<ผู้สนับสนุน> เข็มทิศชี้โอกาสการลงทุน กับกองทุนใหม่จาก UOBAM

<ผู้สนับสนุน> เข็มทิศชี้โอกาสการลงทุน กับกองทุนใหม่จาก UOBAM

14 ก.พ. 2018
<ผู้สนับสนุน>
เข็มทิศชี้โอกาสการลงทุน กับกองทุนใหม่จาก UOBAM / โดย ลงทุนแมน
UOBAM มีกองทุนใหม่ที่กำลังจะเสนอขายเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
กองทุนนี้เป็นกองทุนตราสารหนี้ที่มีชื่อว่า กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล ไดนามิค บอนด์ ฟันด์ (United Global Dynamic Bond : UDB)
กองทุนนี้จะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ ที่มีชื่อว่า The Jupiter Global Fund - Jupiter Dynamic Bond (Euro Class I) ของ บริษัทจัดการกองทุน Jupiter Unit Trust Managers Limited (Jupiter)
Jupiter เป็นใคร?
ถ้าพูดถึงบริษัทจัดการกองทุนประเภทตราสารหนี้ที่เราได้ยินชื่อบ่อยจากฝั่งอเมริกา หลายคนก็น่าจะนึกถึง PIMCO
แต่ถ้าหากพูดถึงทางฝั่งยุโรปแล้ว จะต้องมีชื่อของ Jupiter
และในประเทศไทย กองทุนตราสารหนี้ที่โฟกัสในฝั่งยุโรป จะหากองทุนแบบนี้ค่อนข้างยาก
บริษัทจัดการกองทุน Jupiter ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1985 หรือตั้งแต่ 33 ปีที่แล้ว
ปัจจุบันมีสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหาร (AUM) อยู่ที่ 53,500 ล้านยูโรหรือราว 2.07 ล้านล้านบาท (ณ มิถุนายน 2560)
ทางกองทุนหลัก Jupiter Dynamic Bond มีนโยบายการบริหารกองทุนแบบ Active Management กระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ทั่วโลก เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน รวมถึง MBS (Mortgage Backed Securities) ระดับ Tier 1 และ 2 เป็นต้น
จุดเด่นของกองทุนหลักมีอะไรบ้าง?
จุดเด่นแรกคือเรื่องการเน้นสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่เป็นบวกในทุกสภาวะตลาด (Absolute Return Mindset) และ ผลตอบแทนย้อนหลัง (Historical Record) ก็พิสูจน์มาแล้วว่าทำได้*
เรื่องที่สองก็คงเป็นเรื่องความยืดหยุ่นในการจัดสรรการลงทุน เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการลงทุน (Unconstrained Strategy) ทำให้ผู้จัดการกองทุนสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนไปตามภาวะตลาดได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งก็จะทำให้อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ (Duration) ของพอร์ตการลงทุนนั้นไม่ถูกจำกัดตายตัว สามารถปรับให้นานขึ้นหรือสั้นลงได้ ตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย
ใครที่กังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ด้วยกลยุทธ์นี้ก็จะสามารถทำให้กองทุนนี้รับมือกับเรื่องดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ปัจจุบันกองทุนยังมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างน้อย 80% ของสินทรัพย์สกุลยูโร และ ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างน้อย 90% ในฝั่งกองทุนไทย
ซึ่งการเลือกสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุนหลัก ทางผู้จัดการกองทุนจะต้องใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นฐานของตราสารหนี้รายตัว (Bottom-Up) ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจมหภาค (Top-Down)
รวมถึงยังเน้นในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เป็นขาลงของตลาด เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (Sharpe Ratio) ที่ดีด้วย
ขั้นตอนเหล่านี้ ก็ส่งผลให้เมื่อสิ้นปี 2560 ที่ผ่านมา กองทุนหลักมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอมาโดยตลอด ได้รับการจัดเรตติ้งจาก Morning Star ในระดับ 5 ดาว และปัจจุบันมีขนาดกองทุนอยู่ที่ 417,700 ล้านบาท
*ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก (Jupiter Dynamic Bond) เปรียบเทียบกับดัชนีเปรียบเทียบ (Morning Star Global Fexible Bond - EUR Hedged)
ย้อนหลัง 1 ปี
กองทุนหลัก 2.30% ความผันผวน 1.13%
ดัชนี 2.70% ความผันผวน 1.00%
ย้อนหลัง 3 ปี
กองทุนหลัก 3.11% ความผันผวน 2.37%
ดัชนี 1.75% ความผันผวน 2.71%
ย้อนหลัง 5 ปี
กองทุนหลัก 5.00% ความผันผวน 2.62%
ดัชนี 1.80% ความผันผวน 2.67%
ที่น่าสนใจคือ กองทุนหลักมีความผันผวนต่ำในระดับที่ใกล้เคียงกับดัชนี แต่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ กองทุนหลักเคยขาดทุนสูงสุดตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมา (Maximum Drawdown) ที่ -2.27% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ถ้าให้เห็นภาพง่ายๆคือ ตั้งแต่กองทุนเปิดมา เงิน 100 บาท จะเคยขาดทุนไปมากสุด 2.27 บาทเท่านั้น
จากสถิติผลตอบแทนของกองทุนหลัก การได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 5% จะหมายความว่า
จากเงินเริ่มต้น 100 บาทเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ตอนนี้เงินจะกลายเป็น 127 บาท
สิ่งนี้ก็น่าจะพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถของผู้จัดการกองทุนที่พยายามทำให้ความผันผวนของผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ ในขณะเดียวกันก็สร้างความสม่ำเสมอของผลตอบแทนได้เรื่อยมา (Absolute Return Mindset)
ในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังร้อนแรง
กองทุนรวมตราสารหนี้กองนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตรวม (Diversification) ให้มีความแข็งแรงขึ้นเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจไม่คาดคิดในอนาคต
กองทุน UDB เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนและเนื่องจากกองทุนหลักสามารถลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่อง, ตราสาร non-investment grade / unrated, สัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงตราสารหนี้ในต่างประเทศ ซึ่งตราสารดังกล่าวอาจไม่สามารถชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ยตามจำนวนหรือเวลาที่กำหนด ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีฐานะการเงินที่สามารถรับความเสี่ยงจากผลขาดทุนได้
ถ้าสนใจกองทุนในลักษณะนี้ เราสามารถลงทุนกับกองทุนนี้ได้ ผ่านทาง กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล ไดนามิค บอนด์ (United Global Dynamic Bond) ของ UOBAM ที่จะเปิดขายภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลงานในอนาคต กองทุนมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นกับการลงทุนในต่างประเทศ แม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.uobam.co.th/th/mutual-fund/00536/UDB-N
Tag: UOBAM
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.