ซิมบับเว ประเทศที่เคย “รวย” กว่าไทย
ซิมบับเว ประเทศที่เคย “รวย” กว่าไทย / โดย ลงทุนแมน
เมื่อ 60 ปีที่แล้ว คนซิมบับเวมีรายได้ต่อหัวมากกว่าคนไทย 3 เท่า
ปี 1960 ขณะที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ คนซิมบับเวมีรายได้ต่อหัวต่อปี 5,960 บาท
ในขณะที่คนไทยมีรายได้ต่อหัวต่อปีเพียง 2,140 บาท
ในขณะที่คนไทยมีรายได้ต่อหัวต่อปีเพียง 2,140 บาท
ในเวลานั้น ดินแดนซิมบับเว ใช้ชื่อว่า “Southern Rhodesia”
เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา
เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา
สินค้าส่งออกหลักคือ สินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 40
อีกทั้งยังมีแหล่งแร่ธาตุสำคัญ ทั้งทองคำ เพชร และโครเมียม
ทำให้ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศในทวีปแอฟริกา
อีกทั้งยังมีแหล่งแร่ธาตุสำคัญ ทั้งทองคำ เพชร และโครเมียม
ทำให้ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศในทวีปแอฟริกา
แต่การเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้รายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของชนกลุ่มน้อยชาวยุโรป ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ครอบครองที่ดินกว่าร้อยละ 70 ของประเทศ
ในขณะที่ชาวผิวดำซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ กลับไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง
ความเหลื่อมล้ำนำมาสู่การพยายามต่อสู้เพื่อเอกราชของคนผิวดำ
จนในปี 1980 ประเทศนี้ก็ประกาศเอกราชจากอังกฤษ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ซิมบับเว
จนในปี 1980 ประเทศนี้ก็ประกาศเอกราชจากอังกฤษ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ซิมบับเว
โดยมีประธานาธิบดีคนแรกคือ “โรเบิร์ต มูกาเบ”
บุคคลผู้นี้คือจุดเริ่มต้นสำคัญ
ที่จะนำพาซิมบับเว ดำดิ่ง สู่ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวน้อยกว่าไทย 4 เท่าในปัจจุบัน..
ที่จะนำพาซิมบับเว ดำดิ่ง สู่ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวน้อยกว่าไทย 4 เท่าในปัจจุบัน..
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ซีรีส์บทความ ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย ตอน ซิมบับเว
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
http://www.blockdit.com
┗━━━━━━━━━━━━┛
ในช่วงแรกของการเป็นเอกราช เศรษฐกิจของซิมบับเวยังคงเจริญเติบโตได้ดี
รัฐบาลประธานาธิบดีมูกาเบ มีความพยายามที่จะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของประชาชน
ด้วยการสร้างโรงเรียน ให้ระบบการศึกษาฟรี และขยายบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุม
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
http://www.blockdit.com
┗━━━━━━━━━━━━┛
ในช่วงแรกของการเป็นเอกราช เศรษฐกิจของซิมบับเวยังคงเจริญเติบโตได้ดี
รัฐบาลประธานาธิบดีมูกาเบ มีความพยายามที่จะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของประชาชน
ด้วยการสร้างโรงเรียน ให้ระบบการศึกษาฟรี และขยายบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุม
แต่ในปี 1998 รัฐบาลก็เริ่มประสบปัญหาทางการเงิน
จากการที่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้ทหารผ่านศึกในสงครามประกาศเอกราช
ซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง 3% ของ GDP
ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการทำสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งในประเทศคองโก แต่บานปลายจนหลายประเทศในทวีปแอฟริกาต้องเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้
ซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง 3% ของ GDP
ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการทำสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งในประเทศคองโก แต่บานปลายจนหลายประเทศในทวีปแอฟริกาต้องเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้
ปัญหาทางการเงินที่รุมเร้าทำให้รัฐบาลตัดสินใจกู้เงินจาก IMF
หลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในปี 1998 นั่นคือ ภัยแล้ง ที่ทำให้ประชาชนกว่า 5 ล้านคน คิดเป็นเกือบ 50% ของทั้งประเทศ ประสบภาวะขาดแคลนอาหาร
สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่แล้วด้านการครอบครองที่ดินการเกษตรของคนผิวขาว แต่คนผิวขาวส่วนใหญ่กลับเลือกที่จะเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ เช่น ยาสูบ, ฝ้าย มากกว่าพืชอาหาร
ในปี 2000
รัฐบาลประธานาธิบดีมูกาเบจึงตัดสินใจดำเนินนโยบายที่เรียกว่า “การปฏิรูปที่ดิน” (Land Reform)
รัฐบาลประธานาธิบดีมูกาเบจึงตัดสินใจดำเนินนโยบายที่เรียกว่า “การปฏิรูปที่ดิน” (Land Reform)
ใช้วิธีออกกฎหมายยึดคืนที่ดินจากคนผิวขาวโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
โดยอ้างว่าชาวอังกฤษได้ยึดครองที่ดินโดยมิชอบตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคม
โดยอ้างว่าชาวอังกฤษได้ยึดครองที่ดินโดยมิชอบตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคม
แม้จะประสบความสำเร็จในการยึดครองที่ดินจากคนผิวขาว
แต่นโยบายนี้กลับนำมาสู่ความล้มเหลวหลายประการ
แต่นโยบายนี้กลับนำมาสู่ความล้มเหลวหลายประการ
ประการที่ 1
การใช้วิธียึดคืนโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ทำให้ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปต่างรุมต่อต้านการกระทำในครั้งนี้ นำมาสู่การคว่ำบาตรและลดความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ซิมบับเว
การใช้วิธียึดคืนโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ทำให้ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปต่างรุมต่อต้านการกระทำในครั้งนี้ นำมาสู่การคว่ำบาตรและลดความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ซิมบับเว
ประการที่ 2
ด้วยปัญหาคอร์รัปชันที่มีสูง ทำให้รัฐบาลขาดการจัดสรรงบประมาณในการซื้อปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และเครื่องมือทางการเกษตรแจกจ่ายแก่ประชาชน ชาวผิวดำผู้ได้ครอบครองที่ดิน จึงครอบครองแต่ผืนดินเปล่า แต่ขาดปัจจัยที่จะมาทำให้ผลผลิตงอกเงยบนผืนดินนั้น
ด้วยปัญหาคอร์รัปชันที่มีสูง ทำให้รัฐบาลขาดการจัดสรรงบประมาณในการซื้อปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และเครื่องมือทางการเกษตรแจกจ่ายแก่ประชาชน ชาวผิวดำผู้ได้ครอบครองที่ดิน จึงครอบครองแต่ผืนดินเปล่า แต่ขาดปัจจัยที่จะมาทำให้ผลผลิตงอกเงยบนผืนดินนั้น
ชาวผิวดำหลายคนซึ่งเดิมเคยแต่รับจ้างทำงานในไร่มาก่อน ยังขาดทักษะในการบริหารจัดการ
ซ้ำร้ายเมื่อนายจ้างที่เป็นคนผิวขาวถูกขับไล่ ทำให้ลูกจ้างเดิมตกงาน
ประเทศซิมบับเวจึงมีอัตราว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมาก
ซ้ำร้ายเมื่อนายจ้างที่เป็นคนผิวขาวถูกขับไล่ ทำให้ลูกจ้างเดิมตกงาน
ประเทศซิมบับเวจึงมีอัตราว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมาก
ประการที่ 3
จากเดิมที่สินค้าภาคเกษตรมีความสำคัญต่อการส่งออก แต่เมื่อเจ้าของกิจการที่เป็นคนผิวขาวถูกขับไล่
จึงทำให้การผลิตหยุดชะงัก ส่งออกสินค้าได้น้อยลง
จากเดิมที่สินค้าภาคเกษตรมีความสำคัญต่อการส่งออก แต่เมื่อเจ้าของกิจการที่เป็นคนผิวขาวถูกขับไล่
จึงทำให้การผลิตหยุดชะงัก ส่งออกสินค้าได้น้อยลง
ผลผลิตทางการเกษตรในปี 2008 ลดลงจากปี 2000 ถึงร้อยละ 60
และซิมบับเวขาดดุลการค้าต่อเนื่องทุกปีมาตั้งแต่ปี 2002
และซิมบับเวขาดดุลการค้าต่อเนื่องทุกปีมาตั้งแต่ปี 2002
เมื่อเงินตราต่างประเทศที่เคยได้ลดลง
รัฐบาลซึ่งขาดแคลนเงินตราต่างประเทศอยู่แล้ว จึงยิ่งขาดแคลนหนัก
ทำให้ไม่สามารถซื้อสินค้านำเข้าได้เพียงพอ
เมื่อสินค้านำเข้าขาดแคลน จึงดันให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
รัฐบาลซึ่งขาดแคลนเงินตราต่างประเทศอยู่แล้ว จึงยิ่งขาดแคลนหนัก
ทำให้ไม่สามารถซื้อสินค้านำเข้าได้เพียงพอ
เมื่อสินค้านำเข้าขาดแคลน จึงดันให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
รัฐบาลจึงต้องการกู้เงินจาก IMF เพิ่มเติม
แต่เนื่องจากการผิดนัดชำระหนี้ในครั้งก่อน ทำให้รัฐบาลประธานาธิบดีมูกาเบไม่สามารถกู้เพิ่มได้อีกแล้ว
แต่เนื่องจากการผิดนัดชำระหนี้ในครั้งก่อน ทำให้รัฐบาลประธานาธิบดีมูกาเบไม่สามารถกู้เพิ่มได้อีกแล้ว
เพื่อที่จะใช้หนี้ IMF เก่า
รัฐบาลจึงคิดวิธีเพื่อแก้ปัญหา
จนกลายเป็นชนวนสำคัญของการล่มสลายทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลจึงคิดวิธีเพื่อแก้ปัญหา
จนกลายเป็นชนวนสำคัญของการล่มสลายทางเศรษฐกิจ
นั่นก็คือ การพิมพ์เงิน..
การพิมพ์เงินเพื่อใช้หนี้ต่างประเทศนั้น ทำให้เกิดเงินเฟ้อได้อย่างไร?
จากเดิม อัตราแลกเปลี่ยน 1.59 ดอลลาร์ซิมบับเว = 1 ดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อรัฐบาลต้องการใช้หนี้ IMF จึงพิมพ์เงินออกมาในสกุลเงินซิมบับเวจำนวนเท่ากับที่เป็นหนี้
รัฐบาลได้ไปขอร้องตัวกลาง ซึ่งเป็นสถาบันการเงินท้องถิ่นในทวีปแอฟริกา ให้รับแลกเงินที่พิมพ์ขึ้นมาเป็นดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อได้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐมา จึงนำมาใช้หนี้ IMF เพียงเท่านี้ก็ดูเหมือนว่าจะใช้หนี้ได้หมด
แต่ต้องไม่ลืมว่า บนโลกนี้ สถานที่ที่รองรับการใช้สกุลเงินดอลลาร์ซิมบับเวมีที่เดียว นั่นก็คือประเทศซิมบับเว
ดังนั้น เงื่อนไขที่รัฐบาลซิมบับเวได้ทำกับสถาบันการเงินเหล่านั้น ก็คือรัฐบาลต้องซื้อเงินที่พิมพ์ขึ้นใหม่กลับคืนมา โดยนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น ทองคำ เพชร แร่โครเมียม ไปค้ำประกัน ซึ่งเรียกว่า Mineral-backed loan
แต่เมื่อได้เงินดอลลาร์ซิมบับเวกลับคืนมา เงินในระบบก็เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
สิ่งที่เกิดตามมา คือ ภาวะเงินเฟ้ออย่างยิ่งยวด หรือ Hyperinflation
สิ่งที่เกิดตามมา คือ ภาวะเงินเฟ้ออย่างยิ่งยวด หรือ Hyperinflation
ปี 2001 อัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวอยู่ที่ 112.1%
ปี 2007 อัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวอยู่ที่ 66,212.3%
ปี 2007 อัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวอยู่ที่ 66,212.3%
แต่แทนที่จะยุติปัญหาจากเงินเฟ้อ รัฐบาลกลับพิมพ์เงินเพิ่มเข้าไปในระบบ เพื่อให้ข้าราชการมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่าย แต่กลายเป็นยิ่งกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อยิ่งกว่าเดิม
ปลายปี 2008 อัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวอยู่ที่ 79,600,000,000%
จนต้องมีธนบัตรที่มีมูลค่า 100,000,000,000,000 ดอลลาร์ซิมบับเว (อ่านว่า หนึ่งร้อยล้านล้าน)
ประชาชนชาวซิมบับเวจำนวนมากจึงออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาล
จนท้ายที่สุดในปี 2009 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลลาร์ซิมบับเวในประเทศ
และยอมรับการใช้เงินสกุลอื่นในประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ และแรนด์แอฟริกาใต้ จึงช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อในประเทศได้บ้าง
จนท้ายที่สุดในปี 2009 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลลาร์ซิมบับเวในประเทศ
และยอมรับการใช้เงินสกุลอื่นในประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ และแรนด์แอฟริกาใต้ จึงช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อในประเทศได้บ้าง
และจนถึงปัจจุบันนี้ ซิมบับเวก็ยังไม่มีวี่แววที่จะกลับไปใช้เงินสกุลเดิม
แม้จะมีความพยายามล้างอำนาจจากฝ่ายตรงข้าม แต่โรเบิร์ต มูกาเบ ก็ครองอำนาจในฐานะประธานาธิบดีติดต่อกันเป็นเวลา 37 ปี จนในที่สุดเขาก็ได้ถูกรัฐประหารในปี 2017 และถึงแก่กรรมในปี 2019
ทิ้งให้ประชาชนซิมบับเวอยู่ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ล่มสลายของประเทศ
เรื่องราวทั้งหมดคือบทเรียนของประเทศ ซึ่งครั้งหนึ่งเคย “รวย” กว่าไทย ถึง 3 เท่า
มีทรัพยากรมากมาย
แต่ในวันนี้กลับกลายเป็นหนึ่งในประเทศยากจนที่สุดประเทศหนึ่งของทวีปแอฟริกา
ด้วยการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผิดพลาด
มีทรัพยากรมากมาย
แต่ในวันนี้กลับกลายเป็นหนึ่งในประเทศยากจนที่สุดประเทศหนึ่งของทวีปแอฟริกา
ด้วยการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผิดพลาด
และไม่ไกลจากซิมบับเว ทวีปแอฟริกายังมีอีกประเทศหนึ่ง
ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล เคยร่ำรวยกว่าไทยถึง 4 เท่า
แต่ในวันนี้ผู้คนกลับยากจนกว่าคนไทย
เกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้
“สาธารณรัฐแอฟริกาใต้”..
ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล เคยร่ำรวยกว่าไทยถึง 4 เท่า
แต่ในวันนี้ผู้คนกลับยากจนกว่าคนไทย
เกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้
“สาธารณรัฐแอฟริกาใต้”..
ติดตาม ซีรีส์ ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย ตอนต่อไปได้ในสัปดาห์หน้า
โหลดแอป Blockdit เพื่ออ่านซีรีส์ตอนก่อนหน้านี้ ได้ที่ http://www.blockdit.com
----------------------
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
http://www.blockdit.com
----------------------
References
-รศ.เสรี ลีลาลัย, เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ในสถานการณ์ปัจจุบัน
-https://www.weforum.org/agenda/2016/11/do-you-have-change-for-a-billion-the-mad-world-of-zimbabwe-s-currency/
-https://countryeconomy.com/demography/population/zimbabwe?year=1998
-https://www.ft.com/content/5fe10fea-cd13-11e7-b781-794ce08b24dc
-https://www.reuters.com/article/zimbabwe-economy-imf/zimbabwes-mineral-backed-loans-may-complicate-talks-with-creditors-imf-says-idUSL8N23A1JV
โหลดแอป Blockdit เพื่ออ่านซีรีส์ตอนก่อนหน้านี้ ได้ที่ http://www.blockdit.com
----------------------
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
http://www.blockdit.com
----------------------
References
-รศ.เสรี ลีลาลัย, เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ในสถานการณ์ปัจจุบัน
-https://www.weforum.org/agenda/2016/11/do-you-have-change-for-a-billion-the-mad-world-of-zimbabwe-s-currency/
-https://countryeconomy.com/demography/population/zimbabwe?year=1998
-https://www.ft.com/content/5fe10fea-cd13-11e7-b781-794ce08b24dc
-https://www.reuters.com/article/zimbabwe-economy-imf/zimbabwes-mineral-backed-loans-may-complicate-talks-with-creditors-imf-says-idUSL8N23A1JV