สรุปสถานะการเงินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
สรุปสถานะการเงินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย / โดย ลงทุนแมน
จุดเริ่มต้นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
มาจนถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 130 ปี
การพัฒนาของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
มาจนถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 130 ปี
การพัฒนาของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ระบบการเดินทางด้วยรถไฟของไทยนั้น เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2433 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนากรมรถไฟขึ้น และทรงเปิดการเดินรถไฟครั้งแรกในปี 2436
การก่อตั้งระบบรถไฟของไทยในสมัยนั้น ก็เพื่อให้เมืองหลวงสามารถติดต่อกับพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าการเดินทางด้วยเกวียน และการเดินทางโดยเรือซึ่งใช้เวลานาน
แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ
แม้ระบบรถไฟของประเทศไทยจะเกิดขึ้นมาหลังประเทศญี่ปุ่นเพียงไม่กี่ปี
แต่การพัฒนาค่อนข้างล่าช้าพอสมควร
แม้ระบบรถไฟของประเทศไทยจะเกิดขึ้นมาหลังประเทศญี่ปุ่นเพียงไม่กี่ปี
แต่การพัฒนาค่อนข้างล่าช้าพอสมควร
ปี 2494 ประเทศไทยมีทางรถไฟระยะทาง 3,377 กิโลเมตร
ปี 2561 ประเทศไทยมีทางรถไฟระยะทาง 4,070 กิโลเมตร
ปี 2561 ประเทศไทยมีทางรถไฟระยะทาง 4,070 กิโลเมตร
Cr. THAIPUBLICA
หมายความว่า ในระยะเวลา 67 ปี ระยะทางของทางรถไฟเพิ่มขึ้นเพียง 20%
ที่น่าสนใจคือ ทางรถไฟในประเทศไทยนั้น กว่า 91% เป็นการเดินรถทางเดียว
มีเพียง 9% เป็นการเดินรถ 2 ทาง หรือ 3 ทาง
ซึ่งระบบเดินรถทางเดียวนั้นมีอุปสรรคตรงที่ทำให้รถไฟขบวนหนึ่งต้องเสียเวลาหลบในช่วงที่รถไฟอีกขบวนจะเดินทางมา
เมื่อระยะทางไม่ครอบคลุมการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ ประกอบกับความล่าช้า การเดินทางด้วยรถไฟจึงยังไม่ใช่ตัวเลือกลำดับต้นๆ สำหรับการเดินทางของคนไทย
โดยรถยนต์ ยังเป็นพาหนะที่คนไทยนิยมใช้เดินทางมากที่สุด ซึ่งสัดส่วนการเดินทางของคนไทยตามยานพาหนะนั้น
97% เดินทางด้วยรถยนต์ เช่น รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารสาธารณะ
3% เดินทางด้วยรถไฟ เครื่องบิน และการเดินทางอื่นๆ
3% เดินทางด้วยรถไฟ เครื่องบิน และการเดินทางอื่นๆ
และที่น่าตกใจคือ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้โดยสารรถไฟในประเทศไทย ลดลงกว่า 5.6 ล้านคน
ปี 2551 จำนวนผู้โดยสารรถไฟเท่ากับ 42.4 ล้านคน
ปี 2561 จำนวนผู้โดยสารรถไฟเท่ากับ 36.8 ล้านคน
ปี 2551 จำนวนผู้โดยสารรถไฟเท่ากับ 42.4 ล้านคน
ปี 2561 จำนวนผู้โดยสารรถไฟเท่ากับ 36.8 ล้านคน
Cr. THAIPUBLICA
นอกจากปริมาณผู้โดยสารที่ลดลง การรถไฟแห่งประเทศไทยยังมีความท้าทายอย่างอื่นที่รออยู่
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องบุคลากรในองค์กร โดยผู้ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป มีสัดส่วนถึง 73% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานขององค์กร ถ้าพนักงานรุ่นใหม่ขึ้นมารับช่วงต่อไม่ทัน
ยังไม่รวมเครื่องมือและอุปกรณ์บางส่วนของรถไฟไทย ที่มีอายุการใช้งานมานาน จนอาจส่งผลต่อความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสาร
รายได้และกำไรของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ปี 2560 รายได้ 15,090 ล้านบาท ขาดทุน 10,568 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 15,770 ล้านบาท ขาดทุน 14,859 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 15,770 ล้านบาท ขาดทุน 14,859 ล้านบาท
โดยในปี 2561 สัดส่วนรายได้ใหญ่สุด 3 อันดับแรก ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คือ
1. รายได้จากการขนส่ง 5,763 ล้านบาท
2. รายได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 3,857 ล้านบาท
3. รายได้จากการบริหารสินทรัพย์ 3,523 ล้านบาท
2. รายได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 3,857 ล้านบาท
3. รายได้จากการบริหารสินทรัพย์ 3,523 ล้านบาท
หลายคนคงสงสัยว่าการบริหารสินทรัพย์ ของการรถไฟคืออะไร?
เมื่อไปดูรายละเอียดก็พบว่า ส่วนใหญ่เป็นรายได้ค่าเช่าที่ดิน และค่าเช่าอาคาร ซึ่งการรถไฟเป็นเจ้าของที่ดินที่มีมูลค่าหลายแห่งในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น เซ็นทรัลลาดพร้าว ก็เป็นที่ดินของการรถไฟ
Cr. Wongnai
ในโลกนี้
ถ้าเรามีธุรกิจอยู่ในมือ
ต่อให้เรามีรายได้มากแค่ไหน แต่ถ้าเราควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ได้
ผลลัพธ์ก็คือขาดทุน..
ถ้าเรามีธุรกิจอยู่ในมือ
ต่อให้เรามีรายได้มากแค่ไหน แต่ถ้าเราควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ได้
ผลลัพธ์ก็คือขาดทุน..
ปี 2561 รายการค่าใช้จ่ายใหญ่สุด 3 อันดับแรก ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คือ
1. ค่าใช้จ่ายเดินรถขนส่ง 7,981 ล้านบาท
2. ค่าเสื่อมราคา 5,660 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายบำเหน็จและบำนาญ 4,317 ล้านบาท
2. ค่าเสื่อมราคา 5,660 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายบำเหน็จและบำนาญ 4,317 ล้านบาท
เมื่อรวมรายการค่าใช้จ่ายทุกอย่างเข้าด้วยกันแล้ว ตัวเลขมากกว่ารายได้ ผลที่ได้คือขาดทุน 14,859 ล้านบาท ซึ่งการขาดทุนแบบนี้เป็นการขาดทุนต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน จนทำให้เกิดหนี้พอกพูน สะสมขึ้นใน การรถไฟแห่งประเทศไทย
เมื่อค่าใช้จ่ายสูง มีหนี้สูง ก็ต้องมีดอกเบี้ยสูง ไม่มีเงินไปลงทุนเพิ่มเติม
เมื่อไม่ลงทุน รายได้ก็ไม่เพิ่ม วนเวียนเป็นปัญหาที่ยากจะหลุดพ้น
เมื่อไม่ลงทุน รายได้ก็ไม่เพิ่ม วนเวียนเป็นปัญหาที่ยากจะหลุดพ้น
การรถไฟคงจำเป็นต้องร่วมทุนกับภาคเอกชนเพื่อแก้ปัญหานี้ ทั้งโครงการเดินรถใหม่ๆ และการพัฒนาที่ดินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ไม่เช่นนั้นองค์กรนี้ก็จะต้องพึ่งพาการชดเชยจากภาครัฐไปอีกนาน
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ปี 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีหนี้สินทั้งหมดมากถึง 604,450 ล้านบาท ตัวเลขนี้เป็น 3 เท่า ของงบประมาณกระทรวงคมนาคมทั้งกระทรวงที่ 183,733 ล้านบาท ในปี 2562
----------------------
อ่านลงทุนแมนสนุกขึ้น
อ่านในแอป Blockdit
โหลดที่ http://www.blockdit.com
----------------------
References
-http://www.railway.co.th
-https://th.wikipedia.org/wiki/การรถไฟแห่งประเทศไทย
-https://en.wikipedia.org/wiki/Transport_in_Thailand
-https://www.prachachat.net/property/news-287611
-http://service.nso.go.th
ปี 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีหนี้สินทั้งหมดมากถึง 604,450 ล้านบาท ตัวเลขนี้เป็น 3 เท่า ของงบประมาณกระทรวงคมนาคมทั้งกระทรวงที่ 183,733 ล้านบาท ในปี 2562
----------------------
อ่านลงทุนแมนสนุกขึ้น
อ่านในแอป Blockdit
โหลดที่ http://www.blockdit.com
----------------------
References
-http://www.railway.co.th
-https://th.wikipedia.org/wiki/การรถไฟแห่งประเทศไทย
-https://en.wikipedia.org/wiki/Transport_in_Thailand
-https://www.prachachat.net/property/news-287611
-http://service.nso.go.th
Tag: การรถไฟแห่งประเทศไทย