“ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb” การรวมกิจการ ที่กำลังเกี่ยวข้องกับคนทั้งประเทศ
“ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb” การรวมกิจการ ที่กำลังเกี่ยวข้องกับคนทั้งประเทศ
ttb X ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ข่าวใหญ่ในแวดวงสถาบันการเงิน
คือการประกาศรวมกิจการของ ทีเอ็มบี และ ธนชาต
จาก 2 ธนาคารมาเป็นธนาคารเดียวกัน
เป็นเหตุการณ์ที่คนทั้งประเทศเฝ้าจับตามองว่าสุดท้ายแล้วการรวมกิจการครั้งนี้
รูปแบบการบริหารธุรกิจของธนาคาร จะเป็นอย่างไร
ล่าสุดข้อสงสัยเหล่านี้ ได้สิ้นสุดลง เมื่อทีมผู้บริหารออกมาเปิดเผยนโยบาย
หลังการรวมทีมของสองธนาคารได้เสร็จสมบูรณ์ 100%
พร้อมประกาศใช้ชื่อหลังรวมกิจการว่า “ทีเอ็มบีธนชาต” หรือชื่อย่อว่า ttb
t ตัวแรกย่อมาจาก TMB
t ตัวที่สองย่อมาจาก Thanachart
b ย่อมาจาก Bank หรือ ธนาคาร
ttb X ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ข่าวใหญ่ในแวดวงสถาบันการเงิน
คือการประกาศรวมกิจการของ ทีเอ็มบี และ ธนชาต
จาก 2 ธนาคารมาเป็นธนาคารเดียวกัน
เป็นเหตุการณ์ที่คนทั้งประเทศเฝ้าจับตามองว่าสุดท้ายแล้วการรวมกิจการครั้งนี้
รูปแบบการบริหารธุรกิจของธนาคาร จะเป็นอย่างไร
ล่าสุดข้อสงสัยเหล่านี้ ได้สิ้นสุดลง เมื่อทีมผู้บริหารออกมาเปิดเผยนโยบาย
หลังการรวมทีมของสองธนาคารได้เสร็จสมบูรณ์ 100%
พร้อมประกาศใช้ชื่อหลังรวมกิจการว่า “ทีเอ็มบีธนชาต” หรือชื่อย่อว่า ttb
t ตัวแรกย่อมาจาก TMB
t ตัวที่สองย่อมาจาก Thanachart
b ย่อมาจาก Bank หรือ ธนาคาร
โดยไอเดียมาจากอักษรตัว t สองตัวแทนตัวย่อของ 2 ธนาคารคือ ทีเอ็มบี และ ธนชาต
ส่วนอักษร b ตัวเดียวคือ การรวมกันเป็นหนึ่งธนาคาร นั่นเอง
คำถามก็คือต่อจากนี้ไป “ทีเอ็มบีธนชาต” หรือ ttb จะมีกลยุทธ์การบริหารอย่างไร
แล้วจะเปลี่ยนแปลงชีวิตทางการเงินของลูกค้าตัวเอง ด้วยวิธีไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า การรวมของ 2 ธนาคารพร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็น ttb
ได้ทำให้โครงสร้างธนาคารแห่งนี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทยเลยทีเดียว
โดยมีสินทรัพย์รวมกว่า 2 ล้านล้านบาท มีลูกค้าราว 10 ล้านราย
และมีพนักงานรวมมากกว่า 15,000 คน
ที่น่าสนใจก็คือพนักงานทั้งหมดจะขับเคลื่อนด้วยนโยบายบริหารเดียว
ONE DREAM, ONE TEAM, ONE GOAL หรือ 1 ความฝัน 1 ทีมขนาดใหญ่ เพื่อไปถึง 1 เป้าหมาย
คำถามก็คือแล้วเป้าหมายที่ “ทีเอ็มบีธนชาต” จะขับเคลื่อนให้เกิดเป็นภาพความจริงขึ้นมาคืออะไร
คำตอบก็คือ “การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีทั้งในวันนี้ และในอนาคต เพื่อคนไทย”
หลายคนคงสงสัยต่อว่า แล้วนิยามของคำว่า “สร้างชีวิตการเงินที่ดี” คืออะไร
…
..
ช่วงการระบาดของโควิด 19 ทางธนาคารแห่งนี้มีนโยบายช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้ารายย่อย
SMEs รวมถึงลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ โดยที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือไปแล้วกว่า 750,000 ราย
ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนปรนชำระหนี้ จนถึงการมอบดอกเบี้ยสินเชื่อในอัตราพิเศษ
ซึ่งทาง ttb ก็เชื่อว่าหากลูกค้าทุกกลุ่ม สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้
นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งแล้วนั้น ยังจะสามารถเติบโตไปอย่างยั่งยืนพร้อม ๆ กับธนาคารได้
ส่วนเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ก็คือการบริการลูกค้ารายย่อยกว่า 10 ล้านราย
ทำให้โจทย์ที่ธนาคารต้องคิดคือ ในชีวิตการเงินของคนหนึ่งคน เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
โดยแบ่งเป็น 4 เรื่องหลัก ๆ
1. ฉลาดออม ฉลาดใช้ : ผ่านผลิตภัณฑ์การออมทรัพย์ที่หลากหลาย
ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นจุดแข็งของทีเอ็มบีที่มีผลิตภัณฑ์การออมเงิน
ที่สร้างชื่อตอบโจทย์ลูกค้าด้วยความคุ้มค่า เช่น บัญชี ALL FREE และบัญชี NO FIXED
ซึ่งเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่กำลังก่อร่างสร้างตัว เพื่อล้านแรกในชีวิต
2. รอบรู้เรื่องกู้ยืม : ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อหลากหลายทั้งสินเชื่อบ้าน โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์
ที่ธนชาต คือเบอร์หนึ่งในธุรกิจนี้มายาวนาน พร้อมกับมีพนักงานให้คำปรึกษา
เพื่อให้การกู้ยืมเกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่เริ่มต้นสร้างครอบครัว
3. ลงทุนเพื่ออนาคต : ผ่านผลิตภัณฑ์การเงินหลากหลายที่ตอบโจทย์การลงทุนครบวงจร
โดยจะมีทีมที่ปรึกษาระดับมืออาชีพคอยแนะนำ จับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการชีวิตมั่นคงหลังเกษียณ
4. ความคุ้มครองที่อุ่นใจ : ผ่านผลิตภัณฑ์หลากหลายทั้งประกันชีวิต, สุขภาพ, การวางแผนมรดก
เหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่เข้าสู่วัยเกษียณ
จะเห็นว่า “การรวมกิจการ” จาก 2 ธนาคารรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
คือการนำจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาผสานกันอย่างลงตัว
และในอนาคตต่อจากนี้ สิ่งที่น่าจะได้เห็นก็คือผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ ๆ ที่มอบข้อเสนอดี ๆ
เพื่อมาตอบโจทย์ชีวิตการเงินของคนในประเทศ
แล้วก็น่าจะทำให้ ttb มีจำนวนลูกค้าเติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่า 10 ล้านราย
ในเวลาอันรวดเร็ว
ต้องบอกว่าเป็นหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับเราทุกคน
คนที่เป็นลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคารนี้อยู่แล้ว ก็จะได้รับบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
ที่พัฒนาดีขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่มากขึ้นกว่าเดิม
ส่วนคนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของ ttb ก็จะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เลือกที่ดีขึ้นกว่าเดิม
เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับธนาคารอื่น ๆ
สุดท้ายแล้ว แม้โลกการเงินจากอดีตจนถึงวันนี้จะเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน
นับตั้งแต่ยุคธนาคารแอนะล็อกที่ “ทุกอย่าง” อยู่ที่สาขา
มาสู่ยุคดิจิทัลที่เกือบจะ “ทุกอย่าง” มาอยู่บนมือถือของเรา
แต่คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปไหนเลย นั่นก็คือ “ผู้บริโภค” นั่นเอง..
#ทีเอ็มบีและธนชาตเปลี่ยนเป็นทีทีบี #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #TMBThanachart #ttb #MakeREALChange