การกลับมาของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
การกลับมาของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ / โดย ลงทุนแมน
“สิ่งที่ดูปลอดภัยอาจจะเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด”
นิวเคลียร์ เคยเป็นหนึ่งในทางเลือกยอดนิยมของการนำมาผลิตไฟฟ้า
เพราะนอกจากจะไม่สร้างมลพิษแล้ว
ยังมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ถูกกว่าแบบอื่นๆ อีกด้วย
เพราะนอกจากจะไม่สร้างมลพิษแล้ว
ยังมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ถูกกว่าแบบอื่นๆ อีกด้วย
แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
มุมมองนี้ก็เปลี่ยนไป
ทำไมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึงเสื่อมความนิยม
แล้วอนาคตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นอย่างไร
มุมมองนี้ก็เปลี่ยนไป
ทำไมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึงเสื่อมความนิยม
แล้วอนาคตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ถ้าเราเปรียบเทียบต้นทุนโดยประมาณของการผลิตไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (kWh) ด้วยเชื้อเพลิงต่างๆ
จากข้อมูลในหนังสือเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของ Giacobello ปี 2018 พบว่า
จากข้อมูลในหนังสือเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของ Giacobello ปี 2018 พบว่า
ถ่านหินอยู่ที่ 0.59 บาท
ก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 0.85 บาท
น้ำมันอยู่ที่ 1.20 บาท
ก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 0.85 บาท
น้ำมันอยู่ที่ 1.20 บาท
ส่วนนิวเคลียร์อยู่ที่ 0.60 บาท แพงกว่าถ่านหินเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าถ่านหินจะเป็นต้นทุนเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกสุด
แต่ถ่านหินเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงที่มีต้นกำเนิดมาจากฟอสซิล ซึ่งเมื่อถูกเผาไหม้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนในเวลาต่อมา
ไม่เพียงเท่านั้น โรงงานที่ใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้ายังมีการปล่อยมลพิษอื่นๆ อีกด้วย เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, โลหะที่เป็นพิษ, สารหนู, แคดเมียม และปรอท
นิวเคลียร์จึงเคยเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ถูกจับตามอง
เพราะว่านอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดแล้ว ยังมีราคาที่ไม่ต่างกับการใช้ถ่านหินอีกด้วย
เพราะว่านอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดแล้ว ยังมีราคาที่ไม่ต่างกับการใช้ถ่านหินอีกด้วย
ในปี 1954 รัสเซียเป็นประเทศแรกที่ได้ริเริ่มการนำนิวเคลียร์มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก
หลังจากนั้นไม่นาน การขยายตัวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ
พบว่าในปี 1969 ทั่วโลกมีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สูงเกือบ 40 โรงภายในระยะเวลาปีเดียว
พบว่าในปี 1969 ทั่วโลกมีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สูงเกือบ 40 โรงภายในระยะเวลาปีเดียว
ดูเหมือนว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังจะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลกไปแล้วจริงๆ
แต่ผ่านไปไม่นาน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ได้มอบฝันร้ายครั้งใหญ่ให้กับโลกนี้
แต่ผ่านไปไม่นาน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ได้มอบฝันร้ายครั้งใหญ่ให้กับโลกนี้
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 1986 เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ใกล้เมืองพริเพียต แคว้นเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครนเกิดพลังงานพุ่งขึ้นสูงอย่างฉับพลัน
แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับไม่ทำงาน
เตาปฏิกรณ์เกิดการระเบิดและลุกไหม้ขึ้น ตามมาด้วยฝุ่นที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
และกระจายตัวออกไปเป็นบริเวณกว้าง
และกระจายตัวออกไปเป็นบริเวณกว้าง
พบว่ามีผู้เสียชีวิตขณะที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นทันทีประมาณ 31 คน พร้อมกับส่งผลกระทบต่อคนงาน, ผู้อพยพ และผู้อาศัยในละแวกพื้นที่นั้นอีกเกือบ 600,000 คน
ซึ่งในจำนวนนี้ มีรายงานคาดการณ์ว่าเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่เกิดจากรังสีมากถึง 4,000 คน
ถ้าใครคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้รุนแรงแล้ว อาจจะต้องคิดใหม่เลยทีเดียว
เพราะผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น
เพราะผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น
เช้าของวันที่ 28 เมษายน หลังจากเหตุการณ์ระเบิดที่เชอร์โนบิล
คนงานที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Forsmark ประเทศสวีเดนซึ่งอยู่ห่างจากเชอร์โนบิลประมาณ 1,100 กิโลเมตร กลับตรวจพบอนุภาคกัมมันตรังสีบนเสื้อผ้า
ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ ภายหลังการตรวจสอบพบว่า กัมมันตรังสีได้ปนเปื้อนคิดเป็นพื้นที่เกือบ 200,000 กิโลเมตรและแพร่กระจายไปไกลถึงอิตาลี
ค่าใช้จ่ายในการจัดการกับเชอร์โนบิลในช่วงแรก สูงถึง 5.7 แสนล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนเงินที่มหาศาลในขณะนั้น และเรื่องนี้ทำให้เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตต้องสั่นคลอนไปหลายปี
ประเทศเบลารุสซึ่งอยู่ใกล้กับเชอร์โนบิลหมดเงินไปรวมกว่า 7.4 ล้านล้านบาท ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ใช้ในการฟื้นฟูส่วนที่ได้รับการปนเปื้อน
หลังจากเหตุการณ์เชอร์โนบิล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการเติบโตช้าลง
อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า เวลาจะทำให้คนเราลืมสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้น
ในปี 2007 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกยกกลับมาพูดถึงอีกครั้งเป็นหนึ่งในแนวทางของการแก้ปัญหาโลกร้อนโดยให้เหตุผลว่า อันตรายร้ายแรงที่โลกต้องเผชิญคือภาวะโลกร้อนมากกว่านิวเคลียร์
พอเป็นแบบนี้แล้ว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เริ่มกลับมาก่อสร้างเพิ่มขึ้น
แต่ฝันร้ายครั้งใหญ่ก็ได้กลับมาเยือนอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 ประเทศญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวโทโฮะกุ
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 ประเทศญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวโทโฮะกุ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ควบคุมการหล่อเย็น
ทำให้เตาปฏิกรณ์ทั้ง 3 เครื่องความร้อนพุ่งขึ้นสูงจนเกิดการหลอมละลายของปฏิกรณ์ และเริ่มปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีออกมา
ความร้ายแรงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้ถูกจัดให้อยู่ในระดับเดียวกับเชอร์โนบิล
ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบที่ตามมาก็ร้ายแรงไม่แพ้กันเลยทีเดียว
ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบที่ตามมาก็ร้ายแรงไม่แพ้กันเลยทีเดียว
ปีถัดมาพบว่า มากกว่าหนึ่งในสามของเด็กในฟุกุชิมะ มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในต่อมไทรอยด์
และในปี 2013 มีเด็กมากกว่า 40 คนถูกวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ที่น่าสนใจก็คือ มีการตรวจสอบพบว่าภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เกิดจากความประมาท
เพราะสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว เพียงแต่โรงไฟฟ้าไม่ได้มีการป้องกันที่ดี
นอกจากนี้ยังพบว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิถูกออกแบบมาไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน ทำให้ไม่สามารถทนต่อการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิได้
ซึ่งบริษัทที่เป็นผู้ดูแลโรงไฟฟ้าแห่งนี้ก็คือ TEPCO ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือรัฐบาลญี่ปุ่นนั่นเอง
ภายหลังการเกิดเหตุ หุ้น TEPCO ปรับตัวลงกว่า 70% ภายในระยะเวลาไม่ถึงเดือน
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้หลายประเทศทั่วโลกได้กลับมาทยอยปิดตัวโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้ง
แม้ว่าจะมีการปิดตัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปหลายแห่ง
แต่พอเวลาผ่านไปพบว่า พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกกลับเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนเกิดภัยพิบัตินี้
แต่พอเวลาผ่านไปพบว่า พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกกลับเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนเกิดภัยพิบัตินี้
เนื่องจากในบางประเทศยังคงผลิตไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเศรษฐกิจ เช่น
อินเดียมีแผนที่จะเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จาก 20 โรงเป็น 24 โรง
บราซิลมีแผนในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มอีก 7 โรงตั้งแต่ปี 2015
หรือแม้แต่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่เกิดภัยพิบัติเองก็ทยอยกลับมาเปิดใช้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้ง
เนื่องจากไม่สามารถหาไฟฟ้าจากแหล่งอื่นมาทดแทนได้
เนื่องจากไม่สามารถหาไฟฟ้าจากแหล่งอื่นมาทดแทนได้
ล่าสุดเมื่อสิ้นปีที่แล้ว บิลล์ เกตส์ ได้พูดถึงเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในจดหมายประจำปีของเขาว่า
แสงอาทิตย์และลมเป็นแหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นอย่างไม่ต่อเนื่อง ซึ่งไม่มีแบตเตอรี่ราคาถูกที่จะสามารถเก็บพลังงานได้นานเพียงพอ
นอกจากนั้นพลังงานจากแสงอาทิตย์และลม มีสัดส่วนเพียงแค่ 25% ของความต้องการไฟฟ้าทั่วโลกเท่านั้น
นิวเคลียร์จึงเหมาะสำหรับภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่ปราศจากคาร์บอน
ส่วนความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ
บิลล์ เกตส์ กล่าวว่าความก้าวหน้าของนวัตกรรมจะสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้
บิลล์ เกตส์ กล่าวว่าความก้าวหน้าของนวัตกรรมจะสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ทั้งหมดนี้เองก็เป็นเรื่องราวสำคัญที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ในอนาคตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะกลับมาเติบโตเหมือนเมื่อ 50 ปีที่แล้วหรือไม่
คงจะไม่มีใครตอบได้ชัดเจน
คงจะไม่มีใครตอบได้ชัดเจน
แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะกลับมาเป็นทางเลือกของหลายประเทศทั่วโลกอีกครั้ง
จนกว่าจะมีอุบัติภัยครั้งใหม่เกิดขึ้น..
----------------------
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังกลับมาเติบโตในหลายประเทศ แต่ที่ไทยนั้นยังเต็มไปด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหิน อยากรู้ว่าอยู่ไหนบ้าง อ่านได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5c4065f8239486498cfd634e
จนกว่าจะมีอุบัติภัยครั้งใหม่เกิดขึ้น..
----------------------
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังกลับมาเติบโตในหลายประเทศ แต่ที่ไทยนั้นยังเต็มไปด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหิน อยากรู้ว่าอยู่ไหนบ้าง อ่านได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5c4065f8239486498cfd634e
ติดตามเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน ในแอป blockdit โหลดได้ที่ http://www.blockdit.com
สั่งซื้อหนังสือลงทุนแมน 9.0 ได้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือ-ลงทุนแมน-9.0-i.116732911.1933827833
----------------------
References
-https://oilprice.com/Alternative-Energy/Nuclear-Power/Nuclear-Energy-Stages-A-Comeback-In-Japan.html
-http://time.com/5547063/hans-blix-nuclear-energy-environment/?utm_medium=socialflowtw&utm_campaign=time&xid=time_socialflow_twitter&utm_source=twitter.com
-https://earth.stanford.edu/news/steep-costs-nuclear-waste-us#gs.0o9ltp
-https://sciencing.com/about-6134607-nuclear-energy-vs--fossil-fuel.html
-https://www.power-technology.com/features/cheapest-renewable-energy-sources/
-https://www.euronuclear.org/info/encyclopedia/n/nuclear-power-plant-world-wide.htm
-https://www.nytimes.com/2007/04/11/health/11iht-greencol12.1.5227713.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Fukushima_Daiichi_nuclear_disaster
-https://www.foronuclear.org/en/news/latest-news/124407-bill-gates-says-that-nuclear-energy-is-the-ideal-way-for-dealing-with-climate-change
----------------------
References
-https://oilprice.com/Alternative-Energy/Nuclear-Power/Nuclear-Energy-Stages-A-Comeback-In-Japan.html
-http://time.com/5547063/hans-blix-nuclear-energy-environment/?utm_medium=socialflowtw&utm_campaign=time&xid=time_socialflow_twitter&utm_source=twitter.com
-https://earth.stanford.edu/news/steep-costs-nuclear-waste-us#gs.0o9ltp
-https://sciencing.com/about-6134607-nuclear-energy-vs--fossil-fuel.html
-https://www.power-technology.com/features/cheapest-renewable-energy-sources/
-https://www.euronuclear.org/info/encyclopedia/n/nuclear-power-plant-world-wide.htm
-https://www.nytimes.com/2007/04/11/health/11iht-greencol12.1.5227713.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Fukushima_Daiichi_nuclear_disaster
-https://www.foronuclear.org/en/news/latest-news/124407-bill-gates-says-that-nuclear-energy-is-the-ideal-way-for-dealing-with-climate-change