เปรู ประเทศที่เคย “รวย” กว่าไทย
เปรู ประเทศที่เคย “รวย” กว่าไทย /โดย ลงทุนแมน
เปรู ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอินคา
มีอารยธรรมที่ก้าวหน้าในช่วงยุคกลาง
และอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแร่เงินและแร่ทองแดง
มีอารยธรรมที่ก้าวหน้าในช่วงยุคกลาง
และอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแร่เงินและแร่ทองแดง
แต่แล้ว ความร่ำรวยก็ทำให้อาณาจักรอินคามาพบกับจุดจบ
เมื่อมหาอำนาจตะวันตกในยุคกลางอย่าง “สเปน” เข้ายึดครองอาณาจักรแห่งนี้
ทั้งอาวุธและโรคร้ายอย่างไข้ทรพิษที่สเปนนำเข้ามา ทำให้ชาวพื้นเมืองลดลง
จนอาณาจักรล่มสลาย..
เมื่อมหาอำนาจตะวันตกในยุคกลางอย่าง “สเปน” เข้ายึดครองอาณาจักรแห่งนี้
ทั้งอาวุธและโรคร้ายอย่างไข้ทรพิษที่สเปนนำเข้ามา ทำให้ชาวพื้นเมืองลดลง
จนอาณาจักรล่มสลาย..
เปรูตกเป็นอาณานิคมของสเปนเป็นระยะเวลาเกือบ 300 ปี จนได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1821
แม้จะถูกเจ้าอาณานิคมกอบโกยทรัพยากรไปอย่างมหาศาล
แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
ทำให้สินค้าส่งออกหลักอย่างแร่เงินและแร่ทองแดง
ยังคงสร้างรายได้ให้กับชาวเปรูต่อมาอีกนาน
แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
ทำให้สินค้าส่งออกหลักอย่างแร่เงินและแร่ทองแดง
ยังคงสร้างรายได้ให้กับชาวเปรูต่อมาอีกนาน
นอกจากแร่ธาตุแล้ว เปรูยังมีป่าไม้ ผลผลิตทางการเกษตร
และการประมงจากชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
และการประมงจากชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
รู้หรือไม่ว่า เมื่อ 60 ปีที่แล้ว คนเปรูมี GDP ต่อหัวมากกว่าคนไทย 2.5 เท่า
ปี ค.ศ. 1960 GDP ต่อหัวของคนเปรูอยู่ที่ 5,340 บาทต่อปี
ในขณะที่ GDP ต่อหัวของคนไทยมีเพียง 2,140 บาทต่อปี
ในขณะที่ GDP ต่อหัวของคนไทยมีเพียง 2,140 บาทต่อปี
ปี ค.ศ. 2018 ในขณะที่ GDP ต่อหัวของคนไทยอยู่ที่ 221,100 บาทต่อปี
GDP ต่อหัวของคนเปรูอยู่ที่ 210,900 บาทต่อปี ซึ่งกลับน้อยกว่าคนไทย
GDP ต่อหัวของคนเปรูอยู่ที่ 210,900 บาทต่อปี ซึ่งกลับน้อยกว่าคนไทย
อะไรที่ทำให้เศรษฐกิจของเปรูเกิดปัญหา
จนกลายเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวน้อยกว่าคนไทยในที่สุด
จนกลายเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวน้อยกว่าคนไทยในที่สุด
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ซีรีส์บทความ ประเทศที่เคย “รวย” กว่าไทย ตอนสุดท้าย เปรู
————
Blockdit แอปติดตามข่าวอันดับ 1 สำหรับคนไทย
Blockdit.com/download
————
ในช่วงทศวรรษ 1960 เปรูเป็นประเทศที่ส่งออกแร่เงินติดอันดับ Top 3 ของโลก
รวมถึงเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าเกษตรและประมง เช่น โกโก้ กาแฟ และปลาแอนโชวี
————
Blockdit แอปติดตามข่าวอันดับ 1 สำหรับคนไทย
Blockdit.com/download
————
ในช่วงทศวรรษ 1960 เปรูเป็นประเทศที่ส่งออกแร่เงินติดอันดับ Top 3 ของโลก
รวมถึงเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าเกษตรและประมง เช่น โกโก้ กาแฟ และปลาแอนโชวี
แต่รายได้มหาศาลกลับตกอยู่ในมือของชนชั้นนำเพียงไม่กี่กลุ่ม
ที่ดินกว่า 90% ตกอยู่ในมือคนเพียง 2%
ที่ดินกว่า 90% ตกอยู่ในมือคนเพียง 2%
ในปี ค.ศ. 1968 - 1975
เปรูอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร โดยมีผู้นำคือพลเอก Velasco Alvarado
ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่สูงทำให้รัฐบาลตัดสินใจดำเนินนโยบายที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
นั่นคือ “การปฏิรูปที่ดิน”
เปรูอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร โดยมีผู้นำคือพลเอก Velasco Alvarado
ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่สูงทำให้รัฐบาลตัดสินใจดำเนินนโยบายที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
นั่นคือ “การปฏิรูปที่ดิน”
รัฐบาลทำการยึดที่ดินจากเศรษฐีมาแจกจ่ายแก่ชาวไร่ชาวนา
แต่นโยบายนี้กลับส่งผลเสียทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ชาวไร่ชาวนาขาดเทคโนโลยีและองค์ความรู้
ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการที่ดินที่ได้รับมาให้มีประสิทธิภาพได้
แต่นโยบายนี้กลับส่งผลเสียทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ชาวไร่ชาวนาขาดเทคโนโลยีและองค์ความรู้
ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการที่ดินที่ได้รับมาให้มีประสิทธิภาพได้
ผลที่ได้คือ ผลผลิตทางการเกษตรเริ่มลดลง..
รัฐบาลยังดำเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า
ด้วยการตั้งภาษีสินค้านำเข้าให้มีราคาสูง
ในช่วงแรกดูเหมือนจะประสบความสำเร็จ
เปรูเริ่มมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น อย่างสิ่งทอ
ด้วยการตั้งภาษีสินค้านำเข้าให้มีราคาสูง
ในช่วงแรกดูเหมือนจะประสบความสำเร็จ
เปรูเริ่มมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น อย่างสิ่งทอ
แต่ยังมีสินค้าอีกหลายอย่างที่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงตาม
เมื่อภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงตาม
เมื่อรวมกับวิกฤติน้ำมันในช่วงทศวรรษ 1970 ที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูง
เปรูจึงเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก
อัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1979 อยู่ที่ระดับ 66.7%
อัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1979 อยู่ที่ระดับ 66.7%
การใช้จ่ายเงินไปกับนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลทหาร
ทั้งการปฏิรูปที่ดิน การส่งเสริมอุตสาหกรรม และการซื้ออาวุธจากต่างประเทศในช่วงสงครามเย็น
ทำให้หนี้สาธารณะของเปรูพุ่งสูง
ทั้งการปฏิรูปที่ดิน การส่งเสริมอุตสาหกรรม และการซื้ออาวุธจากต่างประเทศในช่วงสงครามเย็น
ทำให้หนี้สาธารณะของเปรูพุ่งสูง
เศรษฐกิจที่ถดถอยนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ค.ศ. 1980
เปรูมีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ
เปรูมีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ
แต่เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด
ปรากฏการณ์เอลนีโญในปี ค.ศ. 1982 - 1983
ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วมและดินถล่ม
อากาศในมหาสมุทรที่แปรปรวนทำให้อุตสาหกรรมประมงของเปรูได้รับผลกระทบ
ปรากฏการณ์เอลนีโญในปี ค.ศ. 1982 - 1983
ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วมและดินถล่ม
อากาศในมหาสมุทรที่แปรปรวนทำให้อุตสาหกรรมประมงของเปรูได้รับผลกระทบ
เศรษฐกิจของเปรูถดถอยอย่างหนัก
และรัฐบาลไม่มีเงินไปใช้หนี้ สุดท้ายต้องหันไปกู้ยืม IMF
และรัฐบาลไม่มีเงินไปใช้หนี้ สุดท้ายต้องหันไปกู้ยืม IMF
แต่ IMF ไม่ให้กู้ง่ายๆ IMF ย่อมต้องอยากได้เงินต้นคืน
ซึ่งต้องมีเงื่อนไขให้รัฐบาลที่กู้ปฏิบัติตาม
ซึ่งต้องมีเงื่อนไขให้รัฐบาลที่กู้ปฏิบัติตาม
ดังนั้น รัฐบาลเปรู จึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ
คือการควบคุมค่าใช้จ่าย
ลดการควบคุมราคา
และลดค่าเงินเพื่อสะท้อนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
คือการควบคุมค่าใช้จ่าย
ลดการควบคุมราคา
และลดค่าเงินเพื่อสะท้อนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
แต่รัฐบาลในขณะนั้น กลับละเลยมาตรการต่างๆ ของ IMF..
เพื่อพยุงเศรษฐกิจที่บอบช้ำ
รัฐบาลได้ดำเนินการตรึงราคาสินค้าจำเป็น ทั้งน้ำมัน สาธารณูปโภคและอาหาร รวมถึงตรึงค่าเงินให้คงที่
รัฐบาลได้ดำเนินการตรึงราคาสินค้าจำเป็น ทั้งน้ำมัน สาธารณูปโภคและอาหาร รวมถึงตรึงค่าเงินให้คงที่
ซึ่งล้วนส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของเปรู
ประเทศขาดแคลนเงินตราต่างประเทศอย่างหนัก
ทุนสำรองระหว่างประเทศระหว่างปี ค.ศ. 1986 - 1989 ลดลงเกือบ 4 เท่า
ท้ายที่สุด รัฐบาลก็ไม่สามารถยื้อไหว จำเป็นต้องปล่อยลอยตัวค่าเงินในที่สุด
ประเทศขาดแคลนเงินตราต่างประเทศอย่างหนัก
ทุนสำรองระหว่างประเทศระหว่างปี ค.ศ. 1986 - 1989 ลดลงเกือบ 4 เท่า
ท้ายที่สุด รัฐบาลก็ไม่สามารถยื้อไหว จำเป็นต้องปล่อยลอยตัวค่าเงินในที่สุด
และผลที่ตามมาก็คือ ภาวะเงินเฟ้ออย่างยิ่งยวด (Hyperinflation)
อัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1989 อยู่ที่ระดับ 3,399%
อัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1990 อยู่ที่ระดับ 7,482%
อัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1990 อยู่ที่ระดับ 7,482%
สกุลเงิน Inti ของเปรูด้อยค่าอย่างหนัก
สินค้านำเข้าราคาพุ่งสูงและขาดแคลน
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจทำให้กลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาล “Sendero Luminoso”
ออกมาก่อความวุ่นวายไปทั่วประเทศ
สินค้านำเข้าราคาพุ่งสูงและขาดแคลน
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจทำให้กลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาล “Sendero Luminoso”
ออกมาก่อความวุ่นวายไปทั่วประเทศ
รัฐบาลของประธานาธิบดีเชื้อสายญี่ปุ่น Alberto Fujimori
ได้เข้ามาบริหารประเทศในช่วงปี ค.ศ. 1990
ได้เข้ามาบริหารประเทศในช่วงปี ค.ศ. 1990
รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน
ทั้งการขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชนเพื่อนำเงินมาใช้หนี้
ปรับลดงบประมาณด้านต่างๆ ลดการตรึงราคาสินค้า
ดำเนินการปราบปรามกลุ่มกบฏ
ทั้งการขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชนเพื่อนำเงินมาใช้หนี้
ปรับลดงบประมาณด้านต่างๆ ลดการตรึงราคาสินค้า
ดำเนินการปราบปรามกลุ่มกบฏ
ตั้งสกุลเงินใหม่ Sol แทนสกุลเงิน Inti
โดยกำหนดให้ 1 Sol = 1,000,000 Inti
และลอยตัวค่าเงินอย่างเสรี
โดยกำหนดให้ 1 Sol = 1,000,000 Inti
และลอยตัวค่าเงินอย่างเสรี
ภาวะเงินเฟ้อจึงค่อยๆ ลดลง เศรษฐกิจของเปรูจึงเริ่มเดินหน้าต่อไปได้..
แต่อย่างไรก็ตาม การปรับลดงบประมาณด้านต่างๆ ของรัฐบาล
บวกกับรัฐบาลยังมีปัญหาในเรื่องการคอร์รัปชัน
ล้วนส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานของเปรูอ่อนแอ
ดึงดูดการลงทุนด้านอุตสาหกรรมจากต่างประเทศได้ไม่มากเท่าที่ควร
บวกกับรัฐบาลยังมีปัญหาในเรื่องการคอร์รัปชัน
ล้วนส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานของเปรูอ่อนแอ
ดึงดูดการลงทุนด้านอุตสาหกรรมจากต่างประเทศได้ไม่มากเท่าที่ควร
อุตสาหกรรมของเปรูจึงไม่หลากหลาย
จำกัดอยู่แต่เพียงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ
จำกัดอยู่แต่เพียงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สินค้าส่งออกสำคัญของเปรู คือ แร่ธาตุ
คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด
ทำให้เศรษฐกิจเปรูต้องผันผวนไปตามราคาของสินค้าโภคภัณฑ์จำพวกแร่ธาตุต่างๆ
คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด
ทำให้เศรษฐกิจเปรูต้องผันผวนไปตามราคาของสินค้าโภคภัณฑ์จำพวกแร่ธาตุต่างๆ
เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขึ้นสูง
GDP ต่อหัวของชาวเปรูก็เพิ่มขึ้น
แต่เมื่อราคาสินค้าเหล่านี้ลดลง โดยเฉพาะนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
ก็ส่งผลให้ GDP ต่อหัวลดลงด้วยเช่นกัน
GDP ต่อหัวของชาวเปรูก็เพิ่มขึ้น
แต่เมื่อราคาสินค้าเหล่านี้ลดลง โดยเฉพาะนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
ก็ส่งผลให้ GDP ต่อหัวลดลงด้วยเช่นกัน
และในที่สุด เปรูจึงกลายเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวน้อยกว่าไทย..
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของทั้ง 8 ประเทศที่ได้กล่าวไว้ในซีรีส์บทความชุดนี้
เกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของทั้ง 8 ประเทศที่ได้กล่าวไว้ในซีรีส์บทความชุดนี้
เกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป
ทั้งการคอร์รัปชันอย่างหนักของผู้นำ
สงครามและความขัดแย้งภายในประเทศ
และการบริหารงานที่ผิดพลาดของผู้นำจนก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจเรื้อรัง
สงครามและความขัดแย้งภายในประเทศ
และการบริหารงานที่ผิดพลาดของผู้นำจนก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจเรื้อรัง
เรื่องราวของประเทศเหล่านี้
ล้วนเป็นบทเรียนสำคัญ ให้เราได้รู้ถึงความผิดพลาดในอดีต
และวางแผนไม่ให้ประเทศไทยก้าวเดินซ้ำรอยนั้น
ล้วนเป็นบทเรียนสำคัญ ให้เราได้รู้ถึงความผิดพลาดในอดีต
และวางแผนไม่ให้ประเทศไทยก้าวเดินซ้ำรอยนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลา 60 ปีที่ผ่านมา
บนโลกนี้ก็ยังมีอยู่ 3 ประเทศ ที่เคย “จน” กว่าไทย แล้วพัฒนาจนก้าวหน้าแซงไทยได้ที่สุด
ได้แก่ ประเทศจีน โอมาน และบอตสวานา
บนโลกนี้ก็ยังมีอยู่ 3 ประเทศ ที่เคย “จน” กว่าไทย แล้วพัฒนาจนก้าวหน้าแซงไทยได้ที่สุด
ได้แก่ ประเทศจีน โอมาน และบอตสวานา
เรื่องราวของทั้ง 3 ประเทศจะเป็นอย่างไร
ติดตามได้ใน ซีรีส์บทความ ประเทศที่เคย “จน” กว่าไทย..
ติดตามได้ใน ซีรีส์บทความ ประเทศที่เคย “จน” กว่าไทย..
โหลดแอป Blockdit เพื่ออ่านซีรีส์ตอนก่อนหน้านี้ ได้ที่ Blockdit.com/download
----------------------
Blockdit แอปติดตามข่าวอันดับ 1 สำหรับคนไทย
Blockdit.com/download
----------------------
References
-https://international.ucla.edu/institute/article/19898
-https://www.worlddata.info/america/peru/inflation-rates.php
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=PE-TH
-https://www.limaeasy.com/peru-info/peruvian-economy
-https://www.ceicdata.com/en/indicator/peru/foreign-exchange-reserves
----------------------
Blockdit แอปติดตามข่าวอันดับ 1 สำหรับคนไทย
Blockdit.com/download
----------------------
References
-https://international.ucla.edu/institute/article/19898
-https://www.worlddata.info/america/peru/inflation-rates.php
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=PE-TH
-https://www.limaeasy.com/peru-info/peruvian-economy
-https://www.ceicdata.com/en/indicator/peru/foreign-exchange-reserves