เครือซีพี มีหนี้เท่าไร
หลายคนคงรู้ว่าซีพีเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ทำธุรกิจครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ มีทั้ง ฟาร์มสัตว์ อาหารสัตว์ อาหารคน ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายส่ง โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต เคเบิลทีวี ร้านกาแฟ อสังหาริมทรัพย์ และ โรงเรียน ด้วยธุรกิจที่ว่ามานี้ยอดขายทั้งหมดรวมกันคงมหาศาล แต่รู้หรือไม่ว่าเครือซีพีก็มีหนี้มหาศาลเช่นกัน
เรามาดูกันว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของเครือซีพีทั้งหมดมีหนี้เท่าไร
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของซีพี มี 4 บริษัทใหญ่คือ CPF CPALL TRUE MAKRO
ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ของปี 2560
CPF มีหนี้ทั้งหมด 370,653 ล้านบาท
CPALL มีหนี้ทั้งหมด 281,702 ล้านบาท
TRUE มีหนี้ทั้งหมด 334,479 ล้านบาท
CPALL ถือ MAKRO อยู่ 98% งบการเงินของ MAKRO จึงได้รวมอยู่ใน CPALL แล้ว
CPF มีหนี้ทั้งหมด 370,653 ล้านบาท
CPALL มีหนี้ทั้งหมด 281,702 ล้านบาท
TRUE มีหนี้ทั้งหมด 334,479 ล้านบาท
CPALL ถือ MAKRO อยู่ 98% งบการเงินของ MAKRO จึงได้รวมอยู่ใน CPALL แล้ว
เมื่อนำทั้งหมดมาบวกกัน หนี้ทั้งหมดของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของเครือซีพีคือ 986,834 ล้านบาท!
อย่างไรก็ตามคำว่าหนี้ จะแบ่งเป็น
1)หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย เช่น การกู้ยืมเงินธนาคาร หรือออกหุ้นกู้
2)หนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย เช่น เจ้าหนี้การค้า ซึ่งคู่ค้าให้เครดิตเราในการรับสินค้าก่อนแล้วค่อยจ่ายเงินทีหลัง
1)หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย เช่น การกู้ยืมเงินธนาคาร หรือออกหุ้นกู้
2)หนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย เช่น เจ้าหนี้การค้า ซึ่งคู่ค้าให้เครดิตเราในการรับสินค้าก่อนแล้วค่อยจ่ายเงินทีหลัง
สำหรับนักลงทุนแล้ว ถ้าถามว่าบริษัทมีหนี้เท่าไร เราควรจะดูเฉพาะส่วนของหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย
สำหรับหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยของแต่ละบริษัทเป็นดังนี้
CPF มีหนี้ทั้งหมด 301,599 ล้านบาท
CPALL มีหนี้ทั้งหมด 182,942 ล้านบาท
TRUE มีหนี้ทั้งหมด 142,733 ล้านบาท
หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยของเครือซีพีทั้งหมดคือ 627,274 ล้านบาท
CPALL มีหนี้ทั้งหมด 182,942 ล้านบาท
TRUE มีหนี้ทั้งหมด 142,733 ล้านบาท
หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยของเครือซีพีทั้งหมดคือ 627,274 ล้านบาท
แล้ว 627,274 ล้านบาท มากขนาดไหน? เรามาดูกันว่าหนี้ 627,274 ล้านบาท ซีพีกู้ใครได้บ้าง
โดยปกติแล้วถ้าบริษัทใหญ่กู้เงินจากธนาคาร ธนาคารก็จะเอาเงินฝากของหลายๆคนมารวมกันแล้วให้บริษัทกู้ ซีพีมีเครดิตที่ดี เพราะมียอดขายหมุนเวียนจำนวนมากทุกวัน ดังนั้นธนาคารไหนๆก็อยากให้กู้ เรามาดูกันว่าหนี้ของซีพีใหญ่แค่ไหนเมื่อเทียบกับฐานเงินฝากของธนาคาร
ธนาคาร TMB เป็นธนาคารเอกชนขนาดใหญ่อันดับที่ 7 ของประเทศไทยในแง่ขนาดของเงินรับฝาก ธนาคาร TMB มีเงินรับฝากทั้งหมด 587,388 ล้านบาท
ที่น่าสนใจคือ หนี้ทั้งหมดของเครือซีพีมีขนาดใหญ่กว่าเงินฝากทุกบัญชีเงินฝากของธนาคาร TMB รวมกันทั้งหมด!
ดังนั้นเวลาเกิดดีลสำคัญที่ซีพีต้องใช้เงิน เช่นการซื้อ MAKRO ของ CPALL จะมีไม่กี่ธนาคารที่พอจะมีกำลังเหลือให้ซีพีกู้ได้ ในดีลนั้นซีพีใช้ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีฐานเงินฝากอยู่ 2 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ถ้าเลือกได้ซีพีก็ไม่อยากกู้เงินจากธนาคารเหมือนกัน เพราะมีอัตราดอกเบี้ยที่แพงกว่า การออกหุ้นกู้ ที่กู้กับประชาชนโดยตรง โดยถ้ากู้ธนาคารซีพีอาจจะต้องเสียดอกเบี้ย 4%-6% แต่ถ้าออกหุ้นกู้ซีพีจะเสียดอกเบี้ยแค่ 3%-5% เท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น เร็วๆนี้ซีพีมีการออกหุ้นกู้ที่เป็นนวัตกรรมทางการเงินแบบใหม่คือหุ้นกู้ที่ไม่มีกำหนดอายุใช้คืน หรือเรียกว่า Perpetual Bond หุ้นกู้แบบนี้อธิบายง่ายๆคือ บริษัทจะขอยืมเงินจากคนอื่นโดยไม่ต้องใช้คืนเงินต้น แต่จะขอจ่ายเป็นดอกเบี้ยอย่างเดียวไปเรื่อยๆ (อย่างนี้ก็ได้ด้วย)
CPALL มีการออกหุ้นกู้ที่มีไม่มีกำหนดอายุใช้คืน 9,953 ล้านบาท
CPF มีการออกหุ้นกู้ที่มีไม่มีกำหนดอายุใช้คืน 15,000 ล้านบาท
CPF มีการออกหุ้นกู้ที่มีไม่มีกำหนดอายุใช้คืน 15,000 ล้านบาท
ย้อนกลับมาที่คนไทย 67 ล้านคน
คนที่มีรายได้น้อยจะกู้เงินสัก 1 แสนบาท ถ้าไม่มีหลักประกัน ธนาคารก็ยากที่จะปล่อยกู้เงินให้ ทำให้คนที่มีรายได้น้อยต้องไปกู้จากหนี้นอกระบบ ที่มีดอกเบี้ยมหาโหดแทน พอดอกทบต้นไปเรื่อยๆ สุดท้ายหนี้เพิ่มเป็นหลายแสนบาท และเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เราได้ยินตลอดมา
แต่จะให้ทำอย่างไรได้
ในมุมมองของธนาคาร คนมีรายได้น้อยเสี่ยงที่จะไม่ได้เงินต้นคืน มากกว่า เครือซีพีที่มีกิจการที่แข็งแกร่ง..