เมื่อไหร่ ไทยจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
เมื่อไหร่ ไทยจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว / โดย ลงทุนแมน
เราได้ยินกันมานานว่า ไทย เป็นประเทศกำลังพัฒนา
30 ปีที่แล้วก็กำลังพัฒนา
10 ปีที่แล้วก็กำลังพัฒนา
แล้วเมื่อไหร่ ไทยจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
คำว่า กำลังพัฒนา กับ พัฒนาแล้ว มีอะไรเป็นตัวชี้วัด
30 ปีที่แล้วก็กำลังพัฒนา
10 ปีที่แล้วก็กำลังพัฒนา
แล้วเมื่อไหร่ ไทยจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
คำว่า กำลังพัฒนา กับ พัฒนาแล้ว มีอะไรเป็นตัวชี้วัด
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า ในสมัย 20 ปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยมีการเติบโตที่รวดเร็ว จนหลายฝ่ายคาดหมายว่า เราจะเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย
ตัวที่ 1 - 4 คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน ซึ่งสี่ประเทศนี้ปัจจุบันได้กลายเป็น ประเทศพัฒนา (Developed Country) เรียบร้อยแล้ว
ประเทศพัฒนาแล้ว เป็นคำที่ใช้เรียก ประเทศที่มีความมั่งคั่งเชิงเศรษฐกิจ มีอุตสาหกรรมการผลิต ภาคบริการ รวมถึงการมีระบบสาธารณูปโภค และระดับคุณภาพชีวิต ในเกณฑ์ที่ดี
มีหลายปัจจัยที่ใช้ชี้วัดสถานะดังกล่าว แต่สิ่งที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบ คือ ด้านรายได้
โดยประเทศที่มีรายได้สูง ย่อมมีแนวโน้มเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่า
ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารโลก ได้แบ่งกลุ่มประเทศ ตามรายได้ประชาชาติ (Gross National Income : GNI) ซึ่งหมายถึง รายได้ที่สร้างขึ้นโดยประชากรของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก ดังต่อไปนี้
กลุ่มประเทศรายได้น้อย
ประชากร มีรายได้เฉลี่ย ต่ำกว่า 32,000 บาทต่อปี
ประชากร มีรายได้เฉลี่ย ต่ำกว่า 32,000 บาทต่อปี
กลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงปานกลาง
ประชากร มีรายได้เฉลี่ย 32,000 - 124,000 บาทต่อปี
ประชากร มีรายได้เฉลี่ย 32,000 - 124,000 บาทต่อปี
กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางถึงสูง
ประชากร มีรายได้เฉลี่ย 124,000 - 382,000 บาทต่อปี
ประชากร มีรายได้เฉลี่ย 124,000 - 382,000 บาทต่อปี
กลุ่มประเทศรายได้สูง
ประชากร มีรายได้เฉลี่ย สูงกว่า 382,000 บาทต่อปี
ประชากร มีรายได้เฉลี่ย สูงกว่า 382,000 บาทต่อปี
สำหรับประเทศไทย ได้เข้าสู่กลุ่มรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 หรือเมื่อ 43 ปีที่แล้ว และในปัจจุบัน ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 189,000 บาทต่อปี ซึ่งทำให้ประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่มเดิม
ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่า หากเศรษฐกิจไทย เติบโตราว 3.5% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยในระยะหลังนั้น เราจะยังอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง และเป็นประเทศกำลังพัฒนาต่อไปอีกอย่างน้อย 30 ปี ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ประเทศที่มีรายได้สูง หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว
ในอดีต ไทยเคยถูกคาดหมายว่า จะเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย เพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
แต่เมื่อไปเทียบกับเสืออีกสี่ตัว จะพบว่าตอนนี้ทุกรายอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้สูง และถูกจัดให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว กันทั้งหมด
รายได้ประชาชาติเฉลี่ย
สิงคโปร์ 1,730,000 บาทต่อปี
ฮ่องกง 1,470,000 บาทต่อปี
เกาหลีใต้ 900,000 บาทต่อปี
ไต้หวัน 795,000 บาทต่อปี
สิงคโปร์ 1,730,000 บาทต่อปี
ฮ่องกง 1,470,000 บาทต่อปี
เกาหลีใต้ 900,000 บาทต่อปี
ไต้หวัน 795,000 บาทต่อปี
สาเหตุที่ประเทศไทย ยังตามเสือตัวอื่นไม่ทัน เนื่องจากเรากำลังเจอความท้าทาย ที่เรียกว่า กับดักรายได้ปานกลาง
คำนี้ หมายถึง สภาวะที่ประเทศก้าวจากการมีรายได้น้อย มาสู่รายได้ปานกลางได้อย่างรวดเร็ว แต่หลังจากนั้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกลับชะลอลงอย่างมีนัย และไม่สามารถยกตัวเองไปสู่ระดับรายได้สูงต่อได้
เพราะประเทศเหล่านี้ ได้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะต้นทุนค่าแรง จากการที่ประเทศอื่นที่เพิ่งเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมในลักษณะเดียวกันแต่ค่าแรงถูกกว่า ส่งผลให้เสียเปรียบด้านต้นทุนการผลิต
ในขณะเดียวกัน ก็ยังติดกับดักของการต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ที่จะทำให้สินค้ามีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาของภาคบริการที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้
ตัวอย่างของเรื่องนี้ก็คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของเกาหลีใต้และไต้หวัน หรือการเป็นศูนย์กลางทางการเงิน อย่างสิงคโปร์และฮ่องกง
แล้วประเทศไทยจะหลุดพ้นจากกับดักนี้ได้อย่างไร?
ปัจจัยสำคัญของเรื่องนี้ก็คือการลงทุนพัฒนาประสิทธิภาพ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงาน ไปสู่การเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง ซึ่งมีคู่แข่งน้อยราย ซึ่งจะทำให้รายได้ประชาชาติของประเทศเพิ่มสูงขึ้นได้
หากทำได้ เราอาจจะสามารถเร่งอัตราการเติบโตได้อีกครั้ง และเข้าใกล้คำว่า พัฒนาแล้ว มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม
รายได้ ไม่ใช่ตัวชี้วัดระดับการพัฒนาเพียงอย่างเดียว คงต้องมีการส่งเสริมปัจจัยอื่นควบคู่กันไปด้วย เช่น การกระจายรายได้ โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค คุณภาพชีวิต ระดับการศึกษา
รายได้ ไม่ใช่ตัวชี้วัดระดับการพัฒนาเพียงอย่างเดียว คงต้องมีการส่งเสริมปัจจัยอื่นควบคู่กันไปด้วย เช่น การกระจายรายได้ โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค คุณภาพชีวิต ระดับการศึกษา
เรื่องราวนี้แสดงให้เห็นว่า
การจะเป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่า “ประเทศไทย” คือประเทศที่เศรษฐกิจและสังคม พัฒนาแล้วนั้น เป็นเส้นทางที่ยังอยู่อีกยาวไกล
ทั้งที่เมื่อก่อนเรามีศักยภาพที่สามารถไปถึงจุดนั้นได้
เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเรามีโอกาสไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร เราต้องคิดและทำทุกวิถีทางที่จะรักษาโอกาสนั้นไว้
เพราะถ้าหยุดชะงักไป อาจจะทำให้ต้องเสียเวลามาเริ่มต้นใหม่
และกว่าที่จะสตาร์ตเครื่อง เริ่มต้นใหม่
เราก็เห็นคนอื่นออกนำไปไกลแล้ว..
----------------------
แม้ประเทศไทยจะยังไม่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่มูลค่าการท่องเที่ยวของไทยก็สูงไม่แพ้ใคร อ่านเรื่องนี้ได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5c654cc062edde3ca15513a9
เราก็เห็นคนอื่นออกนำไปไกลแล้ว..
----------------------
แม้ประเทศไทยจะยังไม่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่มูลค่าการท่องเที่ยวของไทยก็สูงไม่แพ้ใคร อ่านเรื่องนี้ได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5c654cc062edde3ca15513a9
ติดตามเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน ในแอป blockdit โหลดได้ที่ http://www.blockdit.com
สั่งซื้อหนังสือลงทุนแมน 9.0 ได้ที่
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือ-ลงทุนแมน-9.0-i.116732911.1933827833
----------------------
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Developed_country
-https://datahelpdesk.worldbank.org/knowledgebase/articles/906519-world-bank-country-and-lending-groups
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Middle_income_trap
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_7Nov2017.pdf
----------------------
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Developed_country
-https://datahelpdesk.worldbank.org/knowledgebase/articles/906519-world-bank-country-and-lending-groups
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Middle_income_trap
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_7Nov2017.pdf