กองทุน LTF ที่มีธรรมาภิบาล

กองทุน LTF ที่มีธรรมาภิบาล

14 ธ.ค. 2017
กองทุน LTF ที่มีธรรมาภิบาล / โดย เพจลงทุนแมน
การซื้อกองทุนในทุกวันนี้ นอกเหนือจากผลประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีที่จะได้จากการซื้อกองทุนประเภท LTF และ RMF แล้ว ยังเรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยให้คนหลายคนที่ไม่มีเวลาคอยวิเคราะห์หรือติดตามหุ้นแต่ละตัวด้วยตัวเอง สามารถที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นได้ง่ายขึ้น
หลายๆ คนก็น่าจะมีลักษณะของบริษัทที่ตัวเองชอบอยู่ในใจซึ่งก็คงไม่เหมือนกันในแต่ละคน เช่น บางคนอาจชอบบริษัทใหญ่มีชื่อเสียง บริษัทเล็กหรือกลางที่กำลังเติบโต หรือบริษัทที่เริ่มอยู่ตัวแล้วจ่ายเงินปันผลดี
แต่ยังมีอีกทางเลือกของการลงทุน นั่นก็คือ บริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดี
ถ้าเราได้มีโอกาสอ่านรายงานประจำปีของบริษัทใหญ่ๆ ตอนนี้ จะมีอยู่สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกัน คือคำว่า “ธรรมาภิบาล” “บรรษัทภิบาล” หรือ “Corporate Governance” หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “CG”
CG คืออะไร?
เป็นระบบที่จะควบคุมและกำกับดูแลการบริหารจัดการภายในบริษัท เพื่อให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกฝ่าย ซึ่งก็จะมีหลักเกณฑ์สากลจำนวนหลายข้อที่จะถูกใช้เพื่อประเมินว่าบริษัทนั้นๆ มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่ในระดับไหน หรือที่เรียกว่า CG Rating ซึ่งมีตั้งแต่ระดับ 1 – 5 โดยระดับ 5 คือ Rating ที่มีคุณภาพสูงสุด (ถูกประเมินโดยองค์กรเฉพาะ ถ้าเป็นของไทยจะมี TRIS และ IOD)
สรุปง่ายๆ คือ บริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีควรจะต้อง โปร่งใส ได้รับการตรวจสอบอย่างเหมาะสม และควรจะต้องไม่มีใครเอาเปรียบใครไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน และคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
บริษัทในลักษณะนี้ก็น่าจะไว้ใจได้ และ น่าจะลงทุนได้ในระยะยาว โดยเราไม่ต้องกังวลว่าจะมีเรื่องไม่ชอบมาพากลในบริษัทหรือไม่
มี CG ที่ดีแล้วบริษัทได้ประโยชน์อะไร?
แน่นอนว่าการที่บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีก็คงจะส่งผลต่อมุมมองของผู้บริโภคและนักลงทุน แต่สุดท้ายแล้ว คุ้มจริงหรือ ที่บริษัทต่างๆ ต้องมานั่งยุ่งยากปรับระบบการจัดการเพื่อให้ได้ CG Rating ที่ดี
รู้หรือไม่ว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยทั้งในไทยและในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตัวอย่างบริษัทจากทางฝั่งตะวันตกหรือในเอเชีย ที่ชี้ว่า ในทางสถิติแล้ว บริษัทได้รับประโยชน์จากการถูกประเมินว่ามี CG อยู่ในระดับที่ดี ซึ่งก็อาจจะมาในรูปของ ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น (Performance) หรือ ต้นทุนในการกู้ยืมที่ถูกลง (Cost of borrowing) เป็นต้น
ลองคิดเป็นตัวอย่างง่ายๆ ก็ได้ว่า ถ้าเราจะให้คนอื่นมายืมเงินเราไปใช้ นอกจากเราจะอยากรู้ว่าคนๆ นั้นจะเอาเงินไปทำอะไรแล้ว ก็คงอยากรู้ด้วยว่าเขาไว้ใจได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าไว้ใจได้ เราคงรู้สึกสบายใจที่จะให้ยืมมากขึ้น (คิดดอกเบี้ยถูกกว่า)
เท่ากับว่า การที่บริษัทพยายามแสดงให้เห็นว่าตัวเองมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ก็เพราะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานได้นั่นเอง
แล้วเราจะเลือกลงทุนในบริษัทที่มี CG ที่ดีได้อย่างไร?
ทุกคนสามารถเข้าไปหาอ่านรายละเอียดและวิเคราะห์การกำกับดูแลกิจการของบริษัทได้ด้วยตัวเองจากในรายงานประจำปี หรือจะไปหาดูระดับ CG Rating เลยก็ได้จากองค์กรที่จัดทำเรตติ้งทุกปีอยู่แล้ว
หรือก็มีทางที่ลัดกว่านั้น..
ทาง บลจ. ยูโอบี (UOBAM) ที่ได้เล็งเห็นถึงบทบาทความสำคัญของ CG ก่อนใคร ได้จัดตั้งกองทุนที่เน้นคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่ได้รับการประเมินว่ามี CG อยู่ในระดับที่ดี ตั้งแต่ปี 2547 หรือเมื่อ 13 ปีที่แล้ว โดยถือเป็นเจ้าแรกในตลาดที่ริเริ่มการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ โดยยังเป็นกองทุน LTF ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้อีกด้วย
กองทุนเปิด บรรษัทภิบาล หุ้นระยะยาว (CG-LTF)
เป็นกองทุนที่มีกลยุทธ์เชิงรุก (ACTIVE) ที่ได้รับการจัดอันดับผลตอบแทนจาก Morningstar ให้อยู่ในระดับ 5 ดาว (ณ ตุลาคม 2560) กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ปัจจุบันเน้นเลือกหุ้นของบริษัทที่มีระบบธรรมาภิบาลที่ดีได้รับ CG rating ระดับ 3 ขึ้นไป ปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีขนาดกองทุนอยู่ที่ 9,957 ล้านบาท
สัดส่วนการลงทุนในบริษัท 5 อันดับแรกของ CG-LTF ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560
ซีพีออลล์ (CPALL) คิดเป็นสัดส่วน 6.09%
บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีธุรกิจหลักคือ การค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven) และธุรกิจอื่นๆ ที่สนับสนุนธุรกิจหลัก เช่น ผลิตและจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน (CPRAM) และตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ (Counter Service) เป็นต้น
ปตท (PTT) คิดเป็นสัดส่วน 6.03%
บริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดในไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม และปิโตรเคมีแบบครบวงจร คือ ไล่ตั้งแต่การสำรวจ ผลิต จัดหา ไปจนถึงจัดจำหน่าย ผ่านทั้ง ปตท เองและบริษัทในเครือ มีผลิตภัณฑ์เป็นน้ำมันเชื่อเพลิง เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล์ NGV น้ำมันหล่อลื่น และยังมีธุรกิจค้าปลีก เช่น ร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ และ กาแฟอเมซอน เป็นต้น
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) คิดเป็นสัดส่วน 5.91%
บริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม มีธุรกิจหลักอยู่ 3 อย่าง คือ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่าย AIS บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง AIS Fibre และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์อย่างเช่น AIS PLAY และ AIS PLAYBOX
ท่าอากาศยานไทย (AOT) คิดเป็นสัดส่วน 4.88%
บริษัทที่ผูกขาดกิจการด้านอากาศยานในประเทศไทย มีธุรกิจหลักคือ การจัดการ ดำเนินงาน และพัฒนาท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง (เชียงราย) ภูเก็ต และหาดใหญ่ โดยมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ส่วนแบ่งผลประโยชน์ และค่าเช่าพื้นที่
ไออาร์พีซี (IRPC) คิดเป็นสัดส่วน 4.88%
บริษัทในเครือของ ปตท เดิมเคยรู้จักกันในชื่อ ทีพีไอ เป็นเจ้าของโรงกลั่นน้ำมันและโรงงานปิโตรเคมีที่จังหวัดระยอง มีธุรกิจหลักคือ การกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเช่น เม็ดพลาสติกและวัตถุดิบตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตพลาสติกสำเร็จรูป ธุรกิจท่าเรือน้ำลึก คลังเก็บน้ำมัน และโรงไฟฟ้า รวมถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินในส่วนที่เป็นที่ดินเปล่า
ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การลงทุนด้วยกลยุทธ์แบบ ACTIVE ที่คัดสรรทุกขั้นตอนของการลงทุน ส่งผลสะท้อนไปยังผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน เมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัดอย่าง SET Total Return Index ซึ่งจะรวมเงินปันผลเข้าไปในดัชนีด้วย ดังนี้
ย้อนหลัง 1 ปี
CG-LTF ผลตอบแทน 16.72% ความผันผวน 6.98%
SET TRI ผลตอบแทน 18.57% ความผันผวน 5.05%
ย้อนหลัง 3 ปี (%ต่อปี)
CG-LTF ผลตอบแทน 5.95% ความผันผวน 11.07%
SET TRI ผลตอบแทน 3.83% ความผันผวน 10.54%
ย้อนหลัง 5 ปี (%ต่อปี)
CG-LTF ผลตอบแทน 11.96% ความผันผวน 16.15%
SET TRI ผลตอบแทน 6.42% ความผันผวน 12.32%
ย้อนหลัง 10 ปี (%ต่อปี)
CG-LTF ผลตอบแทน 12.73% ความผันผวน 21.72%
SET TRI ผลตอบแทน 6.93% ความผันผวน 20.10%
ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 27 ตุลาคม 2547 (%ต่อปี)
CG-LTF ผลตอบแทน 14.58% ความผันผวน 20.81%
SET TRI ผลตอบแทน 8.07% ความผันผวน 19.22%
เมื่อดูจากผลการดำเนินงานย้อนหลัง แม้ว่าในระยะเวลา 1 ปี กองทุนจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด แต่สำหรับการลงทุนในกองทุน LTF ที่มีจุดประสงค์เพื่อลงทุนระยะยาวแล้วนั้น การจะดูผลการดำเนินงานในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถสะท้อนถึงผลตอบแทนที่เราคาดหวังว่าจะได้รับในอนาคตได้
และเมื่อมาดูผลตอบแทนระยะยาวย้อนหลัง 5 ปี และ 10 ปี ที่ใกล้เคียงกับจำนวนปีที่เราต้องถือหน่วยลงทุน (อย่างน้อย 7 ปี) แล้ว ก็จะเห็นได้ว่ากองทุน CG-LTF นั้น ทำได้ดีกว่าตลาดอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะในระยะ 10 ปี ที่กองทุนและตลาดมีระดับความผันผวนหรือความเสี่ยงที่แทบจะเท่ากันกับตลาดโดยรวม แต่ทางกองทุนกลับสามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นเกือบ 2 เท่าของตลาดเลยทีเดียว
สรุปแล้ว กองทุน CG-LTF ของทาง บลจ. ยูโอบี คงเรียกได้ว่าเป็นกองทุนที่มีความน่าสนใจทั้งในเรื่องของนโยบายการลงทุนที่แตกต่างจากกอง LTF ทั่วๆ ไป และมีความโดดเด่นในการสร้างผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ได้อย่างเหมาะสม สำหรับคนที่กำลังคัดเลือกลงทุนในกองทุน LTF เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีในปีนี้ และอยากให้เป็นการลงทุนระยะยาวที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีไปพร้อมกัน..
------------------
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การจัดอันดับข้างต้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.