<ผู้สนับสนุน> การลงทุนใน สินทรัพย์ที่ให้ รายได้ประจำ

<ผู้สนับสนุน> การลงทุนใน สินทรัพย์ที่ให้ รายได้ประจำ

1 ก.พ. 2018
<ผู้สนับสนุน>
การลงทุนใน สินทรัพย์ที่ให้ รายได้ประจำ / โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงการลงทุนในทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่คงนึกถึงคำว่า หุ้น
แต่จริงๆ แล้ว ยังมีสินทรัพย์อื่นๆ อีกมากมายที่เราสามารถเข้าไปลงทุนได้
หนึ่งในนั้นคือ สินทรัพย์ที่เราจะได้รับผลตอบแทนเป็นรูปแบบรายได้ประจำ
การรับเงินจะเป็นงวดๆ ตัวอย่างเช่น การรับเงินปันผล ดอกเบี้ย และ ค่าเช่า
สินทรัพย์ลักษณะนี้ นอกเหนือจากหุ้นของบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผลต่อเนื่องแล้ว ยังมีตราสารหนี้แบบต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ภาคเอกชน ซึ่งก็ถือว่าเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจทางนึง เพราะโดยปกติแล้ว สินทรัพย์เหล่านี้จะมีความผันผวนของราคาที่ต่ำกว่าการลงทุนในหุ้น จึงอาจถือได้ว่าเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
ปกติใครที่ไม่อยากรับความเสี่ยงสูงนัก ก็มักจะลงทุนตราสารหนี้กัน แต่ในสภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำมานานแบบนี้ หลายคนอาจอยากมองหาทางเลือกอื่นๆ ที่ต่างไปจากเดิม เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น
โจทย์สำคัญจึงอยู่ที่ จะลงทุนอะไรให้ไม่เสี่ยงสูงเกินไป ผลตอบแทนสม่ำเสมอ สูงกว่าดอกเบี้ยแบบเดิมๆ และชนะเงินเฟ้อได้
กองทุนรวมหุ้นและการลงทุนในหุ้นตรงๆ ไม่ใช่คำตอบแน่ เพราะมีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนผันผวนบวกลบได้ตลอดเวลา
ถ้าจะเลือกซื้อตราสารหนี้รายตัวรับดอกเบี้ย หรือเลือกกองทุนตราสารหนี้ก็ไม่ตอบโจทย์ว่าจะให้ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นมาได้อย่างไร
ตัวเลือกที่น่าจะเป็นคำตอบได้ในตอนนี้คือกองทุนผสมที่ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เน้นสร้างผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดสม่ำเสมอให้กับผู้ลงทุน เหมือนเป็นรายได้ประจำ หรือที่เรียกว่า Income Fund
Income Fund ลงทุนอะไรถึงสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอได้
Income Fund เป็นกองทุนที่ลงทุนได้ทั้งในสินทรัพย์ทั้งที่เป็นตราสารหนี้ หุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(REITs) และสินทรัพย์ทางเลือกต่างๆ อย่าง Mortgage, Loan เน้นการบริหารจัดการความเสี่ยงให้สมดุล สร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ ไม่ใช่การเสี่ยงทำกำไรสูงๆ จากการเติบโตของ NAV
Income Fund ที่มีในบ้านเราส่วนใหญ่จะลงทุนในกองทุนหลักต่างประเทศ มีทั้งกองทุนที่ลงทุนทั่วโลก และเน้นบางภูมิภาค เพราะจะกระจายการลงทุนได้กว้างและหลากหลายกว่าในประเทศ
การที่กองทุนลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ย หรือเงินปันผลที่สม่ำเสมอ อย่าง ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) จะช่วยสร้างความมั่นคง ในขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างหุ้น จะเพิ่มผลตอบแทนที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนรวมที่ดีต่อเนื่องได้
แม้ผลตอบแทนจะไม่สูงเท่าพวกกองทุนหุ้น แต่ก็เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของกองทุนที่ถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง
อย่างที่ได้อธิบายไปในตอนต้นว่า หลายคนกำลังมองหาการลงทุนที่มีความเสี่ยงไม่มากเหมือนกับหุ้น แต่ก็อยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารหนี้
Income Fund ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนแบบที่ผสมสินทรัพย์ จึงเป็นเหมือนกับประเภทของการลงทุนที่เข้ามาแทรกอยู่ตรงกลาง โดยสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตราสารหนี้ เพราะผสมสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากขึ้นเข้าไป แต่ยังคงข้อดีในเรื่องความสม่ำเสมอของผลตอบแทนเอาไว้
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จะยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง ตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) กับ พอร์ตการลงทุนแบบกระจายสินทรัพย์
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนสูงที่สุดที่ 72.5% ในขณะที่ของพอร์ตผสมอยู่ที่ 40.8%
ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนติดลบมากที่สุดที่ -52.2% ในขณะที่ของพอร์ตผสมอยู่ที่ -28.1%
จะเห็นได้ว่าในยามที่ตลาดหุ้นไม่ดี พอร์ตผสมจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
ตลาดหุ้นเอเชีย มีความผันผวน 22.6% ในขณะที่พอร์ตผสม มีความผันผวนเพียง 12.2%
ที่มา: Bloomberg Finance L.P., Dow Jones, FactSet, J.P. Morgan Economic Research, MSCI, J.P. Morgan Asset Management
การลงทุนในพอร์ตผสมที่กระจายลงไปในหลายสินทรัพย์ยังมีข้อดีคือ
- ทำให้เข้าถึงสินทรัพย์ลงทุนหลากหลายได้ง่ายขึ้นด้วยกองทุนเดียว ไม่ต้องมานั่งวิเคราะห์เองรายตัว
- กระจายลงทุนหลายประเภทสินทรัพย์เท่ากับกระจายความเสี่ยง หุ้นทั่วโลกขึ้นมาเยอะ ผู้ลงทุนกังวลจะไปต่อหรือจะปรับฐานแรงมั้ย
- ดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ผู้มีเงินออมยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น เพื่อหาทางเลือกใหม่ๆ ที่ดีกว่าการฝากเงินหรือการลงทุนตราสารหนี้แบบเดิมๆ
Income Fund Series ของ บลจ.กรุงศรี
ที่จะมาพูดถึงในวันนี้ มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มกองทุน
1. KF-INCOME และ KF-CINCOME
ลงทุนในกองทุนหลักคือ JP Morgan Global Income (ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV) ซึ่งมีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ทั่วโลก
2. KFMINCOM-A และ KFMINCOM-R
ลงทุนในกองทุนหลักคือ Fidelity Funds – Global Multi Asset Income (ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV) มีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลกเช่นกัน แต่จะมีสัดส่วนการลงทุนในประเทศแถบเอเชียที่โดดเด่นกว่ากองทุนอื่น และมีการจำกัดสัดส่วนของการลงทุนในหุ้น
3. KFAINCOM-A และ KFAINCOM-R
ลงทุนในกองทุนหลักคือ Schroder Asian Income (ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV) ที่มีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มกองทุน ถึงจะมีนโยบายในการลงทุนที่อาจดูคล้ายกัน ความเสี่ยงระดับ 5 (ปานกลางค่อนข้างสูง) เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป
กลุ่มที่ 1 KF-INCOME (กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลอินคัม) และ KF-CINCOME (กองทุนเปิดกรุงศรีคอลเล็คทีฟโกลบอลอินคัม)
ลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของกองทุนหลักคือ JP Morgan Global Income Fund ซึ่งเน้นลงทุนในสินทรัพย์ของทางยุโรปและอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น หุ้นในกลุ่มต่างๆ ตราสารหนี้ รวมถึงทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) เป็นต้น โดยปัจจุบันมีการกระจายลงทุนมากกว่า 2,500 หลักทรัพย์เลยทีเดียว
ซึ่งการที่สามารถลงทุนแบบกระจายไปในหลากหลายสินทรัพย์จากหลายภูมิภาคแบบนี้ จะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนมีความยืดหยุ่นในการจัดสรรเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีในแต่ละสภาวะของเศรษฐกิจและตลาดได้
กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งในปัจจุบันมีการป้องกันความเสี่ยงแบบเต็มจำนวน
ทั้ง 2 กองทุนมีนโยบายการลงทุนที่เหมือนกัน แล้วต่างกันอย่างไร?
KF-INCOME เป็นกองทุนที่จะทำการขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติทุกเดือน ทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนที่เปรียบเสมือนมีรายได้ประจำเข้ามาในทุกๆ เดือน ส่วนกอง KF-CINCOME จะไม่มีการขายคืนแบบอัตโนมัติให้ แต่ผลตอบแทนจะสะสมไว้ในกองทุนให้เติบโตต่อไป เมื่อผู้ลงทุนต้องการรับผลตอบแทนก็ค่อยขายคืนหน่วยลงทุนตามจำนวนที่ต้องการได้ตามปกติ เหมือนกองทุนรวมทั่วไป
*การจ่ายผลตอบแทนรายเดือนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งอาจมีโอกาสที่นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนรายเดือนในบางช่วงเวลา
กลุ่มที่ 2 KFMINCOM-A และ KFMINCOM-R (กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลมัลติแอสเซทอินคัมเฮดจ์เอฟเอ็กซ์ มีชนิดสะสมมูลค่า กับรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ)
เดิมกองทุนนี้คือ KF-MINCOME ซึ่งเป็นกองทุนที่เปิดใหม่เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนต่างๆ ทั่วโลก ผ่านกองทุนหลักคือ Fidelity Funds – Global Multi Asset Income พอร์ตของกองทุนปัจจุบันลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลักที่ 57% รองลงมาเป็นตราสารทุนในประเทศต่างๆ อีก 34.7% และสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ อีก 7.2% ของเงินลงทุนทั้งหมด และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเต็มจำนวนด้วย
ที่ผ่านมา กองทุนสามารถสร้างกระแสเงินสดจากการขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนทุกเดือนติดต่อกันตามนี้
4 ม.ค. 2561 0.0319 บาท/หน่วย
6 ธ.ค. 2560 0.0319 บาท/หน่วย
3 พ.ย. 2560 0.0322 บาท/หน่วย
4 ต.ค. 2560 0.0325 บาท/หน่วย
5 ก.ย. 2560 0.0277 บาท/หน่วย
แหล่งข้อมูล: www.krungsriasset.com
*การจ่ายผลตอบแทนรายเดือนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งอาจมีโอกาสที่นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนรายเดือนในบางช่วงเวลา
ความแตกต่างของกองทุนนี้คือ ถึงจะมีนโยบายลงทุนในทุกภูมิภาคทั่วโลก แต่ผู้จัดการกองทุนมีความเชี่ยวชาญตลาดทางฝั่งเอเชียเป็นพิเศษ ทำให้มีสัดส่วนการลงทุนในเอเชียที่มากกว่าของกองทุนอื่นๆ (เป็นสัดส่วนประมาณ 20%)
ดังนั้น ถ้าอยากรับกระแสเงินสดรายเดือนจากการลงทุนก็เลือกลงทุน KFMINCOM-R แต่ถ้าต้องการสะสมผลตอบแทนไว้ในกองทุนให้โตไปเรื่อยๆ แนะนำ KFMINCOM-A ที่ไม่มีการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ อยากรับเงินเมื่อไหร่ก็ขายคืนเองได้เหมือนกองทุนรวมทั่วไป
กลุ่มที่ 3 KFAINCOM-A และ KFAINCOM-R (กองทุนเปิดกรุงศรีเอเชียนอินคัมเฮดจ์ มีชนิดสะสมมูลค่า กับชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ)
ลงทุนผ่านกองทุนหลักคือ Schroder Asian Income Fund ที่เน้นลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง ตราสารหนี้ยังมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่ดี และหุ้นก็มีความน่าสนใจจากการการจ่ายเงินปันผลที่ดีและสม่ำเสมอ การบริหารกองทุนแบบ active ยืดหยุ่น จะทำให้มีโอกาสสร้างกำไรจากการเติบโตของเอเชียได้ดี
ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนสูงสุดคือประเทศจีน 18.9% ฮ่องกง 17.8% ออสเตรเลีย 16.8% และ สิงคโปร์ 12.8% โดยมีนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเต็มจำนวนด้วย
รูปแบบการรับผลตอบแทนเหมือน Income Fund อื่นที่พูดถึงไปแล้วคือมี KFAINCOM-R ที่ขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเป็นผลตอบแทนรายเดือนให้ผู้ลงทุน กับ KFAINCOM-A ที่ไม่มีการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ
โดย KFAINCOM-R มีประวัติการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติอย่างสม่ำเสมอ ณ ธันวาคม 2560 รวมทั้งสิ้น 30 ครั้ง เป็นเงิน 1.2463 บาท
ประวัติการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ 10 ครั้งล่าสุด
วันที่ จำนวนเงินต่อหน่วย
6 ธ.ค. 2560 0.0420 บาท/หน่วย
3 พ.ย. 2560 0.0419 บาท/หน่วย
4 ต.ค. 2560 0.0419 บาท/หน่วย
6 ก.ย. 2560 0.0417 บาท/หน่วย
3 ส.ค. 2560 0.0441 บาท/หน่วย
5 ก.ค. 2560 0.0430 บาท/หน่วย
5 มิ.ย. 2560 0.0434 บาท/หน่วย
4 พ.ค. 2560 0.0434 บาท/หน่วย
5 เม.ย. 2560 0.0421 บาท/หน่วย
3 มี.ค. 2560 0.0427 บาท/หน่วย
แหล่งข้อมูล: www.krungsriasset.com
*การจ่ายผลตอบแทนรายเดือนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งอาจมีโอกาสที่นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนรายเดือนในบางช่วงเวลา
ลงทุนใน Income Fund ดีอย่างไร?
ข้อแรก ก็คงจะเป็นเรื่องของการมีสัดส่วนเงินลงทุนในตราสารหนี้ เพราะจะมีความผันผวนของราคาที่ต่ำกว่าหุ้น ส่วนหนึ่งก็เพราะมูลค่าที่ตราไว้และการจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้นั้นคงที่และถูกกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ซึ่งจะต่างจากมูลค่าหุ้นของบริษัทที่ขึ้นอยู่กับแผนงานและผลประกอบการในแต่ละปี
ส่วนข้อที่สอง เป็นเรื่องของการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยงไม่ให้กระจุกอยู่กับตลาดใดตลาดหนึ่ง และสามารถสร้างความสม่ำเสมอของผลตอบแทนได้ดีกว่าการลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว
สรุปแล้ว กองทุนผสม อาจจะไม่นำมาซึ่งตัวเลขผลตอบแทนที่สูงเหมือนกับการลงทุนหุ้นในช่วงที่ตลาดดี แต่ในวันที่ไม่ดี ก็จะไม่แสดงตัวเลขที่แย่มากออกมาเช่นกัน
และนอกจากจะได้ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ นอกจากหุ้นแล้ว Income Fund กลุ่มนี้ยังมีทางเลือกให้กับผู้ที่อยากได้รายได้สม่ำเสมอจากการลงทุน ด้วยกองทุนแบบที่มีขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติให้ทุกเดือน โดยที่เราไม่ต้องยุ่งยากเสียเวลามาจัดการเองด้วย
ซึ่งกองทุนที่นำเสนอมานี้ ก็มีนโยบายการลงทุนที่โดดเด่นกันคนละด้าน ให้เราสามารถเลือกซื้อได้ตามความสนใจของแต่ละคน
ถือว่าเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจไม่น้อยจากทาง บลจ.กรุงศรี น่าจะเหมาะกับคนที่ไม่อยากเสี่ยงสูงกับความผันผวนของตลาดหุ้น แต่ยังอยากได้รับผลตอบแทนที่ดีในระดับหนึ่ง หรือกำลังสนใจอยากลงทุนในตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนเป็นรูปแบบรายได้ประจำ
คำเตือน: กองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและ/หรือ การเมืองในประเทศซึ่งกองทุนหลักลงทุน/ กองทุนลงทุนในตราสาร non–investment grade / unrated ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย/ KF-INCOME และ KF-CINCOME อาจเข้าทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรม โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงฯ ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้/ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.