แฟรนไชส์ไทย กำลังขยายตัวใน CLMV

แฟรนไชส์ไทย กำลังขยายตัวใน CLMV

ผู้สนับสนุน..
แฟรนไชส์ไทย กำลังขยายตัวใน CLMV / โดย ลงทุนแมน
แฟรนไชส์ไทยมีชื่อเสียงในเรื่องของคุณภาพและการบริการ
ในปัจจุบัน มีแฟรนไชส์ไทยกว่า 49 ราย ที่ขยายสาขาไปต่างประเทศแล้ว
ทั้งธุรกิจอาหาร เช่น The Pizza Company, Greyhound Café, ไก่ย่างห้าดาว
ธุรกิจเครื่องดื่ม เช่น Café Amazon, Inthanin
ธุรกิจ Car Care เช่น Moly Care ไปจนถึงธุรกิจด้านการศึกษา และนวดสปา
ที่น่าสนใจคือ 8 ใน 10 ของแฟรนไชส์เหล่านี้ ขยายสาขาไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
หรือที่เรียกว่า กลุ่มประเทศ CLMV
เพราะอะไรถึงเป็น CLMV?
กลุ่มประเทศ CLMV ประกอบไปด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม มีประชากรรวมกันประมาณ 180 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยกว่า 6% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ และจะส่งผลให้ประชากรของกลุ่มประเทศ CLMV มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอีก 30% ในปี 2566
ที่สำคัญคือ กลุ่มประเทศ CLMV ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในประเทศ
ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศเหล่านี้ มีจำนวนรวมกันกว่า 25 ล้านคน ก็ยิ่งทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น จึงส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มีโอกาสเติบโตได้ดีในกลุ่มประเทศ CLMV
จากข้อได้เปรียบที่ไทยเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากประชากร CLMV และด้วยวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน รวมถึงระดับราคาสินค้าและบริการเหมาะสม สามารถจับจ่ายได้ จึงทำให้หลายๆ แบรนด์ของไทยเป็นที่รู้จักในประเทศเหล่านี้เป็นอย่างดี..
อย่างไรก็ตาม
การเข้าไปลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ใน CLMV ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษา และวิเคราะห์สภาพตลาดของ CLMV เป็นอย่างดี
เนื่องจากตลาดแต่ละประเทศ ผู้บริโภคล้วนมีรสนิยมการบริโภคที่แตกต่างกัน
ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ต้องประเมินงบประมาณให้ดีและเหมาะสม ทั้งค่าแฟรนไชส์
งบในการตกแต่งร้าน และยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารและทำการตลาด
จากที่โอกาสทางธุรกิจของแฟรนไชส์ไทยยังขยายตัวได้อีกมากใน CLMV นี้เอง
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา เพื่อร่วมพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยให้ก้าวสู่ระดับสากลได้ง่ายขึ้น
“สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย (Loan for Thai Franchise/Thai Chain Buyers)”
ซึ่งเป็นวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากู้ยืมไม่เกินระยะเวลาของสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์/ว่าจ้างเชน มีอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสกุลดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ LIBOR+3.50% ต่อปี หรือสกุลบาทเท่ากับ Prime Rate ต่อปี (ปัจจุบันอยู่ที่ 6.125% ต่อปี)
โดยมีหลักประกันพิจารณาตามความเหมาะสม
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ไทยไปเปิดให้บริการในต่างประเทศ หรือว่าจ้างเชนไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจุดประสงค์ให้แฟรนไชส์ของไทยแข็งแกร่ง จากในสู่นอกประเทศได้อย่างยั่งยืน..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon