พัดลม Hatari รายได้เท่าไร
ทุกวันนี้พัดลมในประเทศไทย
เกือบทั้งหมดใช้ยี่ห้อ Hatari
ตอนแรก Hatari เริ่มจากแค่ร้านซ่อมพัดลม
เจ้าของ Hatari คือใคร
เกือบทั้งหมดใช้ยี่ห้อ Hatari
ตอนแรก Hatari เริ่มจากแค่ร้านซ่อมพัดลม
เจ้าของ Hatari คือใคร
ก่อนจะมาเป็นเจ้าตลาดพัดลมบ้านเรานั้น บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านซ่อมพัดลม
หลังจากนั้นจึงผลิตพัดลมให้กับแบรนด์ของญี่ปุ่นหลายราย
จนสุดท้ายค่อยเริ่มผลิตพัดลมออกจำหน่ายเป็นของตัวเองภายใต้ชื่อ Hatari และสามารถก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดพัดลมไฟฟ้าที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดในไทย
ซึ่งผู้ให้กำเนิด พัดลมฮาตาริ นั้นคือ คุณ จุน วนวิทย์ ที่ได้รับการจัดอันดับจาก Forbes Thailand เมื่อปีที่แล้ว ว่าเป็นคนที่รวยที่สุดในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 49 โดยมีทรัพย์สินรวมประมาณ 14,810 ล้านบาท
ธุรกิจหลักของ ฮาตาริ คือ เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายพัดลมรูปแบบต่างๆ เช่น พัดลมเคลื่อนที่ พัดลมอุตสาหกรรม พัดลมระบายอากาศ รวมไปถึงพัดลมไอเย็น โดยผลิตชิ้นส่วน 90% ด้วยตัวเอง
นอกเหนือจากธุรกิจพัดลมแล้ว ฮาตาริ ยังมีการขยายไปยังตลาดอื่นด้วย เช่น บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลส ที่รับปรึกษาออกแบบซอฟต์แวร์ รวมไปถึงขายหรือให้เช่าระบบอุปกรณ์สื่อสาร
สำหรับธุรกิจพัดลม ฮาตาริแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ การผลิตและการจัดจำหน่าย ผ่าน 2 บริษัทหลักๆ ในเครือวนวิทย์กรุ๊ป
บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด มีหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายพัดลม
ปี 2559 มีรายได้มากถึง 5,383 ล้านบาท
แต่ที่น่าสนใจคือบริษัทมีกำไร 24 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิแค่ 0.4% หรือคือ ทุกๆ ยอดขาย 100 บาท จะได้กำไรเพียง 40 สตางค์
บริษัทนี้น่าจะเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายของฮาตาริ ที่รับสินค้ามาจากโรงงานแล้วนำมาขายต่อสู่ผู้บริโภค โดยคิดส่วนต่างราคาเพิ่มไม่มากเพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบริษัท ซึ่งเป็นเรื่องปกติของบริษัทจัดจำหน่ายที่จะมีกำไรไม่มาก
บริษัท วนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งมีหน้าที่เป็นบริษัทผู้ผลิต
ปี 2559 บริษัทมีรายได้รวม 4,523 ล้านบาท และมีกำไร 244 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 5.4%
จะเห็นได้ว่ากำไรของ ฮาตาริ ตกอยู่ในบริษัทนี้เป็นส่วนใหญ่
ในส่วนของ บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด ที่ได้แตกธุรกิจออกไป
ปี 2559 มีรายได้รวม 542 ล้านบาท เป็นกำไร 44 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 8%
ปี 2559 มีรายได้รวม 542 ล้านบาท เป็นกำไร 44 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 8%
เมื่อเทียบกับบริษัทอย่างมาสเตอร์คูล หรือ KOOL ที่เน้นผลิตพัดลมไอเย็น ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
ปี 2559 มีรายได้รวม 890 ล้านบาท เป็นกำไร 87 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าบริษัท Hatari เป็นผู้นำตลาดที่ใหญ่กว่ามาก สินค้าพัดลมของฮาตาริน่าจะเป็นสินค้าประจำบ้านของทุกบ้านไปแล้ว
ถ้าถามว่าบริษัทไหนในประเทศไทยจะยังอยู่ไปอีกหลายสิบปี สินค้าไม่มีเสื่อมความนิยม
ก็คงต้องตอบว่าบริษัท ฮาตาริ เป็นหนึ่งในนั้น
เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ยังไงก็ต้องใช้พัดลม จะให้ติดเครื่องปรับอากาศทุกที่ก็คงเป็นไปไม่ได้
เว้นเสียแต่ว่าอากาศโลกแปรปรวน กลับทำให้เมืองไทยมีอากาศหนาว หิมะตก ไว้ถึงเวลานั้นค่อยว่ากันอีกที..