ในยุคนี้เราต้องทิ้งสิ่งที่รู้ และค้นหาว่าควรรู้อะไร

ในยุคนี้เราต้องทิ้งสิ่งที่รู้ และค้นหาว่าควรรู้อะไร

ในยุคนี้เราต้องทิ้งสิ่งที่รู้ และค้นหาว่าควรรู้อะไร /โดย ลงทุนแมน
ในชีวิตของหลายคน คิดว่าการเรียนรู้จบแค่ในห้องเรียน
แต่จริงๆ แล้วในโลกยุคนี้ สิ่งที่ต้องทำกลับตรงกันข้าม
เพราะเธอคนนี้แนะนำว่า
เราควรจะทิ้งสิ่งที่เรารู้มาทั้งหมด และเริ่มต้นคิดใหม่ ว่าเราควรรู้อะไรบ้าง
เธอคนนี้เป็นใคร ทำไมถึงแนะนำแบบนี้
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คำว่า “Unlearn” หรือการทิ้งสิ่งที่เรารู้ เป็นเรื่องที่คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC กล่าวอย่างมั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำในยุคนี้ โดยเฉพาะในยุคหลังโควิด-19 ที่ทุกอย่างกำลังจะถูกเร่งให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนเราถูกบังคับให้ต้องรู้ ไม่เช่นนั้น เราจะเอาตัวไม่รอด..
ลงทุนแมนได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอริญญา ในประเด็นเรื่องทักษะที่เราต้องเรียนรู้ในอนาคตว่าควรเป็นอย่างไร
คุณอริญญา เป็นผู้บุกเบิกในการสร้างหลักสูตรอบรมในประเทศมามากมายตั้งแต่ 28 ปีที่แล้ว ภายใต้ชื่อ APMGroup ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำในด้านนี้ตลอดมา
และเมื่อ 3 ปีที่แล้ว คุณอริญญาได้ตระหนักถึงกระแส Disruption ของเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคุณอริญญาคิดว่ารูปแบบการเรียนแบบอบรมอย่างเดียวคงไม่เพียงพอสำหรับในยุคปัจจุบัน จึงตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบองค์กรเป็น SEAC ที่มีแนวคิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต
เรื่องนี้น่าสนใจ ถ้าเราคิดว่าการเรียนรู้ในยุคนี้จะต้องมาเรียนในห้อง เห็นหน้าพบปะกับครู เราอาจจะคิดผิด
เรื่องนี้พิสูจน์ได้จาก การที่ SEAC ออกแบบให้มีระบบการเรียนการสอนในแบบ Virtual ตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์โควิด-19 ซึ่งพอเกิดเรื่องขึ้นมาก็ทำให้ที่นี่มีระบบพร้อมที่จะรองรับสถานการณ์ได้ทันที
ซึ่งข้อดีของการเรียนออนไลน์เป็นอย่างที่ทุกคนรู้กันก็คือ เราจะดูกี่รอบก็ได้ ย้อนกลับไปดูช่วงที่เราไม่เข้าใจได้ เพราะบางวิชาที่สอนใน SEAC จะมีวิทยากรชาวต่างชาติ ซึ่งในบางครั้งเราจะฟังไม่ทันบางคำพูด นอกจากนั้นก็ยังมี Subtitle แปลให้อีกด้วยสำหรับคนที่ไม่ถนัดภาษา และยิ่งไปกว่านั้นถ้ายังไม่เข้าใจอีกก็มีคนมาย่อยมา unpack และสรุปให้ฟังเป็นภาษาง่ายๆ พร้อมนำไปปฏิบัติใช้ได้ทันทีอีกครั้งด้วย
นอกจากนั้น พอเราเรียนจบแล้ว การได้ถกเถียงตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตจริงก็สำคัญ ซึ่งแพลตฟอร์มการเรียนรู้ในยุคนี้ควรมีช่องทางที่รองรับการพูดคุยกันเองระหว่างผู้เรียนหลังจากเรียนจบ ซึ่ง SEAC เรียกเรื่องนี้ว่า Social Learning เป็นการเรียนรู้จากกันและกัน ระหว่างสมาชิกที่จะได้มาแลกเปลี่ยน และแบ่งปัน
ข้อดีของ Social Learning ของ SEAC คือการที่มีคนหลากหลายความเชี่ยวชาญ ต่างอาชีพ ต่างวัยมารวมกลุ่ม ช่วยให้เราได้เปิดมุมมอง เรียนรู้จากกันและกันได้
นอกจากนั้นความหลากหลายของวิชาที่เรียนก็สำคัญ
การเรียนสมัยนี้ต้องตอบโจทย์ทั้งทักษะเบื้องต้น เช่นวิธีการนำเสนอในที่ประชุม ที่เรียนชั่วโมงเดียวจบ ไปจนถึงคอร์ส การตลาดระดับสูง 50 ชั่วโมงที่เรียนจบแล้วได้ Certificate
โดยทั้งหมดนี้น่าสนใจว่าคุณอริญญาคิดค่าบริการเป็นโมเดลแบบในต่างประเทศที่เป็น Subscription เรียนเท่าไรก็ได้ไม่จำกัด ไม่ใช่คิดค่าเรียนเป็นคอร์สเหมือนการอบรมทั่วไป
และถ้าถามว่าคอร์สเรียนประเภทไหนได้รับความนิยมสุดในช่วง โควิด-19
คำตอบก็คือ วิชาที่สามารถทำให้ผู้เรียนเอาตัวรอดได้ในช่วงนี้ (Just in Time)
จากที่เมื่อก่อนกว่าจะเรียนจบทั้งวิชาต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์
มาวันนี้สถานการณ์ถูกบังคับให้เราต้องเรียนรู้
และเมื่อมีเครื่องมือที่พร้อม เราก็สามารถเรียนจบได้ในคืนเดียว และนำความรู้ไปใช้ได้ทันทีในวันรุ่งขึ้น
ตัวอย่างของวิชาที่เป็นที่นิยมที่สามารถใช้ได้ทันทีในช่วงนี้ก็คือ
-การตลาดดิจิทัล Digital Marketing
-การเล่าเรื่อง Story Telling
หรือเป็นเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น วิธีการประชุมแบบกระชับ หรือวิธีการขายในยุคดิจิทัล
นอกจากนี้อีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับความนิยมก็คือ
การเรียนรู้เพื่อจุดประสงค์เฉพาะของแต่ละบุคคล (Purpose Driven) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความต้องการที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น ช่วงนี้อาจมีหลายอาชีพที่มีเวลาว่างมากขึ้น
ผู้คนเหล่านี้ก็จะเลือกที่จะเรียนรู้ในทักษะที่ตัวเองสนใจ หรือตามจุดประสงค์ เป้าหมายที่อยากไป
เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์เลือกที่จะเรียนรู้วิชาการบริหารเพิ่มเติม
หรือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเลือกที่จะเรียนรู้วิชาการตลาดเพิ่มเติม
เรื่องเหล่านี้ทำให้คิดได้ว่า
วิกฤติโควิด-19 อาจกลายเป็นเรื่องดี เพราะว่าเป็นตัวเร่งให้เรากล้าที่จะเอาตัวรอด กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ซึ่งถ้าไม่มีวิกฤตินี้ เราอาจจะไม่ขยับตัวที่จะเรียนรู้อะไรเลยก็เป็นได้
แต่คำถามที่สำคัญก็คือ
ทักษะอะไรที่สำคัญสุดในระยะยาว
คุณอริญญากลับไม่ได้กล่าวถึงทักษะเฉพาะทาง แต่กลับบอกว่า Mindset ของเรามีความสำคัญที่สุด เพราะ Mindset คือพื้นฐานของ การกระทำทุกอย่างของเรา ถ้าเราปรับ Mindset ให้ถูกได้ พฤติกรรมของเราก็จะเปลี่ยนตามไปเอง
โดยพื้นฐานของ Mindset ที่จะทำให้เราก้าวทันคนอื่นได้ในยุคนี้มีอยู่ 4 อย่างก็คือ
1. Mindset ว่าเราจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
เมื่อเรามีแนวคิดนี้ เราก็จะพยายามหาทางที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา
2. Mindset ที่จะกล้าออกจาก comfort zone ของตัวเอง
เพราะบ่อยครั้งไม่ใช่ว่าเราไม่รู้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งก็คือ เรารู้แล้วแต่เราไม่ทำ
3. Mindset ที่เริ่มจากคิดว่าคนอื่นต้องการอะไรจากตัวเรา
ซึ่งหลายคนกลับเริ่มจาก ความต้องการของตนเองว่าต้องการอะไรจากคนอื่น
4. Mindset การทำงานร่วมกับคนอื่น และพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
เพราะในยุคสมัยนี้ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วิธีการทำงานของเราจึงสำคัญมาก
ถ้าเรามี Mindset เหล่านี้ครบจะทำให้เราสามารถแข่งขันกับคนอื่นได้อย่างไม่เป็นรองใคร
ดูเหมือนว่าโลกในยุคนี้จะต้องการ การศึกษาที่อยู่นอกห้องเรียน
แต่ถ้าถามว่าโลกนี้ยังต้องการการศึกษาในระบบอยู่ไหม?
คุณอริญญาตอบได้น่าสนใจว่า ตราบใดที่คนในองค์กรหรือบริษัทต่างๆ เลือกรับพนักงานจากการดูใบปริญญา การศึกษาในระบบ ก็ยังคงมีความสำคัญเช่นกัน
เพียงแต่สิ่งที่จะสำคัญมากขึ้นในปัจจุบันคือเรื่องของ “ทักษะชีวิต” เราต้องเติมการเรียนการสอนเรื่อง “การใช้ชีวิต” เข้าไปในหลักสูตรในระบบการศึกษาปัจจุบันมากขึ้น เพราะเธอคิดว่าการใช้ชีวิตจะเป็นสิ่งสำคัญมากต่อเด็กที่จะเติบโตขึ้นมาในอนาคต
และในอนาคต AI หรือหุ่นยนต์จะมาแทนการทำงานของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งคุณอริญญายอมรับว่า โลกในอนาคต หุ่นยนต์จะฉลาดและเข้ามาแทนที่มนุษย์ในหลายเรื่อง
แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะมีงานเกิดขึ้นใหม่ๆ สำหรับมนุษย์มากขึ้นเช่นกัน
เพียงแต่เราต้องค้นหาว่าเราควรเรียนรู้อะไร และเราต้องรู้จัก “การทิ้ง” ในสิ่งที่เรารู้ไปบ้าง
เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ในทักษะที่เราไม่คุ้นชิน
และถ้าถามว่าทักษะอะไรที่ หุ่นยนต์ จะทำสู้มนุษย์ไม่ได้
คุณอริญญาตอบว่า หุ่นยนต์จะไม่มี “Empathy” หรือ การเข้าอกเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่งอย่างลึกซึ้งว่ากำลังรู้สึกอย่างไร..
----------------
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ลงทุนแมนหวังว่าทุกคนน่าจะนำข้อคิดเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตของแต่ละคนได้
ถ้าผู้อ่านสนใจการเริ่มต้นปรับวิธีคิด เพิ่มเติมทักษะ และสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ YourNextU โมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสานจาก SEAC แพ็กเกจพิเศษตอนนี้เริ่มต้นเพียง 1,700 บาท ดูรายละเอียดที่ www.yournextu.com
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon