ประเทศไทยกำลังมี การทำวิจัยระดับโลก ที่ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ประเทศไทยกำลังมี การทำวิจัยระดับโลก ที่ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ผู้สนับสนุน..
ประเทศไทยกำลังมี การทำวิจัยระดับโลก ที่ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เทคโนโลยี และการดิสรัปชัน กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจทั่วโลก
รู้ไหมว่า.. ตลาดแรงงานในอีก 4 ปีข้างหน้า จะมีจำนวนงานกว่า 75 ล้านตำแหน่งหายไป
และจะมีตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้นกว่า 113 ล้านตำแหน่ง
เรื่องนี้เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
เราจึงจำเป็นต้องมีรากฐานทางการศึกษา และการวิจัยที่แข็งแกร่งเพื่อต่อยอดธุรกิจดั้งเดิมให้ยั่งยืนในโลกอนาคต
เรื่องนี้จึงส่งผลให้ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียนประสานงานกับบริษัทชั้นนำในประเทศอย่าง AIS, AP และ KBank จับมือกับ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพื่อสร้างศูนย์การวิจัยระดับโลกในประเทศไทย
The Stanford Thailand Research Consortium
แล้วเรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนมาจะเล่าให้ฟัง
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจุดเด่นและเป็นที่ยอมรับจากชาวต่างชาติหลายด้าน
ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือการบริการ
ในทางกลับกัน นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มาจากการวิจัยพัฒนาในประเทศกลับมีอัตราการประสบความสำเร็จค่อนข้างต่ำซึ่งเรื่องนี้อาจสะท้อนมาจากเม็ดเงินในการลงทุนวิจัยพัฒนา
เรามาดูงบการลงทุนวิจัยพัฒนาในแต่ละประเทศ
เมื่อเทียบกับขนาดของ GDP
ประเทศเกาหลีใต้ 4.2%
ประเทศญี่ปุ่น 3.1%
ประเทศเยอรมนี 2.9%
ประเทศญี่ปุ่น 3.1%
ประเทศจีน 2.1%
ประเทศไทย 0.6%
จากตัวเลขข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ภาพรวมการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย
อาจจะยังล้าหลังประเทศชั้นนำอื่นๆ อยู่มาก
Mrs. Arinya Talerngsri, Chief Capability Officer Managing Director of SEAC (Southeast Asia Center)
พอเรื่องเป็นแบบนี้ โครงการ The Stanford Thailand Research Consortium จึงถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์หลักๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพงานวิจัยในประเทศไทย..
Ms. Kantima Lerlertyuttitham, Chief Human Resources Officer at AIS
Mr. Anupong Assavabhokhin, CEO of AP (Thailand) Plc.
Ms. Kattiya Indaravijaya, President of KBank
โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากบริษัทผู้ดำเนินการอย่าง AIS, AP Thailand และ KBank
ร่วมกันทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
Mr. Paul Marca, Associate Vice Provost – Strategy, Programs and Development at Stanford University
โดยมี SEAC หรือ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน
เป็นผู้ดูแลและสนับสนุนใน 3 ส่วนสำคัญ คือ
1. การทำความเข้าใจว่า บริษัทใดที่ควรจะเข้าไปคุยและเชิญมามีส่วนรวมใน Consortium โดยมุ่งเน้นบริษัทที่ต้องการทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ และต้องการที่จะพัฒนาบริษัทตัวเอง เพื่อเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปในทางที่ดีขึ้น
2. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “บริบท” (Context) ของบริษัทนั้นๆ โดยพิจารณาถึงความต้องการในการที่จะช่วยประเทศไทย รวมถึงการยกระดับบริษัทของตนเองเพื่อให้แข่งขันได้ในสากล และ
3. การทำงานร่วมกับ AIS, AP Thailand และ KBank โดย SEAC จะต้องทำความเข้าใจว่า แต่ละบริษัทกำลังมีบริบทใดๆ เพื่อสรุปเรื่องราวข้อมูลก่อนส่งให้กลับทีมงานของ Stanford University เพื่อออกแบบหัวข้อวิจัย
Mr. Paul Marca and Mrs. Arinya Talerngsri. The Stanford Thailand Research Consortium
แล้วบทบาทของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมีอะไรบ้าง?
-การยกระดับความสามารถของคนไทยให้เท่าทันโลก
-การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย
-สร้างมาตรฐานคุณภาพชีวิตคนไทยให้สูงขึ้น
-ส่งเสริมการพัฒนาสังคมไปพร้อมๆ กับสิ่งแวดล้อม
Ms. Ronie Shilo, Senior Director of Program Strategy and Executive Education at the Stanford Center for Professional Development (SCPD)
ซึ่งทั้งหมดนี้จะอยู่ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาที่บริษัทในประเทศไทย จะได้ร่วมมือกับศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญระดับสูงจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกว่า 20 คน จาก 9 สาขาวิชา เช่น
วิศวกรรมศาสตร์
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
บริหารธุรกิจ
แพทยศาสตร์
และ อีกหลายๆ สาขา
Professor Michael Lepech, School of Engineering (Civil Environmental Engineering)
Professor Pamela J. Hinds School of Engineering (Management, Science Engineering)
Professor Charles (Chuck) Eesley, School of Engineering (Management, Science Engineering)
ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของโครงการทั้งหมดก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้งานวิจัยจากประเทศไทยสามารถต่อยอด พัฒนาและยกระดับมาตรฐานให้ดีขึ้น
จากเรื่องทั้งหมดนี้ ก็ถือเป็นการขับเคลื่อนโครงการวิจัยพัฒนาในประเทศไทยที่น่าสนใจ
วันนี้เรามีโอกาสได้เห็นองค์กรชั้นนำในประเทศอย่าง AIS, AP Thailand และ KBank ร่วมกันลงทุนเพื่อยกระดับงานวิจัย และการศึกษาในประเทศไทยไปพร้อมๆ กับมหาวิทยาลัยระดับโลก
ก็น่าติดตามกันต่อไปว่า.. การส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาประเทศไทยในครั้งนี้จะสร้างผลผลิตและนวัตกรรมอะไรใหม่ๆ ออกมาบ้าง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นก้าวแรกของประเทศไทยที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon