<ผู้สนับสนุน> Startup แก้ปม Pain Point ของระบบสุขภาพประเทศไทย

<ผู้สนับสนุน> Startup แก้ปม Pain Point ของระบบสุขภาพประเทศไทย

16 พ.ค. 2018
<ผู้สนับสนุน>
Startup แก้ปม Pain Point ของระบบสุขภาพประเทศไทย / โดย ลงทุนแมน
เวลาที่เราป่วย
หลายคนคงนึกถึงการเสียเวลาเป็นชั่วโมง
ไปกับกระบวนการรอคิวหาหมอ รอคิวรับยา
ทั้งๆ ที่ยุคนี้ เทคโนโลยีน่าจะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นได้
ในโลกของสุขภาพ
จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลักๆ อยู่ 4 ส่วนในระบบ คือ Patient ​(คนไข้), Physician (หมอ), Payer (ผู้จ่ายเงิน), และ Pharmacist (การจัดหายารักษาโรค)
ซึ่งทั้งหมดนี้ประกอบกัน เรียกได้ว่าเป็น Health Ecosystem หรือ ระบบนิเวศน์ของเรื่องสุขภาพ
แต่เราก็คงพอจะรู้สึกได้ว่า ในระบบนี้เทคโนโลยียังถูกนำมาใช้หรือเข้ามามีส่วนร่วมน้อยมาก และอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ยังคงมีความล่าช้าและอาจไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างทั่วถึง
นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแล้ว ถ้าเรามีเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะช่วยในการรักษาโรค หรือป้องกันโรค ก็น่าจะทำให้เป็น Health Ecosystem ที่สมบูรณ์มากขึ้น
กลุ่มอลิอันซ์ (Allianz) บริษัทยักษ์ใหญ่ในด้านประกัน ที่อยู่ในฐานะของ Payer กำลังสร้างแพลตฟอร์ม Healthy Living ที่มองเห็นถึงโอกาสที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนา ecosystem นี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยชิ้นส่วนที่สำคัญของแพลตฟอร์มนี้ก็คือ โครงการ Allianz Ayudhya Activator
โครงการนี้คืออะไร?
Allianz Ayudhya Activator เป็นโครงการที่จะช่วยผลักดันสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีประกัน (InsurTech) และเทคโนโลยีสุขภาพ (HealthTech) โดยเฉพาะ
และเพื่อให้ได้ไอเดียที่หลากหลาย โครงการนี้ได้เปิดให้สตาร์ทอัพทุกรายสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ไม่ว่าจะมีธุรกิจที่ทำอยู่แล้ว หรือจะเพิ่งมีแค่แนวคิดธุรกิจแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ
โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การมองหาและผลักดันสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ที่จะสามารถเข้ามาช่วยส่งเสริมให้การติดต่อสื่อสารในระบบรักษาพยาบาลให้มีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถเติมเต็มส่วนที่ระบบยังขาดไปได้
ซึ่งโครงการนี้ก็ได้ผู้ชนะมา 3 ทีม คือ
1. Vitaboost (ไวตาบูสท์)
ไวตาบูสท์ คือ การผลิตวิตามินออกมาโดยเฉพาะตามความต้องการของแต่ละบุคคลได้แบบถูกวิธี โดยใช้หลักการแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและใช้เทคโนโลยี A.I.
ไวตาบูสท์มีแนวคิดมาจาก ความต้องการที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของคนไทยและคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรค NCD ซึ่งเกิดจากการทานอาหารที่ไม่สมดุลและไลฟ์สไตล์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
ทางไวตาบูสท์คิดว่า ในเมื่อเราป่วยด้วย “อาหาร” ก็ควรใช้ “อาหาร” เป็นตัวแก้ ถึงแม้ว่าการใช้อาหารเสริมสร้างสุขภาพจะใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนซึ่งเห็นผลช้ากว่าการใช้ยา
ประโยชน์ของไวตาบูสท์ คืออะไร?
ไวตาบูสท์ จะมาช่วยลดความเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรค NCD ต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง ฯลฯ ที่ในบางกรณีอาจเกิดจากการมีภาวะโภชนาการที่ไม่สมดุล (Malnutrition)
โดยการผลิตอาหารเสริมเฉพาะบุคคล (Personalized Supplements) ตามผลเลือดของแต่ละคน ด้วยหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชะลอวัย (Anti-aging Medicine) เพื่อช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล
ซึ่งการได้รับสารอาหารต้านอนุมูลอิสระจากจากพืช ผัก ผลไม้และไขมันดีในปริมาณพอเหมาะกับร่างกายของแต่ละคนก็จะทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ทั้งหมดนี้จึงเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุและยังช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีไปพร้อมกัน
2. Sharmble (ชาร์มเบิล)
ชาร์มเบิล คือ แพลตฟอร์มนัดตรวจออนไลน์สำหรับแพทย์ เพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เคยเข้าตรวจรักษามาก่อน เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมัน โรคความดันโลหิต โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคเก๊าท์ โรคไทรอยด์ และโรคหอบหืด เป็นต้น
ทั้งนี้แพทย์ผู้ตรวจจะต้องเป็นแพทย์คนเดียวกับที่เคยรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล
ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในแพลตฟอร์มนี้ จะต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ก่อนว่ามีอาการเสถียรแล้วเท่านั้น
ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจเลือด ก็จะมีพยาบาลและนักเทคนิคการแพทย์เข้าไปตรวจเลือด และคัดกรองอาการสำคัญเบื้องต้นให้พร้อมลงประวัติผู้ป่วย
เมื่อถึงวันนัด แพทย์จะให้บริการผ่าน Video Call ซึ่งสามารถดูประวัติผู้ป่วยและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการจากในระบบผ่านหน้าจอได้ และเมื่อจบการตรวจ แพทย์สามารถออกใบสรุปคำวินิจฉัย สั่งจ่ายยา และออกใบนัดครั้งถัดไปให้ผู้ป่วยได้เลย
ในส่วนของยาตามใบสั่งแพทย์นี้ ผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องมารับ เพราะจะถูกส่งตรงให้ถึงบ้านจากร้านขายยา
โดยชาร์มเบิลจะมีเภสัชกรและพยาบาลทำงานร่วมกับแพทย์ คอยตรวจสอบและสนับสนุนการทำงานเพื่อให้การติดตามผลการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของชาร์มเบิล คืออะไร?
สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์นัดดูอาการเป็นประจำ ก็คงไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลบ่อยๆ เพื่อนั่งรอคิวตรวจเป็นเวลานานๆ ถือว่าบริการนี้จะช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายไปได้
สำหรับแพทย์ ยังคงได้รับค่าตรวจ (DF) เท่าเดิม และยังสามารถเพิ่ม patient base และประสิทธิภาพในการติดตามผลเพื่อการรักษาที่สูงขึ้น
3. Doctor A to Z
Doctor A to Z เป็น Web Platform ตัวกลางสำหรับ Agent กับ โรงพยาบาล ที่ต้องการส่งคนไข้ต่างชาติเข้ามาผ่าตัดและรับการรักษาในประเทศไทย
โดยเป็นเครือข่ายที่จะช่วยจับคู่คนไข้ ให้เข้าถึงโรงพยาบาลชั้นนำมาตรฐานระดับสากล (JCI - Joint Commission International Hospital) และแพทย์เฉพาะทาง ในราคาที่เหมาะสม
เนื่องจากทางบริษัทเห็นว่าประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานสากลเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้คนต่างประเทศโดยเฉพาะ พม่า, กัมพูชา, ลาว, สิงคโปร์ และ จีน ต้องการที่จะเข้ามารักษาในไทย
ทางบริษัทจึงสร้าง Digital Platform ที่ทำให้คนไข้เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนของการใช้บริการ คือ
1. Agency จะติดต่อส่งข้อมูลคนไข้ มาที่ Platform ของ Doctor A to Z
2. Doctor A to Z นำเสนอทางเลือกด้วยการให้ข้อมูล แพทย์,โรงพยาบาล, ขั้นตอนการรักษา, ราคาค่าใช้จ่าย และช่วยนัดหมายการรักษา
3. คนไข้เดินทางมารักษา ตามวันเวลาที่กำหนด
ซึ่งในอนาคตทางบริษัทต้องการจะทำแพลตฟอร์มนี้ให้มีประสิทธิภาพแบบ borderless healthcare service และทำให้ medical tourism ecosystem มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ซึ่งผู้ชนะทั้ง 3 ทีมนี้ ก็จะได้รับเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจสูงสุด 2 ล้านบาท รวมไปถึงที่จะได้นำเสนองานบนเวทีระดับเอเชีย ที่ อลิอันซ์ เอเชีย แปซิฟิค ประเทศสิงคโปร์
แต่ก็ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ชนะเท่านั้นที่จะมีโอกาสเติบโต
เพราะทีมอื่นๆ ที่มีโมเดลที่น่าสนใจ ก็มีโอกาสได้ร่วมกับ Allianz ในการต่อยอดหรือทำ co-marketing ร่วมกัน และสิ่งสำคัญของโครงการนี้ก็คือชุมชน หรือ community ที่จะเกิดขึ้น
คนในชุมชนนี้จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และทำให้ทุกคนได้ประโยชน์
โครงการนี้ น่าจะถือได้ว่า win-win กันทั้ง 2 ฝ่าย
เพราะในขณะที่บริษัทสตาร์ทอัพจะได้พาร์ทเนอร์เจ้าใหญ่มาช่วยต่อยอดธุรกิจ
ทาง Allianz เอง ก็จะสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ครบวงจรได้มากขึ้นอีกในอนาคต
ส่วนประเทศไทยก็ได้ประโยชน์ เพราะ Allianz ยกให้ไทยเป็น Digital Hub ของภูมิภาคนี้ ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบที่จะนำโมเดลนี้ขยายไปใช้กับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
และ Allianz ก็น่าจะเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนที่ทำให้ระบบสุขภาพของโลกนี้ มีความสมบูรณ์มากขึ้น..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.