
ตำนาน ดอยคำ
ตำนาน ดอยคำ / โดย ลงทุนแมน
น้ำผลไม้ “ดอยคำ” ทุกคนเคยเห็น
รู้ไหมว่าปีที่แล้วมียอดขาย 1,700 ล้านบาท
สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ
แต่ถ้าเรารู้เรื่องราวของน้ำผลไม้แบรนด์นี้
อาจจะทำให้เราสะดุด เมื่อดื่มน้ำผลไม้ดอยคำครั้งต่อไป..
น้ำผลไม้ “ดอยคำ” ทุกคนเคยเห็น
รู้ไหมว่าปีที่แล้วมียอดขาย 1,700 ล้านบาท
สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ
แต่ถ้าเรารู้เรื่องราวของน้ำผลไม้แบรนด์นี้
อาจจะทำให้เราสะดุด เมื่อดื่มน้ำผลไม้ดอยคำครั้งต่อไป..
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2512 ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงได้ใช้เวลาในช่วงฤดูหนาว เสด็จไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ที่บ้านดอยปุย บริเวณพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เพื่อทอดพระเนตรดูชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาและชาวดอย
พระองค์ทรงพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ของพระองค์มักจะประกอบอาชีพทำนา ปลูกข้าว ทำไร่เลื่อนลอย พร้อมกับปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมากในขณะนั้น
ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้มีพระราชดำริจัดตั้ง “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” เพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นที่สะสมมาอย่างยาวนาน
แต่การแก้ปัญหาให้ชาวบ้านเลิกปลูกฝิ่นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะเดิมที ชาวบ้านแค่ปลูกฝิ่นแล้วนำไปขาย 500-600 มู หรือประมาณ 7-8 ขีด ก็ได้เงินเป็นหมื่นแล้ว
พระองค์จึงได้มีพระราชดำรัสเอาไว้ว่า “ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น ก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า และมีความเหมาะสมจะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทน” พร้อมทั้งยังพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาทให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำไปทำการวิจัยต่อยอดต่อไป
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของโครงการหลวง “ดอยคำ” ที่สามารถแก้ปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย ลดพื้นที่การปลูกฝิ่น ชุบชีวิตใหม่ให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นในเวลาต่อมา
บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 2537 หรือประมาณ 23 ปีที่แล้ว ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 340 ล้านบาทในปัจจุบัน โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 97.06% และ มูลนิธิโครงการหลวง 2.94%
ลักษณะการทำธุรกิจของดอยคำนั้นจะเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ได้หวังผลกำไรเป็นสำคัญ (Social Business) โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือเกษตกรท้องถิ่น โดยการนำสินค้าเกษตร เช่น สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิล ฝรั่ง มะเขือเทศ มาแปรรูปเป็น น้ำผลไม้ แยม และ ผลไม้อบแห้ง ตามโรงงานทั้ง 4 แห่ง คือ
1. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่
2. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 (แม่จัน) จังหวัดเชียงราย
3. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร
4. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 4 (ละหานทราย) จังหวัดบุรีรัมย์
2. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 (แม่จัน) จังหวัดเชียงราย
3. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร
4. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 4 (ละหานทราย) จังหวัดบุรีรัมย์
โดยสินค้าเกษตรที่ดอยคำรับซื้อจะอยู่ในช่วงราคาที่ชาวบ้านสามารถเลี้ยงครอบครัว อยู่ได้อย่างมีความสุข โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญว่า บริษัทต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ขาดทุนด้วย ดังนั้น สินค้าที่ดอยคำขายอาจจะมีราคาสูงกว่าตามท้องตลาดทั่วไป
ปัจจุบันดอยคำมีส่วนแบ่งในตลาดน้ำผลไม้สูงถึง 22% เป็นเบอร์สองของตลาด เป็นรองเพียงน้ำผลไม้ทิปโก้ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 28%
ก่อนหน้านี้ดอยคำมียอดขายไม่มาก แต่ที่ผ่านมามีรายได้เติบโตสูงกว่าแบรนด์อื่นๆในทุกปี จนในที่สุดได้แซงน้ำผลไม้มาลีขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ได้ในปีที่ผ่านมา
ปี 2557 มีรายได้ 1,120.5 ล้านบาท กำไร 108.6 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้ 1,416.6 ล้านบาท กำไร 201.2 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 1,701.1 ล้านบาท กำไร 145.5 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้ 1,416.6 ล้านบาท กำไร 201.2 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 1,701.1 ล้านบาท กำไร 145.5 ล้านบาท
จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า โครงการหลวงดอยคำ คือหนึ่งในตัวอย่างของโครงการจากความรักนับไม่ถ้วน ที่ในหลวงทรงมอบให้กับพสกนิกรชาวไทย จากไร่ฝิ่นและภูเขาหัวโล้นที่แห้งแล้งก็กลับมาเขียวขจีและงดงามอีกครั้ง
ถึงแม้ว่า วันนี้พระองค์จะทรงไม่ได้อยู่กับเราแล้ว แต่ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์กว่า 4,000 โครงการของการทรงงานตลอดระยะเวลา 70 ปี นั้นก็ได้ออกดอกออกผล เติบโตอยู่กับเรามาจนถึงทุกวันนี้..
--------------------------------
"เรื่องที่เราจะช่วยชาวเขาเเละโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขา
เพื่อส่งเสริมเเละสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สามารถเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์เเละรายได้ให้กับเขาเอง
จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ ′มนุษยธรรม′
หมายถึงให้ผู้อยู่ถิ่นทุรกันดารสามารถมีความรู้เเละพยุงตัว มีความเจริญได้อีกอย่างหนึ่ง
เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ คือ ปัญหายาเสพติด
ถ้าช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติดคือฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการปลูกฝิ่นเเละค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้เป็นผลอย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งคือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ทำการเพาะปลูกโดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราสู่หายนะได้
ที่ถางป่าเเละปลูกโดยไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีคนดี อยู่ดีกินดี เเละปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ
ถ้าสามารถทำโครงการนี้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเเหล่ง เเละสนับสนุนนโยบายจะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็นประโยชน์ ต่อไปจะยั่งยืนมาก"
พระราชดำรัสพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2512 ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
--------------------------------
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่เปรียบมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เขียนบทความเพจลงทุนแมน
พสกนิกรที่เกิดในรัชกาลที่ 9
27 ตุลาคม 2560
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เขียนบทความเพจลงทุนแมน
พสกนิกรที่เกิดในรัชกาลที่ 9
27 ตุลาคม 2560