เรากำลังเข้าสู่ยุค SPACE RACE อีกครั้ง

เรากำลังเข้าสู่ยุค SPACE RACE อีกครั้ง

24 ธ.ค. 2017
เรากำลังเข้าสู่ยุค SPACE RACE อีกครั้ง / โดย ลงทุนแมน
ตั้งแต่ประวัติศาสตร์มนุษย์มีมา
จรวด SATURN V ของ NASA เป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุด
จรวดนี้เป็นพระเอกในยุค APOLLO
และ เป็นจรวดชนิดเดียวที่เคยนำมนุษย์ออกไปเกินวงโคจรของโลก
จรวดนี้เคยนำนักบินอวกาศทั้งหมด 24 คน ไปดวงจันทร์ ในช่วงปี ค.ศ. 1968-1972
แต่จรวดนี้ เป็นเทคโนโลยีเมื่อ 50 ปีที่แล้ว
และตั้งแต่นั้นมา ยังไม่เคยมีมนุษย์คนไหนได้ออกไปเกินวงโคจรของโลกอีกเลย
แต่เรื่องนี้กำลังจะเปลี่ยนไป..
..............................
ขอต้อนรับเข้าสู่เรื่อง SPACE RACE 2018
..............................
และในที่สุดเรากำลังจะเข้าสู่ยุคการแข่งขันทางอวกาศอีกครั้ง
แต่คราวนี้ไม่ใช่อเมริกากับโซเวียต แต่เป็น 3 องค์กรจากอเมริกา
องค์กรแรก คือ NASA ซึ่งเราก็คงจะคุ้นชื่อดีอยู่แล้ว ไม่ต้องอธิบายว่าเป็นอะไร
องค์กรที่สอง เป็นบริษัทเอกชนชื่อ SpaceX ของ Elon Musk ที่สามารถทดลองนำจรวดกลับมาใช้ใหม่ได้ในปีนี้
องค์กรที่สาม เป็นบริษัทเอกชนชื่อ Blue Origin ของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon และเป็นบุคคลผู้รวยที่สุดในโลก ณ เวลานี้
จรวด SATURN V เมื่อ 50 ปีที่แล้วใครเป็นคนคิด?
ใครจะไปเชื่อว่าผู้ที่คิดค้นจรวด SATURN V ไม่ใช่ชาวอเมริกัน แต่เป็นชาวเยอรมันที่ตอนนั้นเป็นศัตรูของอเมริกา
ชื่อของเขา คือ Wernher von Braun ผู้คิดค้นจรวด V-2 ให้กองทัพเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการถล่มลอนดอน ซึ่งเป็นจรวดมิสซายล์ที่ใช้ในสงครามครั้งแรกของโลก
เทคโนโลยีนี้ล้ำถึงขนาดที่ 50 ปีผ่านไป เกาหลีเหนือก็ยังทดลองจรวดแบบที่ว่านี้อยู่ และประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีนี้เลย
ความฉลาดถ้านำไปใช้ในการสงครามก็ทำให้เสียหายอย่างหนัก
มีการประมาณการว่ามีคนตายเพราะจรวด V-2 มากถึง 9,000 คน
แต่ที่น่าตกใจกว่าคือ แรงงานเชลยที่ถูกบังคับให้ผลิตอาวุธนี้ มีคนเสียชีวิตมากถึง 12,000 คน
หลังจากฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย และเยอรมันยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้ง อเมริกา อังกฤษ และ โซเวียต ต่างแย่งกันจับตัว Wernher von Braun
แต่ผลสุดท้ายเป็นฝ่ายอเมริกาได้ตัวไป
สุดท้ายอเมริกาจึงได้ใช้แนวคิดนี้มาช่วยในความก้าวหน้าด้านอวกาศ และกลายเป็นจรวด Saturn V ในที่สุด
จรวด SATURN V เมื่อ 50 ปีที่แล้ว แรงขนาดไหน?
ณ จุดพีค จรวดนี้จะมีแรงขับเคลื่อนเท่ากับเครื่องบินโบอิ้ง 747 รวมกัน 42 ลำ และมากพอที่จะทำให้ วัตถุ 140 ตัน ขึ้นไปอวกาศได้
และไม่มีจรวดรุ่นไหนทัดเทียม SATURN V ได้ แม้เวลาผ่านไปนาน 50 ปี
จนในที่สุด
จรวด Falcon Heavy ของ SpaceX จะเป็นจรวดลำแรก นับจาก SATURN V เมื่อ 50 ปี ที่แล้ว ที่จะสามารถส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ได้
สำหรับจรวด New Glenn ของ Blue Origin จะมาแข่งกับ SpaceX ในการส่งดาวเทียมไปในอวกาศ เพราะ Blue Origin มีแนวคิดเอาจรวดกลับมาใช้ใหม่ได้เหมือนกัน
ทำไมการส่งดาวเทียมยังสำคัญอยู่?
เพราะตอนนี้ในโลกเราอยู่ในยุคอินเตอร์เน็ตที่เป็น mobile ที่มีการใช้ข้อมูลจำนวนมาก
การสร้างสถานีฐานแบบเดิมจะรองรับไม่ไหวแล้ว
สิ่งที่จะมาช่วยในการสื่อสารข้อมูลที่ล้นโลกอยู่ตอนนี้คือ ดาวเทียมขนาดเล็กหลายดวงที่โคจรอยู่ในวงโคจรระดับต่ำ
แต่สิ่งที่เหนือกว่าการไปดวงจันทร์ หรือส่งดาวเทียม คือ การส่งมนุษย์ไปดาวอังคาร ที่มนุษยชาติจำเป็นต้องมีดาวแบ็กอับ เผื่อว่าโลกเป็นอะไรไป
จรวดแบบไหนจะส่งมนุษย์ไปดาวอังคารได้?
คาดว่าจรวดตัวใหม่ของ NASA จะมีพลัง เป็น 1.2 เท่า ของ SATURN V ซึ่งมีแรงมากพอที่จะไปดาวอังคาร
และสุดท้ายยังมี พี่เบิ้มของเราที่เหนือกว่า NASA อีก
จรวดชื่อ BIG FALCON จะมีพลังเป็น 1.5 เท่าของ SATURN V ซึ่งเกินพอที่จะส่งมนุษย์ไปดาวอังคารได้..
จรวด BIG FALCON ก็เป็นโครงการของ SpaceX อีกเช่นเคย
..
ในทศวรรษถัดไป (ค.ศ. 2020-2030) ก็คงไม่ต้องสงสัยว่าจะเป็นยุคที่เราได้เห็นการแข่งขันด้านอวกาศอีกครั้ง
ปีหน้า จรวด Falcon Heavy จะเริ่มใช้
ปี 2020 จรวดตัวใหม่ของ NASA จะเริ่มใช้
และปี 2022 Elon Musk ประกาศว่าเขาจะส่งจรวด BIG FALCON ไปดาวอังคาร..
สวัสดีประเทศไทย..
----------------------
อ่านเรื่องเทคโนโลยีที่น่าสนใจอีกหลายเรื่องได้ที่ APP ลงทุนแมน โหลดฟรี https://www.longtunman.com/app
รวมเรื่อง Elon Musk ของลงทุนแมนทั้งหมด
ELON MUSK บุคคลแห่งศตวรรษ
https://www.longtunman.com/278
TESLA บริษัทเปลี่ยนโลก ตอนที่ 1 ดวงอาทิตย์
https://www.longtunman.com/225
TESLA บริษัทเปลี่ยนโลก ตอนที่ 2 รถยนต์
https://www.longtunman.com/170
TESLA บริษัทเปลี่ยนโลก ตอนจบ GIGAFACTORY
https://www.longtunman.com/367
TESLA ฟองสบู่ หรือ ของจริง?
https://www.longtunman.com/1418
HYPERLOOP จะมาแทนเครื่องบิน?
https://www.longtunman.com/1351
EARTH TO EARTH ทุกที่บนโลกใน 1 ชั่วโมง
https://www.longtunman.com/2321
MULTI-PLANET สปีชีส์
https://www.longtunman.com/2571
----------------------
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.