้าบอกว่ามีแค่ 2 เจ้านี้ เป็นผู้เล่นคนสำคัญ อยู่ในตลาดขนส่งพัสดุเมืองไทย ก็ไม่น่าจะถูกต้อง
แล้วในตลาดขนส่งพัสดุ มีผู้เล่นที่สำคัญรายไหน อีกบ้าง ?
แล้วในตลาดขนส่งพัสดุ มีผู้เล่นที่สำคัญรายไหน อีกบ้าง ?
คำตอบแรกก็คือ ไปรษณีย์ไทย ที่ปี 2563 มีรายได้ 24,211 ล้านบาท กำไร 385 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าไปรษณีย์ไทยก็ยังมีรายได้เป็นอันดับหนึ่งในตลาด แต่กำไรของไปรษณีย์ไทยก็ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ ปี 2561 ไปรษณีย์ไทยเคยมีรายได้มากถึง 29,728 ล้านบาท และกำไร 3,826 ล้านบาท นี่เท่ากับว่า กำไรของไปรษณีย์ไทยหายไป 90% ใน 2 ปี
จะเห็นได้ว่าไปรษณีย์ไทยก็ยังมีรายได้เป็นอันดับหนึ่งในตลาด แต่กำไรของไปรษณีย์ไทยก็ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ ปี 2561 ไปรษณีย์ไทยเคยมีรายได้มากถึง 29,728 ล้านบาท และกำไร 3,826 ล้านบาท นี่เท่ากับว่า กำไรของไปรษณีย์ไทยหายไป 90% ใน 2 ปี
ในขณะเดียวกัน การเข้ามารุกธุรกิจขนส่งพัสดุของเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
เช่น Lazada และ Shopee ก็ถือเป็นผู้เล่นที่น่ากลัวสำหรับรายอื่น
อย่างในกรณีของ Lazada Express ที่รายงานผลประกอบการปีล่าสุดแล้ว
เช่น Lazada และ Shopee ก็ถือเป็นผู้เล่นที่น่ากลัวสำหรับรายอื่น
อย่างในกรณีของ Lazada Express ที่รายงานผลประกอบการปีล่าสุดแล้ว
ปี 2562 รายได้ 4,685 ล้านบาท ขาดทุน 794 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 6,845 ล้านบาท ขาดทุน 1,676 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 6,845 ล้านบาท ขาดทุน 1,676 ล้านบาท
ในเมื่อตลาดแข่งขันกันดุเดือดขนาดนี้
ที่สำคัญคือ หลายบริษัทแสดงผลประกอบการที่ขาดทุน
แล้วทำไม Flash Express ถึงเป็นยูนิคอร์นได้ ?
ที่สำคัญคือ หลายบริษัทแสดงผลประกอบการที่ขาดทุน
แล้วทำไม Flash Express ถึงเป็นยูนิคอร์นได้ ?
เหตุผลที่ Flash Express ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ น่าจะมี 3 เหตุผลหลัก ที่ธุรกิจสตาร์ตอัปอื่นในไทยยังทำไม่ได้
1. ตลาดการขนส่งพัสดุเป็นตลาดที่ใหญ่พอที่จะสร้างรายได้ขนาดใหญ่หลักหมื่นล้านบาท และเป็นตลาดที่กำลังเติบโตสูงล้อไปกับเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่หอมหวาน
ยูนิคอร์นต้องการมูลค่า 3 หมื่นล้านบาท พอบริษัททำรายได้หลักหมื่นล้านบาท ดังนั้นขอแค่เพียงตลาดในประเทศไทยเพียงประเทศเดียวก็ทำให้สตาร์ตอัปที่เป็นผู้นำในตลาดนี้สามารถเป็นยูนิคอร์นได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาการขยายไปต่างประเทศ ซึ่งต่างจากสตาร์ตอัปที่อยู่ในธุรกิจอื่นที่อาจมีขนาดตลาดที่เล็กเกินไปในประเทศไทย
2. Flash Express มีผู้ก่อตั้งคือ คุณคมสันต์ ลี ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าสู้ ปั้นบริษัทใน 4 ปี จากรายได้ไม่เท่าไร กลายเป็นบริษัทที่มีรายได้หลักหมื่นล้านบาท ที่สำคัญคุณคมสันต์เป็นคนพรีเซนต์เก่ง ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนเชื่อและยอมให้เงินลงทุน
ถ้าให้บริษัทขนส่งพัสดุรายอื่น มาระดมทุน ก็อาจจะไม่ได้มูลค่าระดับนี้ เหตุผลง่าย ๆ ก็คือบริษัทนั้นไม่มีคุณคมสันต์ ลี ที่ไม่สามารถโน้มน้าวคนให้เงินทุนได้
3. ประเทศไทยมีบริษัทใหญ่ที่มีเงินทุนเหลือ และต้องการกระจายไปทำธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เช่นในคราวนี้ ก็จะมี OR, Krungsri Finnovate, SCB10X, Durbell ที่เป็นผู้ให้เงินลงทุน ซึ่งแต่ละบริษัท เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ผลิตกำไร หรือ กระแสเงินสด ได้ปีละเป็นหลักหมื่นล้านบาท
การให้เงินทุนเพื่อขยายธุรกิจใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่บริษัทใหญ่ถูกบังคับให้ทำ ในยุคสมัยที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะบริษัทใหญ่ต่างกลัวว่าสักวันหนึ่งตัวเขาเองจะถูกบริษัทหน้าใหม่มาดิสรัปต์
กลับไปที่คำถามของบทความนี้
Flash และ Kerry บริษัทไหนน่าลงทุนมากกว่ากัน ?
แต่ละคนก็คงมีคำตอบแตกต่างกัน เพราะมีไอเดียในการลงทุนแตกต่างกัน
บางคนชอบบริษัทโตเร็วแบบ Flash
บางคนชอบกำไรเน้น ๆ ในตอนนี้แบบ Kerry
Flash และ Kerry บริษัทไหนน่าลงทุนมากกว่ากัน ?
แต่ละคนก็คงมีคำตอบแตกต่างกัน เพราะมีไอเดียในการลงทุนแตกต่างกัน
บางคนชอบบริษัทโตเร็วแบบ Flash
บางคนชอบกำไรเน้น ๆ ในตอนนี้แบบ Kerry
แต่คำถามนี้ก็คงช่วยเปิดมุมมองให้กับเราว่าในบางครั้งเราก็คิดอะไรได้เยอะกับข่าวที่เกิดขึ้น
เพราะทุกอย่างในโลกของการลงทุน มันสามารถวัดมูลค่า และนำมาเปรียบเทียบกันได้เสมอ ว่าดีลไหนน่าสนใจมากกว่า ไม่เว้นแม้แต่ดีลของ Kerry ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และทำธุรกิจคล้ายกันกับ Flash ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์
แต่เรื่องนี้เมื่อเราได้เห็นตัวเลขการแข่งขัน
ทั้ง ไปรษณีย์ไทย, Kerry, Flash, Lazada, Shopee
ไม่ว่าใครจะมีรายได้เติบโตหรือถดถอยอย่างไร แต่กำไรของบริษัทเหล่านี้น่าจะถูกกดดันจากการแข่งขันที่ดุเดือดไปอีกสักระยะ
ทั้ง ไปรษณีย์ไทย, Kerry, Flash, Lazada, Shopee
ไม่ว่าใครจะมีรายได้เติบโตหรือถดถอยอย่างไร แต่กำไรของบริษัทเหล่านี้น่าจะถูกกดดันจากการแข่งขันที่ดุเดือดไปอีกสักระยะ
และดูเหมือนว่า ผู้ชนะที่แท้จริงในเกมนี้ น่าจะเป็นผู้บริโภคที่ใช้บริการนั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ไปรษณีย์ไทยใส่เหตุผลที่ รายได้ลดลง ไว้ในรายงานประจำปี 2563 ว่า
“แม้ว่าอีคอมเมิร์ซจะยังคงเติบโตได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในช่วงโรคระบาด
แต่เนื่องจากมีผู้ประกอบการส่งพัสดุรายใหม่เปิดบริการหลายรายใช้สงครามราคาที่รุนแรง
ประชาชนจึงมีทางเลือกใช้บริการที่หลากหลาย ซึ่งส่งผลต่อการเลือกใช้ไปรษณีย์ไทย
โดยเฉพาะผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องของอัตราค่าบริการเป็นหลัก”
แต่เนื่องจากมีผู้ประกอบการส่งพัสดุรายใหม่เปิดบริการหลายรายใช้สงครามราคาที่รุนแรง
ประชาชนจึงมีทางเลือกใช้บริการที่หลากหลาย ซึ่งส่งผลต่อการเลือกใช้ไปรษณีย์ไทย
โดยเฉพาะผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องของอัตราค่าบริการเป็นหลัก”