ผู้สนับสนุน.. ลาออกแล้วเงินไปไหน
ผู้สนับสนุน..
ลาออกแล้วเงินไปไหน / โดย ลงทุนแมน
ลาออกแล้วเงินไปไหน / โดย ลงทุนแมน
“ลาออกแล้วเงินไปไหน”
สักวันหนึ่งในชีวิตของคนทำงาน
ต้องเดินทางมาพบกับ การลาออก
และเมื่อวันนั้นมาถึง
เราจะมีเงินเก็บเท่าไร และ เราจะทำอย่างไรต่อไป
ต้องเดินทางมาพบกับ การลาออก
และเมื่อวันนั้นมาถึง
เราจะมีเงินเก็บเท่าไร และ เราจะทำอย่างไรต่อไป
เรื่องนี้มีคำตอบ ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จากชีวิตที่ต้องเร่งรีบในแต่ละวัน ทำให้หลายคนอาจลืมคิดที่จะวางแผนอนาคตของเรา
ในอนาคตเราอาจจะดำเนินชีวิตที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน
และเรื่องนี้จะส่งผลต่อการใช้จ่ายของเราในวันข้างหน้า
สำหรับคนที่ยังอายุไม่มาก เราอาจจะมีทางเลือกอื่นๆมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนประกอบกิจการตัวเอง ด้วยเงินเก็บที่สะสมมาจากการทำงาน
หรือ การหางานใหม่ เพื่อสร้างความมั่นคงให้ฐานะการเงิน
ในมุมกลับกัน ถ้าอายุเราค่อนข้างมากแล้ว ทางเลือกในการสร้างความมั่นคงทางการเงินก็จะน้อยลงเรื่อยๆ
พอเป็นแบบนี้แล้ว เงินเก็บสะสมของเราจึงต้องมีการวางแผนเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในอนาคต
และเมื่อเราพูดถึงเงินเก็บสะสม ส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คงจะเป็น “เงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)”
ลาออก เกี่ยวยังไงกับ เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ?
สำหรับคนที่ทำงานแล้วในองค์กรของเรามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พอเราลาออก เงินก้อนที่ได้รับการสมทบจากนายจ้างและจากเงินเดือนของเราในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็จะสิ้นสุดลงตาม
แต่เรายังคงเลือกได้ว่า จะคงเงินสำรองไว้ในกองทุนต่อไป หรือการนำเงินก้อนนั้นออกมา
แล้วแบบไหนดีกว่ากัน?
คงไม่มีคำตอบที่แน่ชัดสำหรับคำถามนี้ เพราะทั้งหมดล้วนขึ้นอยู่กับแผนการในอนาคตของเรา
แบบแรก การลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือพูดง่ายๆคือ การนำเงินออกมานั่นเอง
แบบแรก การลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือพูดง่ายๆคือ การนำเงินออกมานั่นเอง
ข้อดีคือ จะทำให้เราได้รับเงินเก็บสะสมในรูปแบบของเงินก้อนเพื่อมาใช้ในการลงทุน หรือใช้จ่ายตามความต้องการของเราได้สะดวก
แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ การนำเงินก้อนนี้ออกมาจะถูกนำไปคิดภาษีรวมกับรายได้ทั้งหมดในปีนั้น ซึ่งจะทำให้เราเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นอย่างมาก
แบบที่สอง การคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไป ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ต้องการออมเงิมไว้ใช้ยามเกษียณ
การคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมของเรา แน่นอนว่าเราจะไม่ได้รับเงินสมทบจากนายจ้างอีกต่อไป
แต่ทางกองทุนเองก็ยังคงนำเงินที่อยู่ในกองทุนไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้เราอยู่
โดยการคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต้องเสียค่ารักษาสถานภาพปีละ 500 บาท และหากคงเงินไว้จนถึงอายุ 55 ปีพร้อมกับมีอายุสมาชิกกองทุนฯไม่น้อยกว่า 5 ปี เราจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี
ถ้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการคงเงินไว้
แต่ในกรณีที่ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้และต้องเสียเงินอีกปีละ 500 บาท ก็คงจะเป็นตัวเลือกที่ไม่ดีเท่าไรนัก
ทางออกของเรื่องนี้จึงเกิดขึ้น นั่นก็คือ การย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (PVD TO RMF) ในการสร้างทางเลือกของผลตอบแทนที่ดีขึ้น
และที่สำคัญ เราจะไม่ต้องเสียค่ารักษาสถานภาพปีละ 500 บาท รวมถึงยังสามารถนับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนต่อได้เลย ทำให้เราไม่เสียสิทธิ์ที่จะเข้ากฏเกณฑ์การยกเว้นภาษี
ซึ่งตอนนี้เอง เราสามารถทำเรื่องโอนย้ายมา RMF ของทาง TMBAM ได้ ซึ่ง TMBAM มีกองทุนประเภท RMF ให้เลือกมากถึง 18 กองทุน มีความหลากหลายทั้งในเรื่องนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงให้เลือกลงทุน
นอกจากนั้น ภายในปีนี้ สำหรับใครที่สะสมยอดเงินลงทุนสุทธิในกองทุน RMF ของ TMBAM ทุกๆ 50,000 บาท ยังได้รับเงินลงทุนพิเศษในกองทุนเปิดทหารไทยธนบดี (กองทุนรวมตลาดเงิน) อีกด้วย
สำหรับใครกำลังมองหาว่า เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะไปไหนดี
การนำเงินไปลงทุนใน RMF ของ TMBAM น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ..
การนำเงินไปลงทุนใน RMF ของ TMBAM น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ..
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนต่างๆ และเงื่อนไขโปรโมชั่น สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.tmbam.com/home/th/pvd-to-rmf.php
ตอนนี้ TMBAM ยังมีกิจกรรมแจกหนังสือ และ tote bag เพียง add LINE@TMBAM
และพิมพ์ TMBAMPVD ในแชท แอด LINE@ คลิกเลย http://line.me/ti/p/@dpn9454a
และพิมพ์ TMBAMPVD ในแชท แอด LINE@ คลิกเลย http://line.me/ti/p/@dpn9454a
#PVDTORMF #TMBAM #คู่ชีวิตการลงทุน #LifePartner