หัวม้าลาย VS โคเรียคิง
กระทะโคเรียคิง นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น
ปี 2558 บริษัทนี้มีรายได้ 472 ล้านบาท
ต้นทุน 119 ล้านบาท (25% ของรายได้)
ค่าใช้จ่ายในการขาย 251 ล้านบาท (53% ของรายได้)
กำไร 82 ล้านบาท (17% ของรายได้)
ปี 2558 บริษัทนี้มีรายได้ 472 ล้านบาท
ต้นทุน 119 ล้านบาท (25% ของรายได้)
ค่าใช้จ่ายในการขาย 251 ล้านบาท (53% ของรายได้)
กำไร 82 ล้านบาท (17% ของรายได้)
สรุปแบบง่ายๆ ถ้ากระทะโคเรียคิง 100 บาท ต้นทุน 25 บาท ค่าใช้จ่ายในการขาย 53 บาท จะเหลือกำไร 17 บาท
เรามาดูเรื่องราวของหัวม้าลายโดยย่อกัน..
เครื่องครัวสเตนเลสตราหัวม้าลาย เจ้าของคือ บริษัท เสถียรสเตนเลสสตีล ที่ก่อตั้งมาเมื่อ 51 ปีที่แล้ว โดย คุณเสถียร ยังวาณิช
ตอนที่ไปจดทะเบียนการค้าสมัยนั้น นายทะเบียนบอกว่าสัตว์ตัวอื่น เช่น ช้าง เสือ สิงโต ต่างๆมีคนเอาไปหมดแล้ว เหลือแต่ม้าลายจะเอาไหม เหลือแต่ส่วนหัวด้วยนะ ตัวไม่มี
คุณเสถียรคิดว่าก็แปลกดีจึงตอบตกลงเลือก หัวม้าลาย มาเป็นแบรนด์
คุณเสถียรคิดว่าก็แปลกดีจึงตอบตกลงเลือก หัวม้าลาย มาเป็นแบรนด์
โดยตอนแรกคุณเสถียร เริ่มจากการรับจ้างทำครัวเสตนเลสตามแบบ ให้ โรงแรม และร้านอาหาร ต่อมาเขาจึงลองนำเศษชิ้นงานมาลองทำเป็น ช้อน ขายให้คนไทย
จนประสบความสำเร็จขยายสินค้ามาเป็นอุปกรณ์ในครัวประเภทต่างๆ จนตอนนี้ มีมากถึง 2,200 รายการ
จนประสบความสำเร็จขยายสินค้ามาเป็นอุปกรณ์ในครัวประเภทต่างๆ จนตอนนี้ มีมากถึง 2,200 รายการ
ปัจจุบันโรงงานอยู่ที่ลาดกระบัง และนิคมพัฒนาระยอง มียอดขายในประเทศ 70% และส่งออกมากถึง 30% ตอนนี้บริหารงานโดยผู้บริหารรุ่นที่ 2 ชื่อ คุณ เอกชัย ยังวาณิช
เรามาดูรายได้ของหัวม้าลายกัน..
ปี 2558 บริษัทนี้มีรายได้ 2,377 ล้านบาท
ต้นทุน 1,587 ล้านบาท (66% ของรายได้)
ค่าใช้จ่ายในการขาย 504 ล้านบาท (21% ของรายได้)
กำไร 207 ล้านบาท (9% ของรายได้)
ต้นทุน 1,587 ล้านบาท (66% ของรายได้)
ค่าใช้จ่ายในการขาย 504 ล้านบาท (21% ของรายได้)
กำไร 207 ล้านบาท (9% ของรายได้)
สรุปแบบง่ายๆ สเตนเลสหัวม้าลาย 100 บาท ต้นทุน 66 บาท ค่าใช้จ่ายในการขาย 21 บาท เหลือกำไร 9 บาท
แต่จริงๆแล้วโมเดลธุรกิจของโคเรียคิง และ หัวม้าลายมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
ธุรกิจโคเรียคิงในไทยเป็นธุรกิจเทรดดิ้งคือรับของมา และขายตรงถึงผู้บริโภค ดังนั้นต้นทุนขายจะมีสัดส่วนน้อย และค่าใช้จ่ายในการขายจะเป็นสัดส่วนที่มากกว่า
ส่วนหัวม้าลายมีโมเดลธุรกิจที่ส่วนใหญ่เป็นการผลิตแล้วขายส่งไปให้ร้านค้า หรือ ดีลเลอร์อีกทอดหนึ่ง จึงอาจจะทำให้มีมาร์จินที่น้อยกว่า เพราะต้องเผื่อให้ร้านค้าบวกกำไรเพิ่มเข้าไปจากราคาส่งด้วย
ดังนั้นเมื่อคิดที่ราคาปลีกแล้ว ต้นทุนขายต่อรายได้ของหัวม้าลายจะน้อยกว่านี้
ส่วนเรื่องการโฆษณาเกินจริง หรือ การตั้งราคาขายไม่เท่ากัน ผมไม่ขอคอมเม้น
แต่เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงนิทานคลาสสิคอยู่เรื่องหนึ่งคือ กระต่ายกับเต่า
เต่าเดินช้าต้วมเตี้ยมไปเรื่อยๆ ส่วนกระต่ายวิ่งเร็วน่าตื่นเต้น
สุดท้ายเต่าไม่ได้ชนะเพราะวิ่งเร็วกว่า แต่ชนะเพราะกระต่ายพลาดเอง
สำหรับในชีวิตจริง ตอนนี้ เต่า ได้แปลงร่างเป็น ม้าลาย เรียบร้อยแล้ว..