บริษัทต้องมีกำไรเท่าไร ถึงจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้?
บริษัทต้องมีกำไรเท่าไร ถึงจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้? /โดย ลงทุนแมน
การเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกเรียก IPO
คำว่า IPO เป็นสิ่งที่เจ้าของบริษัทหลายคนใฝ่ฝัน
โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ตอัปที่ยึดคำว่า IPO เป็นตัวชี้วัดว่าบริษัทนั้นประสบความสำเร็จ
การเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกเรียก IPO
คำว่า IPO เป็นสิ่งที่เจ้าของบริษัทหลายคนใฝ่ฝัน
โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ตอัปที่ยึดคำว่า IPO เป็นตัวชี้วัดว่าบริษัทนั้นประสบความสำเร็จ
IPO ย่อมาจาก Initial Public Offering ซึ่งแปลว่าการนำหุ้นของบริษัทไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ให้กับคนทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยจุดประสงค์หลักก็เพื่อระดมเงินทุนเพิ่มเติม
สิ่งที่เป็นคำถามต่อไปของทุกคนก็คือ
แล้วบริษัทเราต้องกำไรมากแค่ไหนถึงจะ IPO กับเขาได้?
╔═══════════╗
Blockdit แอปเขียนบล็อกอันดับ 1
http://www.blockdit.com
╚═══════════╝
ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ของไทยเรา มี 2 ตลาด คือ SET และ mai
แล้วบริษัทเราต้องกำไรมากแค่ไหนถึงจะ IPO กับเขาได้?
╔═══════════╗
Blockdit แอปเขียนบล็อกอันดับ 1
http://www.blockdit.com
╚═══════════╝
ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ของไทยเรา มี 2 ตลาด คือ SET และ mai
การระดมทุนใน 2 ตลาดนี้ บริษัทของเราจะต้องมีสถานะเป็น บริษัทมหาชนจำกัด เสียก่อน
นอกจากนั้นบริษัทยังต้องมีผลประกอบการตามเกณฑ์ที่กำหนดด้วย
สำหรับ SET บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิ 2 - 3 ปีล่าสุด รวมกันมากกว่า 50 ล้านบาท
โดยในปีล่าสุดกำไรสุทธิจะต้องเกิน 30 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 300 ล้านบาท
โดยในปีล่าสุดกำไรสุทธิจะต้องเกิน 30 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 300 ล้านบาท
ส่วนตลาด mai บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิในปีล่าสุดมากกว่า 10 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 50 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 50 ล้านบาท
แต่ถ้าบริษัทที่ต้องการจะ IPO ไม่มีกำไร บริษัทสามารถเลือกใช้อีกเกณฑ์ได้ ซึ่งก็คือเกณฑ์ของมูลค่าตลาด
สำหรับ SET บริษัทจะต้องมีมูลค่าตลาดตอน IPO มากกว่า 7,500 ล้านบาท โดยต้องมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ในปีล่าสุด และงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วน mai บริษัทจะต้องมีมูลค่าตลาดตอน IPO มากกว่า 1,000 ล้านบาท โดยต้องมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ในปีล่าสุด และงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
และนี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมสตาร์ตอัปในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะขาดทุน แต่ก็ IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้
ยกตัวอย่างเช่น UBER ที่เพิ่ง IPO เข้าตลาดในเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา
ก็ขาดทุนอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะขายหุ้นให้กับนักลงทุนทั่วไป
ก็ขาดทุนอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะขายหุ้นให้กับนักลงทุนทั่วไป
ผลประกอบการ UBER
Q3 ปี พ.ศ. 2560 รายได้ 91,000 ล้านบาท ขาดทุน 30,000 ล้านบาท
Q4 ปี พ.ศ. 2560 รายได้ 92,000 ล้านบาท ขาดทุน 27,000 ล้านบาท
Q1 ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 96,000 ล้านบาท ขาดทุน 31,000 ล้านบาท
Q4 ปี พ.ศ. 2560 รายได้ 92,000 ล้านบาท ขาดทุน 27,000 ล้านบาท
Q1 ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 96,000 ล้านบาท ขาดทุน 31,000 ล้านบาท
หรือแม้แต่กรณีของ Wework ที่เตรียมจะ IPO ในช่วงปลายปีที่แล้ว
ก็มีผลขาดทุนในปี 2018 เกือบ 6 หมื่นล้านบาท
ก็มีผลขาดทุนในปี 2018 เกือบ 6 หมื่นล้านบาท
แม้ว่าสุดท้ายจะไม่ได้เข้าตลาดเนื่องจากปัญหาความไม่โปร่งใสและการบริหารงานของ CEO
อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ IPO ในตลาดต่างประเทศอาจแตกต่างจากของประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยเองก็มีบริษัทที่ขาดทุน แต่ก็สามารถ IPO ได้เช่นกัน
รู้หรือไม่ว่า ANAN หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง IPO ในปี พ.ศ. 2555 ในตอนนั้นบริษัทก็มีผลประกอบการขาดทุน
ผลประกอบการของ ANAN ปี พ.ศ. 2554 รายได้ 5,661 ล้านบาท ขาดทุน 317 ล้านบาท
ซึ่งถ้าดูในกรณีของ ANAN บริษัท IPO ด้วยราคา 4.20 บาทต่อหุ้น บริษัทจะมีมูลค่า 13,999 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2554 มี EBIT 204 ล้านบาท
ด้วยเหตุนี้ ANAN จึงสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้แม้ว่าจะขาดทุน แต่ใช้เกณฑ์มูลค่าตลาดแทน
อ่านมาถึงตรงนี้เราคงจะเห็นว่า
จริงๆ แล้ว การนำบริษัทเข้า IPO ไม่ได้จำเป็นต้องมีกำไรมหาศาล
ขั้นต่ำสุดก็เพียง 10 ล้านบาท
หรือหากบริษัทขาดทุน แต่มีขนาดใหญ่พอ ก็สามารถใช้เกณฑ์มูลค่าตลาดอย่างในกรณีของ ANAN ได้เช่นกัน
จริงๆ แล้ว การนำบริษัทเข้า IPO ไม่ได้จำเป็นต้องมีกำไรมหาศาล
ขั้นต่ำสุดก็เพียง 10 ล้านบาท
หรือหากบริษัทขาดทุน แต่มีขนาดใหญ่พอ ก็สามารถใช้เกณฑ์มูลค่าตลาดอย่างในกรณีของ ANAN ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงหนึ่งในข้อกำหนดของการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
เพราะจริงๆ แล้ว การ IPO ยังมีเงื่อนไขอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งในด้านตัวเลขงบการเงิน รวมถึงการบริหารงานที่เป็นระบบ ทั้งการกำกับดูแลกิจการ และการควบคุมภายใน
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อความน่าเชื่อถือของบริษัทจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน
แต่อย่าลืมว่า ต้นทุนของบริษัทที่จะต้องตามมาหลังจากนี้ ก็คือ ต้นทุนในการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงความอิสระในการบริหารงาน
เพราะว่าบริษัทจะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้นมา นั่นก็คือ ผู้ถือหุ้นที่เป็นสาธารณชน นั่นเอง..
----------------------
Blockdit แอปเขียนบล็อกอันดับ 1
http://www.blockdit.com
----------------------
References
-https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/common_shares_p1.html
-https://www.settrade.com/C13_StockIpo.jsp
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีของ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
----------------------
Blockdit แอปเขียนบล็อกอันดับ 1
http://www.blockdit.com
----------------------
References
-https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/common_shares_p1.html
-https://www.settrade.com/C13_StockIpo.jsp
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีของ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)