ผู้สนับสนุน.. บ้านในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไร
ผู้สนับสนุน..
บ้านในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไร / โดย ลงทุนแมน
บ้านในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไร / โดย ลงทุนแมน
“ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร”
คำกล่าวนี้ มาจากคุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน)
ถ้าพูดถึงการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ภาพที่เรานึกก็คงจะเป็นการสร้างบ้านขึ้นมาสักหนึ่งหลังแล้วก็ขายออกไป
ภาพที่เรานึกก็คงจะเป็นการสร้างบ้านขึ้นมาสักหนึ่งหลังแล้วก็ขายออกไป
แต่ดูเหมือนว่าโลกที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ไม่เว้นแม้แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่อย่างบมจ. เอพี ไทยแลนด์ (AP)
และนั่นกลายเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ถ้าเรามาดูรายได้ย้อนหลังของ AP ในช่วงที่ผ่านมา (อ้างอิงจากข้อมูลจากงาน AP World)
ปี 2015 รับรู้รายได้ 22,079 ล้านบาท
ปี 2016 รับรู้รายได้ 24,991 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13%
ปี 2017 รับรู้รายได้ 28,904 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16%
ปี 2016 รับรู้รายได้ 24,991 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13%
ปี 2017 รับรู้รายได้ 28,904 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16%
เราจะเห็นว่า AP ยังคงมีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ปี
ซึ่งก็หมายความว่า วิสัยทัศน์การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบพื้นที่ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่ AP ได้ยึดถือมาตลอดนั้น อาจจะพูดได้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
แต่ที่น่าสนใจก็คือในเมื่อ AP ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ทำไมถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง?
เพราะการทำธุรกิจเหมือนกับที่ผ่านๆ มา ก็น่าจะทำให้บริษัทสามารถเติบโตได้เหมือนเดิม
เพราะการทำธุรกิจเหมือนกับที่ผ่านๆ มา ก็น่าจะทำให้บริษัทสามารถเติบโตได้เหมือนเดิม
คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน ได้ให้คำตอบของเรื่องนี้ว่ามาจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า ดิจิทัล ดิสรัปชั่น (Digital Disruption)
การเกิดขึ้นของเรื่องนี้ทำให้ธุรกิจที่เคยเป็นเสือนอนกินมานานค่อยๆ ล้มหายไป
การเกิดขึ้นของเรื่องนี้ทำให้ธุรกิจที่เคยเป็นเสือนอนกินมานานค่อยๆ ล้มหายไป
ตัวอย่างกรณีศึกษายอดนิยมของเรื่องนี้คงหนีไม่พ้นชื่อของ
Netflix ธุรกิจสตรีมมิงวิดีโอที่ทำให้ร้านเช่าวิดีโอขนาดใหญ่อย่าง Blockbuster ต้องปิดตัวลง จากที่เคยมีอยู่เกือบหมื่นสาขาเหลือเพียงแค่หนึ่งสาขาเท่านั้น
ส่วน Netflix กลับโตสวนทางกับ Blockbuster อย่างสิ้นเชิง และกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงถึงหลักล้านล้านบาท
แสดงว่า เทคโนโลยีกำลังเข้ามาทำให้สินค้า และบริการมีความสะดวกสบายมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลงนั่นเอง
แสดงว่า เทคโนโลยีกำลังเข้ามาทำให้สินค้า และบริการมีความสะดวกสบายมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลงนั่นเอง
พอเป็นแบบนี้แล้ว คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า
การเกิดขึ้นของดิจิทัล ดิสรัปชั่น น่าจะต้องกระทบกับธุรกิจของอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน
การเกิดขึ้นของดิจิทัล ดิสรัปชั่น น่าจะต้องกระทบกับธุรกิจของอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน
คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ..
แล้วเราจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยได้อย่างไร?
แล้วเราจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยได้อย่างไร?
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของการอยู่อาศัย
ทาง AP จึงได้ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของบริษัทใหม่ทั้งหมดสู่การเป็นองค์กรที่ “มุ่งสร้างสรรค์โลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี” หรือ “Provider of Quality of Life” ภายใต้แนวคิด “AP World, A New Vision of Quality of Life” ซึ่งสื่อถึงการเป็นองค์กรช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนให้ดีขึ้นภายใต้สินค้าและการบริการ
พร้อมกับการตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาอีก 3 บริษัท เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ใหม่นี้ให้ประสบความสำเร็จ
VAARI เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการสร้างและดูแลแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นเหมือนตัวกลางในการหาพาร์ตเนอร์ที่จะมาร่วมกันเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับลูกค้า
CLAYMORE เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหาความต้องการของลูกค้าที่ซ่อนอยู่ (unmet needs) ผ่านกระบวนการ Design Thinking และนำความต้องการนั้นมาสร้างให้กลายเป็นนวัตกรรม
SEAC เป็นบริษัทเกี่ยวกับธุรกิจการศึกษา เนื่องจากทางผู้บริหารของ AP ได้มองว่าทุกวันนี้ความรู้ที่อยู่ในโลกของเรามีการพัฒนาอยู่เสมอ จนถึงขนาดที่ว่า เมื่อเรารับปริญญาตอนจบการศึกษาก็หมายความว่า ความรู้ที่เราได้เรียนมานั้นล้าสมัยไปเรียบร้อยแล้ว
SEAC จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของคนในองค์กร รวมไปถึงบุคคลที่สนใจผ่านความร่วมมือจากสถาบันระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัย Stanford
แล้วการที่ AP เปิดธุรกิจใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์แบบนี้
แปลว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังใกล้จะอิ่มตัวหรือไม่?
แปลว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังใกล้จะอิ่มตัวหรือไม่?
บริษัทมีมุมมองว่า การเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าสายต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ น่าจะยังทำให้อสังหาริมทรัพย์ยังคงเติบโตได้อยู่
การที่ AP ออกมาตั้งธุรกิจใหม่ขึ้นมาก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืนในอนาคต
ซึ่งคาดว่าการเปิดตัวของธุรกิจใหม่นี้จะมาช่วยเปลี่ยนภาพของอสังหาริมทรัพย์แบบเดิมๆ และจะทำให้ AP สามารถมีรายได้เติบโตแตะ 6 หมื่นล้านบาทภายในปี 2565
สุดท้ายแล้ว รูปแบบการดำเนินชีวิตในอนาคตของคนในสังคมจะมีหน้าตาเป็นแบบไหน คงมีหลายทางที่เป็นไปได้
แต่ที่แน่ๆ คือ คุณภาพชีวิตของเราจะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรมดีไซน์ใหม่ๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นฐานของการใช้งานได้จริง ซึ่ง AP กำลังจะทำให้เราได้เห็นกันในเร็วๆ นี้..