[ข่าวด่วน] แบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ยแล้ว
[ข่าวด่วน] แบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ยแล้ว
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา..
แบงก์ชาติมีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%
จาก 1.75% เหลือ 1.5%
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา..
แบงก์ชาติมีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%
จาก 1.75% เหลือ 1.5%
เรื่องนี้เป็นเพราะ การส่งออกประเทศไทยที่หดตัวลง รวมถึงเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเกณฑ์
การลดดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และ ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอนาคต
การลดดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และ ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอนาคต
แล้วเรื่องนี้ส่งผลกระทบอะไรอีกบ้าง?
อย่างแรกเลยก็คือต้นทุนทางการเงินทั้งระบบจะต่ำลงทันที..
ผู้ที่กู้ซื้อบ้าน และบริษัทที่ขอสินเชื่อ ก็จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ลดลง ส่วนคนที่มีสินเชื่ออยู่แล้ว ถ้ามีข้อเสนอสินเชื่อใหม่ที่เหมาะสมก็ควร รีไฟแนนซ์
เรื่องนี้ธนาคารขนาดใหญ่อาจไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก
แต่ที่น่าสนใจคือ ธุรกิจให้สินเชื่อรายย่อย
รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินโดยเฉลี่ยมีต้นทุนทางการเงินเพียง 3% เพื่อปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ที่อัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 18%
รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินโดยเฉลี่ยมีต้นทุนทางการเงินเพียง 3% เพื่อปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ที่อัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 18%
การลดดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะทำให้ต้นทุนต่ำลงไปอีก ในขณะที่ยังมีรายได้ดอกเบี้ยในอัตราเท่าเดิม
เรื่องนี้จึงทำให้ หลังการประกาศมติลดเบี้ยแล้ว
บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อรายย่อย ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด
บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อรายย่อย ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด
MTC เพื่มขึ้น 5.79%
SAWAD เพิ่มขึ้น 5.05%
AEONTS เพิ่มขึ้น 4.52%
KTC เพิ่มขึ้น 3.24%
TISCO เพิ่มขึ้น 2.51%
KKP เพิ่มขึ้น 2.46%
SAWAD เพิ่มขึ้น 5.05%
AEONTS เพิ่มขึ้น 4.52%
KTC เพิ่มขึ้น 3.24%
TISCO เพิ่มขึ้น 2.51%
KKP เพิ่มขึ้น 2.46%
ส่วนธนาคารขนาดใหญ่ดูเหมือนจะเป็นแง่ลบ เพราะต้นทุนของธนาคารใหญ่จะเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งต่ำอยู่แล้ว การลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็เหมือนกับรายได้ดอกเบี้ยจะลด แต่ต้นทุนไม่สามารถลดได้มากนัก จึงเกิดความกังวลในเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ยของธนาคารขนาดใหญ่
KBANK ลดลง 2.59%
SCB ลดลง 1.87%
BBL ลดลง 1.69%
KTB ลดลง 2.11%
SCB ลดลง 1.87%
BBL ลดลง 1.69%
KTB ลดลง 2.11%
นอกจากต้นทุนทางการเงินแล้ว..
เงินบาทไทยก็อ่อนตัวลงเหลือ 30.84 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ จาก 30.71 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวานนี้
เงินบาทไทยก็อ่อนตัวลงเหลือ 30.84 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ จาก 30.71 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวานนี้
เนื่องจากเงินลงทุนต่างชาติไหลออกไปยังประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า
ซึ่งการที่ค่าเงินบาทอ่อนลง ก็อาจทำให้การส่งออกของประเทศไทยอาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
ย้อนกลับมาที่เรื่องดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อย
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่น่าจับตา
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่น่าจับตา
ก็ต้องคอยติดตามว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการอะไรตามมา เพื่อทำให้รายย่อยสามารถกู้เงินได้อัตราดอกเบี้ยถูกลง ตามดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง
ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ทำอะไร ก็หมายความว่า การลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ ประโยชน์จะไปตกกับสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อให้รายย่อย มากกว่ารายย่อยที่กู้เงินนั่นเอง..
หมายเหตุ: ดอกเบี้ยนโยบาย หมายถึง ดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศ กำหนดขึ้นเป็นอัตราอ้างอิงให้กับธนาคาร ในการกำหนดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้
----------------------
Blockdit แอปที่เป็นเหมือน คลังความรู้ขนาดใหญ่ อ่านฟรี
โหลดเลย Blockdit.com/download
----------------------
----------------------
Blockdit แอปที่เป็นเหมือน คลังความรู้ขนาดใหญ่ อ่านฟรี
โหลดเลย Blockdit.com/download
----------------------