“ถึงเวลาเที่ยวรอบโลก” ค่าเงินบาทแข็งสุดในรอบ 6 ปี
“ถึงเวลาเที่ยวรอบโลก” ค่าเงินบาทแข็งสุดในรอบ 6 ปี
เงินบาทแข็งค่า แปลว่า ถ้าเราใช้เงินบาทจำนวนเท่าเดิมไปแลกเงินต่างประเทศ เราจะได้เงินต่างประเทศจำนวนมากกว่าเดิม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแข็งค่าหรืออ่อนค่าของเงินนั้นมีหลายอย่าง เช่น
1. ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศ และต่างประเทศ
2. การอ่อนค่าของสกุลเงินหลัก
3. การเติบโตของเศรษฐกิจ
4. การเติบโตของนักท่องเที่ยว
5. เสถียรภาพทางการเมือง
1. ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศ และต่างประเทศ
2. การอ่อนค่าของสกุลเงินหลัก
3. การเติบโตของเศรษฐกิจ
4. การเติบโตของนักท่องเที่ยว
5. เสถียรภาพทางการเมือง
วิธีหนึ่งที่เรามักจะใช้ดูการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน คือ “ดุลบัญชีเดินสะพัด”
ถ้าดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง
ก็จะแปลว่ามีเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศ
และทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่า
ก็จะแปลว่ามีเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศ
และทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่า
ดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบด้วย
1. ดุลการค้า
2. ดุลบริการ
1. ดุลการค้า
2. ดุลบริการ
ดุลการค้าของประเทศไทยเกินดุลมาตลอด สำหรับดุลบริการ การท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยเกินดุลบริการ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยมา
ปี 2557 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 487,000 ล้านบาท
ปี 2560 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,606,000 ล้านบาท
ปี 2560 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,606,000 ล้านบาท
จึงไม่แปลกที่ค่าเงินบาทในประเทศไทยมีทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
แล้วการแข็งค่าของเงินบาทกระทบอะไรกับเรา?
เพื่อให้เห็นภาพง่ายจะยกตัวอย่างการส่งออกปากกา
เมื่อก่อน ถ้าเราส่งออกปากกาไปขายในราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อนำมาแลกเป็นเงินบาทจะได้เงิน 34 บาท
เมื่อก่อน ถ้าเราส่งออกปากกาไปขายในราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อนำมาแลกเป็นเงินบาทจะได้เงิน 34 บาท
แต่วันนี้รายได้จากการส่งออกปากกาไปขายจะเหลือเพียง 30 บาท
หมายความว่า รายได้ของเราจะหายไปประมาณ 4 บาท
หมายความว่า รายได้ของเราจะหายไปประมาณ 4 บาท
ดังนั้นเมื่อเวลาค่าเงินบาทแข็ง จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก
การส่งออกนับเป็นเครื่องจักรสำคัญต่อการเติบโตของ GDP
การส่งออกนับเป็นเครื่องจักรสำคัญต่อการเติบโตของ GDP
ดังนั้น ถ้าการส่งออกเริ่มมีปัญหา สิ่งนี้จะส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศ
แต่เมื่อเหรียญมี 2 ด้าน การแข็งค่าของเงินบาทอีกด้านหนึ่ง ก็มีผลดีเช่นเดียวกัน
เช่น ก่อนหน้านี้ถ้าเราเป็นหนี้อยู่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เราต้องใช้เงิน 34 บาท
แต่วันนี้เราจะใช้เงินเพียง 30 บาท
แต่วันนี้เราจะใช้เงินเพียง 30 บาท
หรือแม้แต่เวลาเราไปเที่ยวต่างประเทศ ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่านั้น จะทำให้เรามีกำลังซื้อที่มากขึ้น
ดังนั้น การแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบัน
จึงมีทั้งผลบวกและลบ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับว่าจะมองจากมุมไหน
จึงมีทั้งผลบวกและลบ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับว่าจะมองจากมุมไหน
แต่ไม่ว่าจะอ่อน หรือ จะแข็ง
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เสถียรภาพของค่าเงิน
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เสถียรภาพของค่าเงิน
ถ้าค่าเงินผันผวน อ่อนเร็วเกินไป หรือ แข็งเร็วเกินไป คาดการณ์ไม่ได้
ก็จะทำให้คนทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ทำงานได้ลำบากขึ้น
ก็จะทำให้คนทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ทำงานได้ลำบากขึ้น
จากตอนแรกที่เราคิดว่าจะได้กำไร แต่ผลปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไปเราอาจจะขาดทุนเพราะค่าเงิน
จะทำอย่างไรเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน จึงเป็นคำถามสำคัญที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องตอบให้ได้ในเวลานี้..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛