ระเบิดปรมาณู กองทุนดัชนี

ระเบิดปรมาณู กองทุนดัชนี

ระเบิดปรมาณู กองทุนดัชนี /โดย ลงทุนแมน
หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ตลาดทุนหลายแห่งทั่วโลก
ก็ฟื้นตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่สิ่งที่ได้รับความนิยมควบคู่กับการฟื้นตัวของตลาดทุนก็คือ กองทุนดัชนี..
กองทุนดัชนี (Index Funds) เป็นกองทุนในลักษณะเชิงรับ (Passive Fund) ที่เมื่อผู้ซื้อกองทุน ผู้จัดการกองทุนก็จะเข้าไปซื้อหุ้นที่อยู่ในดัชนีนั้น
โดยปกติแล้ว กองทุนดัชนี จะมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ากองทุนประเภทอื่น เพราะผู้จัดการกองทุนไม่ต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหาร
กองทุนดัชนีจึงกลายมาเป็นเครื่องมือการลงทุนยอดนิยม สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับผลตอบแทนระดับเดียวกันกับตลาด
ปี 2009 ดัชนีดาวโจนส์ 7,955 จุด
ปี 2020 ดัชนีดาวโจนส์ 28,508 จุด
จะเห็นได้ว่าตลอด 11 ปี ไม่ว่าเราจะลงทุนกองทุนดัชนีประเทศสหรัฐอเมริกาตอนไหน
เราก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม กองทุนอิงดัชนีก็ได้สร้างความเสี่ยง
ประเภทหนึ่งที่เราอาจคาดไม่ถึงขึ้นมา
แล้วความเสี่ยงนั้นคืออะไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ความเสี่ยงของกองทุนดัชนีนั่นก็คือ “สภาพคล่อง”
กองทุนดัชนี คือ กองทุนที่มัดรวมหลายๆธุรกิจรวมกันไว้
ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ เช่น กองทุนดัชนีประเทศไทยส่วนใหญ่
ก็จะประกอบไปด้วยเงินลงทุนในหุ้น เช่น PTT, AOT และ CPALL
ในสภาวะปกติ เราจะไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้มากเท่าไหร่
แต่เรื่องนี้กลับแสดงออกมาชัดเจนที่สุด
ตอนตลาดหุ้นมีความเคลื่อนไหวรุนแรง
ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนสุดนั่นก็คือ ตอนนี้..
สถานการณ์โรคระบาด
สงครามราคาน้ำมัน
สหรัฐฯ แบนไม่ให้เดินทางไปยุโรป
ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้น ถูกแรงเทขายกระหน่ำทั่วโลก
นั่นก็รวมไปถึงผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนดัชนีที่ต่างพร้อมใจกันเทหน่วยลงทุนทิ้งพร้อมกัน
และเมื่อคนที่ถือกองทุนดัชนี ส่วนใหญ่จะถือหุ้นคล้ายๆกัน
นั่นก็เหมือนว่ามีแต่คนอยากออก ทั้งที่ทางออกมีประตูเล็กๆอยู่บานเดียว
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การแย่งขายทุกราคา..
ทีนี้ เราลองมาดูตัวอย่างเหตุการณ์ที่กองทุนดัชนีถูกเทขายที่ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ปี 2018 ดอนัลด์ ทรัมป์ประกาศสงครามการค้ากับประเทศจีน
มูลค่าเทขายกองทุนดัชนี SPDR S&P 500 ETF คือ 7.6 แสนล้านบาทใน 1 สัปดาห์
ปี 2020 โรคระบาด COVID-19 เริ่มระบาดหนักในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
มูลค่าเทขายกองทุนดัชนี SPDR S&P 500 ETF คือ 6.3 แสนล้านบาทใน 1 สัปดาห์
ในขณะที่ หุ้นในดัชนี S&P กว่า 266 บริษัทมีมูลค่าซื้อขายต่ำกว่า 4.6 พันล้านบาท ต่อหุ้นในแต่ละวัน
หมายความว่า หากกองทุนเกิด Panic ขายสินทรัพย์พร้อมๆกัน
สภาพคล่องของหุ้นในแต่ละบริษัทจะไม่พอต่อการซื้อขาย..
เรื่องนี้ Michael Burry ผู้ทำนายวิกฤตซับไพรม์ปี 2008
ก็ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับกองทุนดัชนีปลายปีที่ผ่านมา
เขาให้ความเห็นว่ากองทุนดัชนีมีลักษณะคล้ายหลักทรัพย์ CDOs (Collateralized Debt Obligations) ที่นำสินเชื่อที่อยู่อาศัยคุณภาพดีมามัดรวมกับสินเชื่อด้อยคุณภาพ
ซึ่งหลักทรัพย์ CDOs ก็เป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วทุกมุมโลก
Michael Burry เปรียบเทียบสภาพคล่องกับโรงหนังที่มีแต่คนแห่เข้าไปดูมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน
แต่ทางออกก็ยังมีทางเดียวเหมือนเดิม..
จริงอยู่ว่ากองทุนดัชนีประกอบด้วยหุ้นหลายบริษัทที่มั่นคง
ต่างจากสินเชื่อด้อยคุณภาพเมื่อ 12 ปีก่อน
ซึ่งยากที่จะกลายไปเป็นฟองสบู่
อย่างไรก็ตาม การถูกถล่มเทขายพร้อมๆกัน
มันก็เหมือนระเบิดปรมาณูถล่มเข้าใส่ตลาดหุ้นรุนแรง
รุนแรงในระดับที่ดัชนี ลบระดับ 10% วันเว้นวัน..
ปิดท้ายด้วยคำตอบของ Michael Burry
กับคำถามที่ว่ากองทุนดัชนีจะกลายไปเป็นฟองสบู่เมื่อไหร่?
“มันก็เหมือนวิกฤตฟองสบู่ทุกครั้ง
ผมไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหน
แต่ที่แน่ๆ ยิ่งปล่อยไปนานเท่าไร
หายนะของมันก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น..”
----------------------
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Reference
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-09-04/michael-burry-explains-why-index-funds-are-like-subprime-cdos
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon