การตัดต่อยีน ความหวังหรือสิ่งต้องห้าม
การตัดต่อยีน ความหวังหรือสิ่งต้องห้าม / โดย ลงทุนแมน
ในเมื่อเทคโนโลยียังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
แล้วทำไมมนุษย์เราจะพัฒนาบ้างไม่ได้?
แล้วทำไมมนุษย์เราจะพัฒนาบ้างไม่ได้?
เมื่อไม่กี่วันมานี้ เราน่าจะได้ยินข่าว นักวิทยาศาสตร์จีนตัดต่อยีนของเด็กแฝดเพื่อป้องกันโรค HIV
ดูเหมือนว่าเรื่องนี้น่าจะกลายเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของวงการแพทย์
แต่กลับกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างมากในวงการวิทยาศาสตร์
แต่กลับกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างมากในวงการวิทยาศาสตร์
เพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นการละเมิดจริยธรรมในการทดลอง
ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในระยะยาวของเด็กแฝดคู่นี้
ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในระยะยาวของเด็กแฝดคู่นี้
สุดท้ายแล้วการตัดต่อยีนในมนุษย์
ควรจะเป็นสิ่งต้องห้ามหรือไม่?
ควรจะเป็นสิ่งต้องห้ามหรือไม่?
เรื่องนี้มีที่มา
จริงแล้วๆ เทคโนโลยีการตัดต่อยีน เดิมทีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการรักษาโรคเป็นหลักเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นการใช้เพื่อพัฒนามนุษย์ก็จะยังคงถือว่าผิดศีลธรรมอยู่
พอเป็นแบบนี้แล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นการผิดศีลธรรม เพราะการตัดต่อยีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ถูกมองว่าเป็นการพัฒนามนุษย์ ซึ่งไม่ได้ทำไปเพื่อเหตุผลในการรักษา
แล้วสงสัยกันหรือเปล่าว่า ทำไมการตัดต่อยีนถึงกลายเป็นเรื่องที่พูดถึงขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา?
ถ้าเราลองนึกภาพตามกันดู
มนุษย์มีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ แบ่งเป็น โครโมโซมร่างกาย 22 คู่ + โครโมโซมเพศซึ่งก็คือ XX หรือ XY
โครโมโซม 23 คู่นี้ จะมี 46 แท่ง โดยมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่ง
และโครโมโซม 23 คู่นี้ จะมีคู่เบส A T C G อยู่ประมาณ 3 พันล้านคู่
และโครโมโซม 23 คู่นี้ จะมีคู่เบส A T C G อยู่ประมาณ 3 พันล้านคู่
ทำให้ใน 1 คู่ มีความน่าจะเป็นเกิดขึ้นได้ทั้งหมด 4 แบบ ตามตัวอักษร A T C G
ดังนั้นถ้าให้คิด combination หรือความน่าจะเป็นทั้งหมด แปลว่า จะมีรูปแบบการเรียงที่เป็นไปได้มากถึง 4 ยกกำลัง 3 พันล้านรูปแบบ
ในอดีตเทคโนโลยีที่ใช้ในการตัดต่อยีนก็คือ การหาเอนไซม์ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับการเรียงแต่ละแบบมาตัดต่อ ซึ่งถ้ารูปแบบการเรียงของยีนไม่ตรงกับเอนไซม์ การตัดต่อยีนก็จะไม่สามารถทำได้
เทคโนโลยีการตัดต่อยีนในสมัยก่อนจึงไม่แตกต่างจากการงมเข็มในมหาสมุทร
แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองที่ การค้นพบเทคโนโลยี CRISPR/Cas9 ทำให้วงการตัดต่อยีนกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง
เพราะว่า เทคโนโลยีนี้สามารถทำให้เราตัดแต่งยีนได้อย่างเฉพาะเจาะจง
เรื่องนี้จึงกลายเป็นเหมือนการปลดล็อกข้อจำกัดของการตัดต่อยีน และส่งผลให้บริษัทยาจำนวนมากกระโดดเข้ามาในวงการนี้หลังจากละเลยความสนใจมานาน
สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าการตัดต่อยีนเด็กแฝดในครั้งนี้ถูกมองเป็นเรื่องถูกต้องอะไรจะเกิดขึ้น
แน่นอนว่าข้อดีคือ ความก้าวหน้าในการรักษาโรคที่เป็นความหวังของหลายๆ คน อย่างมะเร็งหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับยีนน่าจะพัฒนาได้รวดเร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดด
การตัดต่อยีนเพื่อพัฒนามนุษย์จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จนเสมือนกับว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่ใครๆ ก็ทำกันได้และขาดการควบคุมอย่างเข้มงวด
ซึ่งอาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นการกลายพันธ์ุของมนุษย์แบบเดียวกับที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์
บางคนอาจจะฉลาดกว่าคนอื่นแต่ต้องแลกมาด้วยร่างกายที่อ่อนแอ
บางคนอาจจะแข็งแรงกว่าคนทั่วไปแต่อายุสั้นกว่าคนปกติ
หรือแม้แต่ร่างกายที่เกิดขึ้นอาจจะไม่เหมือนกับคนทั่วไปก็เป็นไปได้
บางคนอาจจะแข็งแรงกว่าคนทั่วไปแต่อายุสั้นกว่าคนปกติ
หรือแม้แต่ร่างกายที่เกิดขึ้นอาจจะไม่เหมือนกับคนทั่วไปก็เป็นไปได้
เมื่อถึงตอนนั้นแล้ว โลกเราก็อาจจะเต็มไปด้วยความหลากหลายแบบที่เราคาดไม่ถึง
เรื่องนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมการตัดต่อยีนถึงกลายเป็นที่ถกเถียงกัน
เพราะสุดท้ายแล้ว การตัดต่อยีนสามารถเป็นทั้ง “ความหวัง” และ “สิ่งต้องห้าม” ในเวลาเดียวกันนั่นเอง..
----------------------
<ad> เพิ่มความรู้โดยไม่ต้องตัดต่อยีน
เริ่มเรียนการลงทุน “หุ้น” กับ stock2morrow
ด้วย 3 หลักสูตร สำหรับ “ผู้เริ่มต้น จาก 0”
รีบจองก่อนสิ้นปี โปรฯพิเศษ ลดเยอะถึง 3 พันบาท
ดูรายละเอียดที่ : https://bit.ly/2SmW106
----------------------
References
-https://www.facebook.com/biologybeyondnature/
-http://ir.crisprtx.com/static-files/26c63f2a-0702-4307-8f1a-837cd1d19461
-https://www.quora.com/What-is-the-difference-between-CRISPR-and-restriction-enzymes
----------------------
<ad> เพิ่มความรู้โดยไม่ต้องตัดต่อยีน
เริ่มเรียนการลงทุน “หุ้น” กับ stock2morrow
ด้วย 3 หลักสูตร สำหรับ “ผู้เริ่มต้น จาก 0”
รีบจองก่อนสิ้นปี โปรฯพิเศษ ลดเยอะถึง 3 พันบาท
ดูรายละเอียดที่ : https://bit.ly/2SmW106
----------------------
References
-https://www.facebook.com/biologybeyondnature/
-http://ir.crisprtx.com/static-files/26c63f2a-0702-4307-8f1a-837cd1d19461
-https://www.quora.com/What-is-the-difference-between-CRISPR-and-restriction-enzymes
Tag: ยีน