เราจะมีชีวิตได้อีกนานเท่าไร? สตีเฟ่น ฮอว์คิง
เราจะมีชีวิตได้อีกนานเท่าไร? สตีเฟ่น ฮอว์คิง / โดย ลงทุนแมน
ถ้าเรารู้ว่าจะมีชีวิตได้อีก 2 ปีครึ่ง
เราจะทำอะไรบ้าง?
วันนี้มีข่าวใหญ่ สตีเฟ่น ฮอว์คิง บุคคลสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ได้จากโลกนี้ไปแล้ว
แต่เรื่องราวชีวิตของเขา น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เราจะทำอะไรบ้าง?
วันนี้มีข่าวใหญ่ สตีเฟ่น ฮอว์คิง บุคคลสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ได้จากโลกนี้ไปแล้ว
แต่เรื่องราวชีวิตของเขา น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
สตีเฟ่น ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ชื่อดังเกิดวันที่ 8 มกราคม 1942 ที่เมือง Oxford ประเทศอังกฤษ
ในช่วงสมัยเรียน หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเขาเป็นคนฉลาด แต่จริงๆ แล้วเขาก็เหมือนกับคนทั่วไป
ผลสอบของ สตีเฟ่น ได้ที่ 3 นับจากท้ายแต่สิ่งที่แตกต่างคือ แม้เขาจะไม่ได้สนใจเรียน แต่เขาสนใจกับความรู้ที่อยู่นอกห้องเรียนมาก เช่น การสร้างคอมพิวเตอร์เพื่อแก้สมการคณิตศาสตร์
ในห้องเรียนก็คงจะมีแต่ครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ แต่คงไม่มีครูคนไหนที่จะสอนให้สร้างคอมพิวเตอร์มาแก้โจทย์คณิตศาสตร์
เมื่อถึงเวลาที่เข้ามหาวิทยาลัย เขาทะเลาะกับพ่อ เนื่องจากพ่อต้องการให้เป็นแพทย์ แต่ตัวเขามีความสนใจในเรื่อง ดวงดาวและจักรวาลมาก จนสุดท้ายแล้วพ่อก็ตามใจเขาในที่สุด
สตีเฟ่น ได้เข้าเรียนที่มหาลัย Oxford เมื่ออายุ 17 ปีในสาขาฟิสิกส์และมุ่งเน้นไปในเรื่องของจักรวาลวิทยา
ปี 1962 เขาจบปริญญาโทด้วยเกียรตินิยมในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และได้เข้าศึกษาต่อที่ Cambridge University เพื่อศึกษาจักรวาลวิทยาอีกเช่นเคยในระดับปริญญาเอก
อาจจะดูเหมือน สตีเฟ่น เป็นคนขยัน แต่จริงๆ แล้ว เขาค่อนข้างเบื่อกับชีวิตและไม่ได้ตั้งใจศึกษาเท่าที่ควร
จนกระทั่งมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันมากระทบกับชีวิตเขา..
ในสมัยเรียนปริญญาตรี สตีเฟ่น มีอาการเดินแล้วสะดุดล้มบ่อย และ เริ่มพูดไม่ชัด แต่ตัวเขาเองก็ไม่ได้สนใจอะไร
หลังจากที่เขาเข้า Cambridge ได้ปีเดียว พ่อของ สตีเฟ่น ได้เห็นถึงอาการของเขา จึงเกิดความสงสัยและส่งเขาไปให้หมอตรวจแบบละเอียด
แพทย์ได้บอก สตีเฟ่น ว่าเขาเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดหนึ่งในระยะแรก และบอกว่าเขามีเวลาอีกแค่ 2 ปีครึ่งเท่านั้นที่จะใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้..
ถ้าอยู่ดีๆ มีคนมาบอกว่า
เรามีเวลาเหลืออีก 2 ปีครึ่งที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เราจะทำอย่างไร?
เรามีเวลาเหลืออีก 2 ปีครึ่งที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เราจะทำอย่างไร?
บางคนอาจร้องไห้
บางคนอาจไปเที่ยวให้เต็มที่
บางคนอาจนอนรอความตาย
บางคนอาจไปเที่ยวให้เต็มที่
บางคนอาจนอนรอความตาย
ช่วงเวลาสั้นๆ ที่เหลืออยู่ของคนหนึ่งคนจะทำอะไรได้อีกบ้าง?
สำหรับ สตีเฟ่น แม้ว่าเขาจะพบเจอโรคร้าย แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง เขาก็ได้พบกับกำลังใจที่ดีที่สุดในชีวิตของเขาในงานปาร์ตี้
กำลังใจนั้นคือผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ Jane Wilde และทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันในอีก 2 ปีให้หลัง
แล้วผู้หญิงคนนี้รู้หรือไม่ว่า สตีเฟ่น กำลังป่วย?
คำตอบคือ รู้ แต่ความรักก็ทำให้ทั้งคู่มองข้ามอุปสรรคที่กำลังจะเกิดขึ้น
และทั้งคู่ก็ดูเหมือนจะตัดสินใจถูก เพราะสรุปแล้ว 2 ปีครึ่งผ่านไป สตีเฟ่น ยังไม่ตาย..
ถึงแม้ว่าจะไม่ตาย แต่อาการของเขาก็ทรุดลงเรื่อยๆ
ตั้งแต่ปี 1969 สตีเฟ่น ต้องนั่งอยู่บนรถเข็นตลอดเวลา
แต่ถึงแม้ว่าต้องนั่งรถเข็น สตีเฟ่น ก็ยังไม่ยอมแพ้
เขาได้กลับมาทุ่มเทให้กับงานวิจัยจนมีผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาอย่างมากซึ่งก็คือ
การพิสูจน์ว่าหลุมดำ (Black Hole) ไม่ได้มีลักษณะเป็นสุญญากาศโดยสมบูรณ์ซึ่งขัดกับความเชื่อในสมัยนั้น
หลุมดำไม่ได้ดูดกลืนได้ทุกสิ่ง
เขาอธิบายว่า มีรังสีชนิดหนึ่งสามารถฝ่าพ้นแรงโน้มถ่วงของหลุมดำออกมาได้
รังสีนั้นคือ รังสีฮอว์คิง ซึ่งถูกตั้งชื่อตามชื่อของเขา
แต่..
ภายหลังจากการนำเสนองานวิจัยนี้ไม่กี่ปี สภาวะร่างกายของเขาเองก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ
ภายหลังจากการนำเสนองานวิจัยนี้ไม่กี่ปี สภาวะร่างกายของเขาเองก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ
ในปี 1985 สตีเฟ่น ได้สูญเสียความสามารถในการออกเสียงไป ทำให้เขาต้องพึ่งพาโปรแกรมทดแทนเสียงพูดซึ่งอาศัยการเคลื่อนไหวของศีรษะ หรือดวงตา
ด้วยโปรแกรมนี้เองจึงทำให้ สตีเฟ่น ยังเดินหน้าค้นคว้าเรื่องจักรวาลต่อไปได้ จนกระทั่งในอีก 3 ปีถัดมาได้ตีพิมพ์หนังสือจักรวาลวิทยาที่โด่งดังมากชื่อว่า “A Brief History of Time” ที่ขายได้มากถึง 10 ล้านเล่ม ความหมายเป็นภาษาไทยของหนังสือเล่มนี้คือ “ประวัติย่อของกาลเวลา”
ในหนังสือเล่มนี้ ได้นำกลศาสตร์ควอนตัมมาพูดถึงเรื่องจักรวาล และความเป็นไปได้ของมนุษย์ที่จะไปดาวดวงอื่น รวมถึงเรื่องมิติที่ซับซ้อนซึ่งอาจจะทำให้มนุษย์เราเองเดินทางข้ามเวลาได้
ในช่วงหลัง สตีเฟ่น ได้พยายามที่จะทำตามความฝันของเขาเองคือการท่องอวกาศ แต่ด้วยร่างกายของเขาเองจึงทำให้เขาได้ลองแค่สภาวะไร้น้ำหนักที่ Kennedy Space Center ในรัฐ Florida
อย่างไรก็ตาม สตีเฟ่น ที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จในเรื่องงาน แต่ในเรื่องครอบครัวนั้น สุดท้ายเขาได้เลิกกับภรรยาของเขาในปี 1990
เหตุผลเบื้องหลังก็คือ สตีเฟ่น ต้องการให้ภรรยาของเขามีชีวิตที่ดีขึ้นเหมือนครอบครัวทั่วไป (อ้างอิงจากภาพยนตร์เรื่อง The Theory of Everything ในปี 2014)
และในวันนี้ วันที่ 14 มีนาคม 2018 อาจเป็นหนึ่งวันธรรมดาของคนทั่วไป
ถ้าในวงการวิทยาศาสตร์ ก็อาจถือได้ว่าวันนี้เป็นวันที่โลกได้เสียบุคคลสำคัญไป
แต่ถึงแม้เราไม่ได้อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์ เราได้เรียนรู้อะไรจากชีวิตเขาได้บ้าง
ในชีวิตคนเรา
เราไม่รู้หรอกว่า เราจะเจอโรคร้าย หรือจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับตัวเรา เมื่อไหร่
โลกนี้ไม่ได้สมบูรณ์เหมือนในนิยาย มีเจ้าชาย เจ้าหญิง ทุกอย่างสวยงาม
และเมื่อเราเจออุปสรรค
ไม่ใช่เวลาที่เราต้องมานั่งท้อแท้ ร้องไห้
ขนาด สตีเฟ่น เผชิญกับโรคร้ายที่หมอทำนายว่าจะอยู่ได้อีกแค่ 2 ปีครึ่ง สุดท้าย ร่างกายขยับไม่ได้ กะพริบตาได้อย่างเดียว เขายังประสบความสำเร็จในชีวิต และมีชีวิตที่ยาวนานได้
แล้วเราแย่แค่ไหน?
ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกนี้ จะร้ายแรงแค่ไหนขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา
เรื่องที่ใหญ่โตของเรา อาจจะเป็นเรื่องเล็กนิดเดียวของอีกคน
จะดีกว่าไหม
ถ้าช่วงเวลาที่เหลืออยู่
เราจะตั้งใจทำทุกอย่างให้เต็มที่ ให้คุ้มกับหนึ่งชีวิตที่เราได้มา
เพราะเราไม่รู้เลยว่า
เราจะมีชีวิต ไปได้อีกนานเท่าไร..
“The universe doesn't allow perfection.”
จักรวาลนี้ ไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบ..
― Stephen Hawking, A Brief History of Time
----------------------
<ad> หนังสือลงทุนแมน 2.0 วางแผงแล้ว
หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
----------------------
Reference
-https://www.biography.com/people/stephen-hawking-9331710
-http://blogs.discovermagazine.com/80beats/2012/01/09/how-stephen-hawking-has-survived-to-age-70/#.Wqj19aOcE2w
-https://en.wikipedia.org/wiki/Hawking_radiation
-https://en.wikipedia.org/wiki/A_Brief_History_of_Time
-https://www.telegraph.co.uk/news/2018/03/14/professor-stephen-hawking-renowned-physicist-dies-aged-76/
จักรวาลนี้ ไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบ..
― Stephen Hawking, A Brief History of Time
----------------------
<ad> หนังสือลงทุนแมน 2.0 วางแผงแล้ว
หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
----------------------
Reference
-https://www.biography.com/people/stephen-hawking-9331710
-http://blogs.discovermagazine.com/80beats/2012/01/09/how-stephen-hawking-has-survived-to-age-70/#.Wqj19aOcE2w
-https://en.wikipedia.org/wiki/Hawking_radiation
-https://en.wikipedia.org/wiki/A_Brief_History_of_Time
-https://www.telegraph.co.uk/news/2018/03/14/professor-stephen-hawking-renowned-physicist-dies-aged-76/