โอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาฯ ร่วมกับ AWC
ผู้สนับสนุน..
โอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาฯ ร่วมกับ AWC
โอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาฯ ร่วมกับ AWC
รู้ไหมว่า.. คุณเจริญและทายาทรุ่นที่สองกำลังจะนำอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
ภายใต้บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC
ภายใต้บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC
AWC ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักในการพัฒนารวมถึงการดำเนินกิจการโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำไลฟ์สไตล์แบบครบวงจรในประเทศไทย และมีสินทรัพย์รวมกว่า 92,350 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2562)
แล้วรายละเอียดของบริษัท และการเสนอขายหุ้น AWC มีอะไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาดูภาพรวมบริษัท AWC กันก่อน..
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาดูภาพรวมบริษัท AWC กันก่อน..
ถึงแม้ว่าชื่อ AWC อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักสำหรับหลายคน
แต่บริษัทนี้เป็นเจ้าของ และผู้พัฒนาและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำทั่วประเทศไทย ที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี
แต่บริษัทนี้เป็นเจ้าของ และผู้พัฒนาและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำทั่วประเทศไทย ที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี
โดยธุรกิจของ AWC สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจโรงแรมและการบริการ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ที่ประกอบด้วยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เน้นประกอบกิจการการค้า และธุรกิจอาคารสำนักงาน
สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมและบริการ ประกอบด้วยโรงแรมรวมทั้งหมด 27 แห่ง เช่น Bangkok Marriott Marquis Queen’s Park, ฮิลตัน สุขุมวิท, Bangkok Marriott Hotel The Surawongse, เลอ เมอริเดียน เชียงใหม่, Banyan Tree Samui ฯลฯ
สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมและบริการ ประกอบด้วยโรงแรมรวมทั้งหมด 27 แห่ง เช่น Bangkok Marriott Marquis Queen’s Park, ฮิลตัน สุขุมวิท, Bangkok Marriott Hotel The Surawongse, เลอ เมอริเดียน เชียงใหม่, Banyan Tree Samui ฯลฯ
โดย ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2562 AWC มีโรงแรมที่เปิดให้บริการแล้ว 14 แห่ง และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและแผนพัฒนาอีก 13 แห่ง แบ่งเป็นโรงแรม 11 แห่ง และโครงการ Mixed-use อีก 2 แห่ง ซึ่งรวมถึงโรงแรมที่บริษัทฯ จะเข้าลงทุนในอนาคตภายใต้สัญญาซื้อขายหุ้นปี 2562
ปัจจุบัน AWC มีห้องพักรวม 4,421 ห้อง และตั้งเป้าการเติบโตไว้กว่า 8,500 ห้อง..
ในขณะที่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ แบ่งออกเป็นอสังหาฯ เพื่อประกอบกิจการการค้า โดยบริษัท AWC มีโครงการรวมจำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง เป็นโครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว 9 แห่ง (ซึ่งรวมถึงโครงการเกทเวย์ เอกมัย ที่ AWC ได้เข้าบันทึกข้อตกลงปี 2562 เพื่อพิจารณาเข้าทำสัญญาซื้อโครงการเกทเวย์ เอกมัย) และโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 2 แห่ง ได้แก่ โครงการเออีซี เทรดเซ็นเตอร์ และคอมมูนิตี้ มาร์เก็ต บางกะปิ
ในขณะที่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ แบ่งออกเป็นอสังหาฯ เพื่อประกอบกิจการการค้า โดยบริษัท AWC มีโครงการรวมจำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง เป็นโครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว 9 แห่ง (ซึ่งรวมถึงโครงการเกทเวย์ เอกมัย ที่ AWC ได้เข้าบันทึกข้อตกลงปี 2562 เพื่อพิจารณาเข้าทำสัญญาซื้อโครงการเกทเวย์ เอกมัย) และโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 2 แห่ง ได้แก่ โครงการเออีซี เทรดเซ็นเตอร์ และคอมมูนิตี้ มาร์เก็ต บางกะปิ
AWC ยังได้เข้าทำบันทึกข้อตกลงปี 2562 เพื่อพิจารณาเข้าทำสัญญาซื้อโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ส่วนต่อขยายโดยภายในปี 2568 จะมีพื้นที่ให้เช่าสุทธิกลุ่มอสังหาฯ เพื่อประกอบกิจการการค้ารวมกว่า 415,000 ตร.ม.
นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของอาคารสำนักงานชั้นนำ 4 แห่ง โดยอาคารที่เราน่าจะรู้จักกันดี ก็คือ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ที่อยู่ใจกลางถนนสาทร ติดกับ BTS ช่องนนทรี ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุด เมื่อพิจารณาจากพื้นที่เช่าสุทธิในกรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของอาคารสำนักงานชั้นนำ 4 แห่ง โดยอาคารที่เราน่าจะรู้จักกันดี ก็คือ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ที่อยู่ใจกลางถนนสาทร ติดกับ BTS ช่องนนทรี ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุด เมื่อพิจารณาจากพื้นที่เช่าสุทธิในกรุงเทพฯ
และที่สำคัญ รู้หรือไม่ว่า
อาคารสำนักงานทั้งหมดของ AWC มีพื้นที่เช่าสุทธิรวมกันกว่า 270,000 ตารางเมตร
ซึ่งทำให้บริษัทนี้ กลายเป็นเจ้าของอาคารสำนักงานใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ..
อาคารสำนักงานทั้งหมดของ AWC มีพื้นที่เช่าสุทธิรวมกันกว่า 270,000 ตารางเมตร
ซึ่งทำให้บริษัทนี้ กลายเป็นเจ้าของอาคารสำนักงานใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ..
จากโครงสร้างทางธุรกิจข้างต้น แสดงให้เห็นว่า AWC จัดพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมทั้งธุรกิจโรงแรม และธุรกิจพื้นที่เช่าซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงที่น่าสนใจ
แล้วผลประกอบการล่าสุดของบริษัท AWC เป็นอย่างไร?
แล้วผลประกอบการล่าสุดของบริษัท AWC เป็นอย่างไร?
สำหรับกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องใช้เม็ดเงินในการลงทุนสูง ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ EBITDA มาเพื่อประกอบการพิจารณา เพราะ EBITDA เป็นตัวเลขก่อนค่าเสื่อมราคา ซึ่งจะสะท้อนกระแสเงินสดของบริษัทได้ชัดเจนขึ้น
งวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน ปี 2562
รายได้ 5,840.12 ล้านบาท
EBITDA 2,372.12 ล้านบาท
รายได้ 5,840.12 ล้านบาท
EBITDA 2,372.12 ล้านบาท
และถ้าดูที่ EBITDA ของ AWC ย้อนหลัง 3 ปี
ปี 2559 4,439.87 ล้านบาท
ปี 2560 4,680.62 ล้านบาท
ปี 2561 4,805.10 ล้านบาท
ปี 2560 4,680.62 ล้านบาท
ปี 2561 4,805.10 ล้านบาท
หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 3 - 5% ต่อปี
โดยรายได้หลักทุกๆ 100 บาทของบริษัทมาจาก
ธุรกิจโรงแรม 61%
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ 39%
(ณ วันที่ 30 มิ.ย. 62)
แล้วบริษัท AWC มีจุดแข็งอะไรบ้าง?
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ 39%
(ณ วันที่ 30 มิ.ย. 62)
แล้วบริษัท AWC มีจุดแข็งอะไรบ้าง?
หนึ่งในจุดแข็งสำคัญของ AWC คือ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน (Freehold) ของโครงการอสังหาริมทรัพย์กว่า 90% และมุ่งเน้นการลงทุนในประเทศไทยที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2008 - 2018 ที่ 10.1% ต่อปี (ข้อมูลจาก JLL)
เรื่องต่อมาคือ พันธมิตรทางธุรกิจของ AWC คือผู้บริหารโรงแรมชั้นนำระดับโลกกว่า 6 แห่ง ได้แก่ Marriott International Inc., Banyan Tree, Hilton, IHG, Melia และ Okura
ทำให้ AWC สามารถเข้าถึงข้อมูลนักท่องเที่ยวจากเครือข่ายสมาชิกกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก
นอกจากนี้ โครงการส่วนใหญ่ของ AWC ตั้งอยู่ในแหล่งที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น ย่านธุรกิจ CBD ใจกลางกรุงเทพ และเมืองท่องเที่ยวชั้นนำทั่วประเทศไทย...
จากรายละเอียดทั้งหมดนี้ ทำให้ AWC เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีจุดแข็งหลายด้าน และมีแนวโน้มที่จะเติบโตตามภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทย
และยังมีการวางแผนธุรกิจหลังการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อม และความมั่นคงของบริษัทที่จะต่อยอดเงินระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต
สำหรับการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของ AWC ครั้งนี้
สำหรับการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของ AWC ครั้งนี้
บริษัทจะนำเงินที่ได้รับไปซื้อกิจการและโครงการใหม่ๆ ลงทุนพัฒนา และ/หรือปรับปรุงทรัพย์สินเดิมของบริษัท และคืนเงินกู้ยืมธนาคาร หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย
โดยจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 6,957 ล้านหุ้น และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินไม่เกิน 1,043 ล้านหุ้น รวมทั้งหมด 8,000 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทหลังการ IPO
สำหรับผู้ที่สนใจ เราสามารถจองซื้อหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในระหว่างวันที่ 25 - 27 กันยายน 2562 ภายใต้ตัวย่อ AWC ราคาเสนอขาย 6 บาทต่อหุ้น ที่บริษัทหลักทรัพย์ทั้ง 4 แห่งที่เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย ซึ่งประกอบด้วย
1. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
2. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
3. บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด
รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 8 แห่ง ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
2. บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด
6. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
8. บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
คำเตือน
บทความนี้เขียนเพื่อให้ข้อมูลของบริษัทฯ ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหุ้นนี้แต่อย่างใด
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
สำหรับผู้ที่สนใจ เราสามารถจองซื้อหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในระหว่างวันที่ 25 - 27 กันยายน 2562 ภายใต้ตัวย่อ AWC ราคาเสนอขาย 6 บาทต่อหุ้น ที่บริษัทหลักทรัพย์ทั้ง 4 แห่งที่เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย ซึ่งประกอบด้วย
1. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
2. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
3. บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด
รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 8 แห่ง ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
2. บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด
6. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
8. บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
คำเตือน
บทความนี้เขียนเพื่อให้ข้อมูลของบริษัทฯ ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหุ้นนี้แต่อย่างใด
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ศึกษาข้อมูลบริษัทเพิ่มเติมได้ที่: http://investor.assetworldcorp-th.com