ผู้สนับสนุน.. อนาคตของ GULF บริษัทพลังงาน รายใหญ่ของไทย
ผู้สนับสนุน..
อนาคตของ GULF บริษัทพลังงาน รายใหญ่ของไทย / โดย ลงทุนแมน
อนาคตของ GULF บริษัทพลังงาน รายใหญ่ของไทย / โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงกัลฟ์ บางคนอาจไม่คุ้นเคยสักเท่าไร
แต่รู้หรือไม่ว่า ธุรกิจของกัลฟ์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคนตลอดเวลา
GULF เป็นบริษัทเกี่ยวกับอะไร
แต่รู้หรือไม่ว่า ธุรกิจของกัลฟ์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคนตลอดเวลา
GULF เป็นบริษัทเกี่ยวกับอะไร
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
GULF เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายพลังงานรายใหญ่ของประเทศไทย
ซึ่งสินค้าหลักของ GULF ในปัจจุบันก็คือ ไฟฟ้า นั่นเอง
ซึ่งสินค้าหลักของ GULF ในปัจจุบันก็คือ ไฟฟ้า นั่นเอง
เรื่องราวของบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) เริ่มขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้วโดยคุณสารัชถ์ รัตนาวะดี
โดยเป็นบริษัท Holding Company ที่ถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเย็น และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงธุรกิจไฟฟ้าเป็นหลัก โดยธุรกิจพลังงานไฟฟ้าของ GULF สามารถแบ่งตามประเภทโครงการของโรงไฟฟ้าได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
กลุ่มที่ 1 โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือ IPP ปัจจุบันเปิดดำเนินการแล้ว 2 แห่ง ที่สระบุรี และอยุธยา และมีที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีก 2 แห่ง ที่ชลบุรีและระยอง
กลุ่มที่ 2 โคเจนเนอเรชัน หรือ SPP เปิดดำเนินการแล้วทั้งหมด 19 โครงการ
กลุ่มที่ 3 พลังงานหมุนเวียน มีจำนวน 9 โครงการ ซึ่งโรงไฟฟ้าประเภทนี้ มีอยู่ทั้งในไทยและในต่างประเทศ โดยโครงการที่เปิดดำเนินการในไทยแล้วนั้น เป็นโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาจำนวน 4 โครงการ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลที่กำลังก่อสร้างที่จังหวัดสงขลา และยังได้เข้าไปลงทุนผลิตพลังงานไฟฟ้าในต่างประเทศเป็นครั้งแรกที่ประเทศเวียดนามโดยเป็นโครงการพลังแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งเปิดดำเนินการแล้ว 2 แห่ง ณ จังหวัดเต็ยนินห์ มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 68.8 เมกะวัตต์ และ 50 เมกะวัตต์ตามลำดับ และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 2 แห่ง
กลุ่มที่ 4 โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติแบบ Captive จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้า DIPWP ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Duqm ในประเทศโอมาน
สำหรับธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้ลงรายละเอียด ก็จะมีธุรกิจอย่าง การจัดจําหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ และ การให้บริการบริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้า เป็นต้น
เราจะเห็นว่าธุรกิจของ GULF มีความหลากหลายและเกี่ยวข้องกับหลายส่วน ตั้งแต่ระดับของธุรกิจภาคนิคมอุตสาหกรรมไปจนถึงสังคมและครอบครัว
แสดงว่า ถ้า GULF จะสามารถเติบโตขึ้นไปได้อย่างยั่งยืน ก็ต่อเมื่อทุกภาคส่วนเติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กัน
ความเกี่ยวข้องนี้เอง ทำให้การดำเนินธุรกิจของ GULF ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับภาคส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องธุรกิจด้วย ซึ่งอาจแตกต่างจากหลายบริษัทที่อาจจะโฟกัสเฉพาะเรื่องการขยายกิจการของตัวเองเป็นหลัก
โดย GULF มีโครงการต่างๆ ภายใต้โปรเจกต์ที่ชื่อว่า HELPS ซึ่งมาจากแนวคิดในการสร้างประโยชน์ให้สังคมใน 5 ด้าน คือ Health, Enterprise, Learning, Planet และ Sponsorship
ยกตัวอย่างเช่น
การจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ
โครงการแปลงนาสาธิต เพื่อสนับสนุนการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้แก่เกษตรกร และชุมชน
โครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมกับมหาวิทยาลัย University of Southern California (USC) ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทเข้าศึกษาดูงานและฝึกงานในประเทศไทย
โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในชุมชนรอบๆ โรงไฟฟ้าทุกแห่ง
และการสนับสนุนด้านการกีฬา โดยเฉพาะด้านฟุตบอล ไม่ว่าจะเป็นสปอนเซอร์หลักในฟุตบอลโลก 2018 การจัดฟุตบอลคลินิกเยาวชนร่วมกับทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด รวมถึงการเฟ้นหาเยาวชนไปฝึกฝนกับสโมสรใหญ่ระดับโลกอย่าง โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ในปีนี้
หากอยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการเพื่อสังคมของ GULF สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่เว็บไซต์ gulf.co.th
แล้วการเติบโตทางธุรกิจของ GULF เป็นอย่างไร?
ในปี 2561 รายได้รวมจากการดำเนินธุรกิจ อยู่ที่ 20,094.5 ล้านบาท เติบโตแบบก้าวกระโดดถึง 135.6% จากปีก่อนหน้า
โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. และ กฟภ. 12,684.6 ล้านบาท
รายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม 3,661.1 ล้านบาท
รายได้จากการขายไอน้ำให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม 535.4 ล้านบาท
รายได้ค่าบริหารจัดการ 300 ล้านบาท
รายได้อื่นๆ อีก 2,913.4 ล้านบาท
รายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม 3,661.1 ล้านบาท
รายได้จากการขายไอน้ำให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม 535.4 ล้านบาท
รายได้ค่าบริหารจัดการ 300 ล้านบาท
รายได้อื่นๆ อีก 2,913.4 ล้านบาท
ในส่วนของกำไร
กำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 3,028.1 ล้านบาท ลดลง 12.3%
กำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 3,028.1 ล้านบาท ลดลง 12.3%
แต่ถ้าคิดที่กำไรสุทธิก่อนผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 2,826.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 81.3%
หากวิเคราะห์การเติบโตของ GULF ปัจจัยหลักมาจาก รายได้จากการขายและบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 4,350.4 ล้านบาทในปี 2560 เป็น 17,181.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 294.9%
ซึ่งเกิดจากการรับรู้รายได้ของโรงไฟฟ้าในไทยที่ทยอยเปิดให้ดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นในช่วงตลอดปี 2561 ที่ผ่านมา
ส่วนในอนาคต ยังมีโรงไฟฟ้าอีกหลายโครงการทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยบางแห่งอยู่ในขั้นตอนดำเนินการก่อสร้าง หากก่อสร้างแล้วเสร็จ กำลังการผลิตทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 11,910 เมกะวัตต์
และเมื่อเดือนกันยายน 2561 คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ก็ได้ลงนามสัญญาร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทโอมานออยล์ เอส.เอ.โอ.ซี (โอโอซี) สำหรับการเปิดโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาด 326 เมกะวัตต์ในประเทศโอมาน
คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ลงนามร่วมทุนกับ Mr. Isam Al Zadjali (CEO – Oman Oil Company S.A.O.C)
แสดงว่าการเติบโตของ GULF จะไม่ใช่แค่การผลิตและจัดจำหน่ายไฟฟ้าในประเทศไทยเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะได้บุกเข้าไปลงทุนใน CLMV และตะวันออกกลางแล้ว
ด้วยศักยภาพที่แข็งแกร่งของ GULF ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ส่งผลให้ GULF ได้รับ รางวัล Best Deal of The Year 2018 สำหรับธุรกรรมทางการเงินที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ดังนั้น โครงการต่อไปของ GULF จะเป็นการลงทุนในรูปแบบไหน และ GULF จะกลายหนึ่งในบริษัทพลังงานของไทยที่สามารถก้าวไปสู่ระดับโลกได้อย่างไร เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และต้องติดตามกันในอนาคต..