อัปเดตธุรกิจเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ หลังยุคโควิด 19
อัปเดตธุรกิจเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ หลังยุคโควิด 19
SMD x ลงทุนแมน
SMD x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกและนำเข้าเครื่องมือแพทย์รวมกันสูงสุดอันดับหนึ่งในอาเซียน
ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของบ้านเราที่มีชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับระดับโลก
ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของบ้านเราที่มีชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับระดับโลก
จนเป็นที่มาของการที่รัฐมีแนวคิดผลักดันให้อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub Industry) เป็น 1 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0
ประกอบกับวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า โควิด 19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้ผู้คนต่างหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นอย่างชัดเจน
โดยมีคาดการณ์ว่าปี 2564 - 2565 มูลค่าการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย
จะเติบโตเฉลี่ยปีละกว่า 6.5% ตามจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น
แม้สภาวะเศรษฐกิจจะไม่เอื้ออำนวย
จะเติบโตเฉลี่ยปีละกว่า 6.5% ตามจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น
แม้สภาวะเศรษฐกิจจะไม่เอื้ออำนวย
สิ่งเหล่านี้กลายเป็นโอกาสของธุรกิจเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย
ที่จะเติบโตไปกับเทรนด์การดูแลสุขภาพ รวมถึงอัตราการเข้าใช้บริการในสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีความต้องการเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยและใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้น
ที่จะเติบโตไปกับเทรนด์การดูแลสุขภาพ รวมถึงอัตราการเข้าใช้บริการในสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีความต้องการเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยและใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้น
เร็ว ๆ นี้ กำลังจะมีธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) คือ บมจ.เซนต์เมด (SAINTMED)
เซนต์เมดเป็นบริษัทนำเข้า จำหน่าย และบริการเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
ที่ดำเนินงานมากว่า 20 ปี โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากผู้ผลิตชั้นนำของโลกกว่า 30 ราย
ที่ดำเนินงานมากว่า 20 ปี โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากผู้ผลิตชั้นนำของโลกกว่า 30 ราย
ปัจจุบันสินค้าที่เซนต์เมดจำหน่ายแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มคือ
1. กลุ่มสินค้าด้านเวชบำบัดวิกฤต เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยในหอฉุกเฉิน
2. กลุ่มสินค้าด้านการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ
3. กลุ่มสินค้าด้านหทัยวิทยา ใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติการทำงานของหัวใจ
4. กลุ่มเครื่องมือแพทย์ทั่วไป เช่น โคมไฟผ่าตัด เตียงผ่าตัด
5. กลุ่มสินค้าสมาร์ทฮอสพิทอล ใช้อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
6. กลุ่มอุปกรณ์ประกอบการใช้งาน เป็นอุปกรณ์ประกอบของ 5 กลุ่มสินค้าข้างต้น อย่างเช่น แบตเตอรี่ และเจล
1. กลุ่มสินค้าด้านเวชบำบัดวิกฤต เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยในหอฉุกเฉิน
2. กลุ่มสินค้าด้านการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ
3. กลุ่มสินค้าด้านหทัยวิทยา ใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติการทำงานของหัวใจ
4. กลุ่มเครื่องมือแพทย์ทั่วไป เช่น โคมไฟผ่าตัด เตียงผ่าตัด
5. กลุ่มสินค้าสมาร์ทฮอสพิทอล ใช้อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
6. กลุ่มอุปกรณ์ประกอบการใช้งาน เป็นอุปกรณ์ประกอบของ 5 กลุ่มสินค้าข้างต้น อย่างเช่น แบตเตอรี่ และเจล
โดยรายได้ส่วนใหญ่ของเซนต์เมด 40.19% มาจากกลุ่มสินค้าด้านเวชบำบัดวิกฤต
ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้สำหรับดูแล รักษา และวินิจฉัยผู้ป่วยอาการหนักหรือเข้าขั้นวิกฤต
เช่น เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ และเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้สำหรับดูแล รักษา และวินิจฉัยผู้ป่วยอาการหนักหรือเข้าขั้นวิกฤต
เช่น เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ และเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อผู้สูงอายุมากขึ้นและเข้าสู่สังคมผู้อายุอย่างเต็มตัว
ภาวะการเจ็บป่วยก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ภาวะการเจ็บป่วยก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เช่น โรคยอดฮิตอย่างความดันโลหิตสูง ตามมาด้วยโรคเบาหวาน หัวใจ หลอดเลือดในสมองตีบ และมะเร็ง ส่งผลให้ความต้องการอุปกรณ์การตรวจวินิจฉัยโรคที่เป็นเครื่องมือแพทย์
ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขยายตัวต่อเนื่อง
ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขยายตัวต่อเนื่อง
แล้วผลประกอบการของเซนต์เมดในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้จากการขายและบริการ 506.03 ล้านบาท กำไรสุทธิ 30.52 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้จากการขายและบริการ 618.63 ล้านบาท กำไรสุทธิ 60.44 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้จากการขายและบริการ 660.94 ล้านบาท กำไรสุทธิ 77.75 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้จากการขายและบริการ 506.03 ล้านบาท กำไรสุทธิ 30.52 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้จากการขายและบริการ 618.63 ล้านบาท กำไรสุทธิ 60.44 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้จากการขายและบริการ 660.94 ล้านบาท กำไรสุทธิ 77.75 ล้านบาท
โดยในปี 2562 เซนต์เมดมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า
จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ในกลุ่มสินค้าด้านการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ (Respiration)
จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ในกลุ่มสินค้าด้านการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ (Respiration)
ซึ่งเป็นผลจากเทรนด์การดูแลสุขภาพ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของศูนย์ตรวจการนอนหลับในประเทศไทยโดยเฉพาะในโรงเรียนแพทย์ ทำให้มีการเพิ่มจำนวนเตียงตรวจการนอนหลับ
และมีการสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
และมีการสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
ส่วนในปี 2563 การเพิ่มขึ้นของรายได้มีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าเปลี่ยนไป
โดยสินค้าที่เกี่ยวกับการรักษาและป้องกันโควิด 19 อย่างสินค้ากลุ่มการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ เช่น เครื่องฟอกและฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และสินค้ากลุ่มเครื่องมือแพทย์ทั่วไป เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก มียอดขายเพิ่มขึ้น ซึ่งมาจากลูกค้าในกลุ่มภาครัฐบาลเป็นหลัก
และเพื่อให้บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เซนต์เมดได้มีโปรเจ็กต์พัฒนาธุรกิจสินค้าเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือซีแพพ (CPAP)
ที่ใช้รักษาโรคนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
เซนต์เมดได้มีโปรเจ็กต์พัฒนาธุรกิจสินค้าเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือซีแพพ (CPAP)
ที่ใช้รักษาโรคนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
โดยจะเป็นรูปแบบการเข้าไปร่วมทุนกับโรงพยาบาลรัฐ จัดตั้งศูนย์ตรวจการนอนหลับ จำหน่าย และให้คำแนะนำปรึกษาการใช้งานเครื่อง CPAP
และมีแนวคิดในการขยายรูปแบบการให้บริการ เช่น การให้บริการเช่าใช้เครื่องมือแพทย์ในระยะยาว เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจจากการให้เช่าเครื่องมือแพทย์ และช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม
เรียกได้ว่าจากเดิมที่รายได้เกือบทั้งหมดของเซนต์เมดมาจากการขาย
ต่อไปบริษัทฯ ก็จะมีรายได้จากส่วนอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา
เป็นการลดการพึ่งพิงธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง และทำให้บริษัทฯ มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีขึ้นด้วย
ต่อไปบริษัทฯ ก็จะมีรายได้จากส่วนอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา
เป็นการลดการพึ่งพิงธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง และทำให้บริษัทฯ มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีขึ้นด้วย
จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ จะเห็นว่าธุรกิจเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ยังมีศักยภาพเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
รวมทั้งเป็นเส้นทางที่สดใสของบริษัทอย่างเซนต์เมดที่จะเติบโตไปพร้อมกับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุและศูนย์กลางสุขภาพระดับนานาชาติของประเทศไทยในอนาคต
คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
References
- ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ บมจ.เซนต์เมด ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th
- https://www.krungsri.com/getmedia/19a0635c-12f9-4710-a68b-73f2924814c5/IO_Medical_Devices_200831_TH_EX.pdf.aspx
- https://www.medicalfair-thailand.com/pdf/Medical-Hub-by-TCEB.pdf
- https://www.scurvehub.com/article/detail/111
- ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ บมจ.เซนต์เมด ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th
- https://www.krungsri.com/getmedia/19a0635c-12f9-4710-a68b-73f2924814c5/IO_Medical_Devices_200831_TH_EX.pdf.aspx
- https://www.medicalfair-thailand.com/pdf/Medical-Hub-by-TCEB.pdf
- https://www.scurvehub.com/article/detail/111