ผู้สนับสนุน.. สรุปการลงทุนใน ทองคำ ตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ แบบเข้าใจง่ายๆ
ผู้สนับสนุน..
สรุปการลงทุนใน ทองคำ ตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ แบบเข้าใจง่ายๆ / โดย ลงทุนแมน
สรุปการลงทุนใน ทองคำ ตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ แบบเข้าใจง่ายๆ / โดย ลงทุนแมน
เรื่องการเงิน เป็นเรื่องใกล้ตัว
ทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับ การลงทุน
แต่การลงทุนก็มีหลายแบบที่แตกต่างกัน
ทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับ การลงทุน
แต่การลงทุนก็มีหลายแบบที่แตกต่างกัน
วันนี้ลงทุนแมนขอมาเล่าถึง
การลงทุนใน ทองคำ ตราสารหนี้ และ หุ้น ให้ฟังกันแบบง่ายๆ
การลงทุนใน ทองคำ ตราสารหนี้ และ หุ้น ให้ฟังกันแบบง่ายๆ
ก่อนอื่น การลงทุน เราควรทำความเข้าใจแต่ละสินค้าให้ดีก่อนการตัดสินใจลงทุน
เพราะการลงทุนแต่ละอย่างก็มีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน
แล้วสินทรัพย์แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร?
ทองคำ (Gold)
ทองคำ เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่าในตัวเอง จึงเป็นการลงทุนประเภทหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้แต่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศก็จะเก็บทองคำเหมือนเป็นสินทรัพย์สำรอง
ในปัจจุบันการลงทุนทองคำมีหลายรูปแบบ คือ ทองคำ กองทุนทองคำ และ Gold Futures
อย่างไรก็ตาม ทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความผันผวนตามราคาตลาดโลก เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามสถานการณ์ของตลาดโลก
ซึ่งถ้าเราลงทุนในทองคำเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จะพบว่าทองคำให้ผลตอบแทนประมาณ -2.65% ต่อปี หรือว่าขาดทุนนั่นเอง
เรื่องนี้อาจทำให้เรารู้ว่า การลงทุนใน ทองคำ ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เป็นตัวอย่างให้เราศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อตัดสินใจลงทุน
ตราสารหนี้ (Bond)
ตราสารหนี้ ผู้ซื้อจะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” นั่นหมายถึง เราให้คนอื่นยืมเงิน โดยมีผลตอบแทนเป็น “ดอกเบี้ย” และมีการกำหนดระยะเวลาคืนเงินไว้บนหน้าตั๋ว
ซึ่งคนที่มายืมเงินเราสามารถเป็นได้ทั้ง รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชน
ถ้าคนที่มายืมเงินของเรามีเครดิตเรตติ้งไม่ค่อยดี เราก็จะได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง
ในปัจจุบันถ้ารัฐบาลเป็นผู้ออกตราสาร เราจะได้ดอกเบี้ยประมาณ 1-2%
แต่ถ้าบริษัทเอกชนที่เรตติ้งไม่ค่อยดี เราอาจจะได้ดอกเบี้ยสูงถึง 5-6%
แต่ถ้าบริษัทเอกชนที่เรตติ้งไม่ค่อยดี เราอาจจะได้ดอกเบี้ยสูงถึง 5-6%
แล้วถ้าเราซื้อตราสารหนี้มา แต่อยากขายก่อนครบกำหนดทำได้หรือไม่?
เราสามารถขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนดได้ โดยการขายในตลาดรอง ซึ่งตลาดนี้เป็นตลาดที่มีสภาพคล่องน้อย แต่การลงทุนในตราสารหนี้นั้น เราสามารถลงทุนโดยการซื้อกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ได้ เช่นกัน
แล้วความเสี่ยงของตราสารหนี้ ที่เราต้องดูคืออะไรบ้าง?
การผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร
สภาพคล่องของการซื้อและขายในตลาดรอง
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ อัตราเงินเฟ้อ
สภาพคล่องของการซื้อและขายในตลาดรอง
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ อัตราเงินเฟ้อ
ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้ก็อาจทำให้เราขาดทุนได้เช่นกัน ถ้าผู้ที่ออกตราสารผิดนัดชำระหนี้ หรือราคารับซื้อในตลาดรองมีราคาลดลง ดังนั้นเราควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุน
หุ้น (Stock)
เมื่อเราซื้อหุ้น สถานะของเราจะกลายเป็น “เจ้าของ” บริษัทนั้น
ซึ่งการเป็นเจ้าของ คือ การที่เรามีส่วนร่วมในบริษัท และได้ส่วนแบ่งกำไร หรือขาดทุนตามสัดส่วนที่เราเป็นเจ้าของ
เราอาจจะได้กำไรสูงถึง 100% หรือขาดทุน 100% ก็ได้
ซึ่งดัชนีของตลาดหุ้นไทย ก็คือ SET INDEX
ถ้าดูจากผลตอบแทนของทั้งตลาดย้อนหลัง 5 ปี หุ้นมีผลตอบแทนประมาณ 8% ต่อปี (รวมเงินปันผล)
อย่างไรก็ตามการซื้อหุ้นเป็นรายตัว ไม่ได้แปลว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีทุกตัว
ดังนั้น เราควรศึกษารายบริษัทให้ดี ก่อนตัดสินใจลงทุน
เพราะแต่ละบริษัทมีปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกัน และ การบริหารงานที่ต่างกัน ถึงแม้จะประกอบธุรกิจคล้ายกัน
ซึ่งเราอาจะเริ่มจากบริษัทที่ขายสินค้ารอบตัวเราที่เราใช้เป็นประจำ และเราอยากร่วมเป็นเจ้าของบริษัทนั้น หลังจากนั้นค่อยไปลงลึกศึกษารายละเอียดของบริษัทนั้น
หรือถ้าบางคนไม่มีเวลาศึกษารายบริษัท แต่ยังอยากลงทุนในตราสารประเภทนี้ ก็มีอีกหนึ่งตัวเลือก คือ กองทุนรวมหุ้น
เพราะแต่ละกองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนดูแลอยู่ แต่เราก็ควรเลือกว่า กองทุนไหนที่มีนโยบายกองทุนเหมาะสมกับเรา
การลงทุนที่กล่าวมาทั้ง ทองคำ ตราสารหนี้ และ หุ้น
เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการลงทุนเท่านั้น
เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการลงทุนเท่านั้น
แต่ยังมีอีกหนึ่งการลงทุนที่หลายคนอยากทราบรายละเอียด นั่นก็คือ “อสังหาริมทรัพย์”
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้เราได้ทั้งในแง่ของการปล่อยเช่า และกำไรจากราคาที่สูงขึ้น
แต่การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ เราควรศึกษารายละเอียดให้รอบด้านทั้ง ทำเล ความต้องการของตลาดบริเวณนั้น
ถ้าใครที่ต้องการจะศึกษาการลงทุนประเภท อสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ คอนโดมิเนียม
ทาง Major Development กำลังมีอีเวนท์ที่น่าสนใจ ในวันที่ 27 ถึง 30 กันยายนที่จะถึงนี้ ที่ชั้น 1 สยามพารากอน
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ https://goo.gl/gAovCv