ไทยรัฐ เดลินิวส์ รายได้ลดลงแค่ไหน?

เรื่องนี้ ไม่ได้ตั้งใจเขียนให้เราตกใจ
แต่อยากให้เรายอมรับความจริง
ว่าหนังสือพิมพ์จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว
แล้วเรื่องนี้มีบทเรียนอะไรซ่อนอยู่ให้เราเรียนรู้
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
มองย้อนกลับไปเมื่อก่อน การที่เราจะได้รับรู้ข่าวสารในแต่ละวัน คงหนีไม่พ้น หนังสือพิมพ์ ที่จะมีคนนำมาส่งให้ทุกเช้า หรือแวะซื้อจากแผงหนังสือข้างทาง
แต่ทุกวันนี้ เราสามารถอ่านข่าวทั้งหมดได้ในมือถือตั้งแต่ตื่นนอนอยู่บนเตียง จนบางคนอ่านข่าวตอนเช้าก่อนแปรงฟันเสียอีก แถมข่าวที่เราอ่านยัง “ฟรี” ไม่ต้องเสียเงินซื้อเหมือนหนังสือพิมพ์
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และต้นทุนในการใช้ที่ถูกลง (เช่น ค่าอินเตอร์เน็ตและค่ามือถือ) ทำให้บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์หลายๆ เจ้าซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่หนังสือพิมพ์ มีรายได้ลดลง
สัญญาเตือนระลอกแรกก็น่าจะเป็น นิตยสารหลายฉบับเริ่มปิดตัวลง เช่น สกุลไทย IMAGE พลอยแกมเพชร
ส่วนระลอกที่สองก็คงหนีไม่พ้นหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน ที่เมื่อก่อนเคยเป็นเสือนอนกิน มีรายได้มากที่สุดในบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์
แล้วเรื่องนี้กระทบกับหนังสือพิมพ์มากแค่ไหน?
สำหรับผู้นำตลาดหนังสือพิมพ์ในบ้านเรา ก็คงเป็นหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ของครอบครัว วัชรพล และ เดลินิวส์ ของครอบครัว เหตระกูล
เมื่อเราลองดูรายได้ 5 ปีหลังสุดของทั้ง 2 บริษัท
บริษัท วัชรพล จำกัด (ไทยรัฐ)
ปี 2555 มีรายได้รวม 5,075 ล้านบาท กำไร 1,880 ล้านบาท
ปี 2556 มีรายได้รวม 5,165 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2%) กำไร 2,093 ล้านบาท
ปี 2557 มีรายได้รวม 4,453 ล้านบาท (ลดลง 14%) กำไร 1,648 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 3,905 ล้านบาท (ลดลง 12%) กำไร 1,456 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 3,071 ล้านบาท (ลดลง 21%) กำไร 928 ล้านบาท
บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด (เดลินิวส์)
ปี 2555 มีรายได้รวม 1,906 ล้านบาท กำไร 163 ล้านบาท
ปี 2556 มีรายได้รวม 1,902 ล้านบาท (ลดลง 0.2%) กำไร 296 ล้านบาท
ปี 2557 มีรายได้รวม 1,643 ล้านบาท (ลดลง 14%) กำไร 64 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 1,348 ล้านบาท (ลดลง 18%) กำไร 32 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 1,182 ล้านบาท (ลดลง 12%) กำไร 110 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่ารายได้ของทั้งคู่เริ่มลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2557 หรือ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็น่าจะมาจากค่าโฆษณาที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 บริษัทก็มีการเตรียมตัวและได้เริ่มปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมการเสพสื่อในปัจจุบัน และไม่ได้เน้นที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
โดยต่างก็มีเว็บไซต์เพื่อนำเสนอข่าว และช่องทีวีดิจิตอลเป็นของตัวเอง (ไทยรัฐทีวี และนิวทีวี)
ทีนี้เราลองมาดูรายได้ของบริษัทใหม่ของไทยรัฐ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 เพื่อรับผิดชอบเว็บไซต์ สื่อดิจิตอล และบริการข้อมูลข่าวสาร ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ในเครือ วัชรพล
ปี 2556 มีรายได้รวม 57 ล้านบาท กำไร 11 ล้านบาท
ปี 2557 มีรายได้รวม 72 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 25%) กำไร 11 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 87 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 22%) กำไร 7 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 140 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 60%) กำไร 17 ล้านบาท
ถึงแม้ว่า รายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับทิศทางของธุรกิจหนังสือพิมพ์ แต่ก็ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับฐานเดิมของบริษัทหลัก
และธุรกิจดิจิตอลทีวีของทั้งไทยรัฐและเดลินิวส์ ก็คงยังไม่ทำกำไร เพราะมีการแข่งขันสูงมากในตลาดดิจิตอลทีวี เรียกได้ว่าเป็นการหนีเสือปะจระเข้ รายได้เดิมก็ถดถอย ธุรกิจใหม่ก็ขาดทุน
เรื่องนี้เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน และสินค้าดั้งเดิมก็อาจจะได้รับผลกระทบ ตามที่ลงทุนแมนเคยอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ 6D ของหนังสือชื่อ Bold
เรื่องนี้เริ่มต้นจาก D ที่ 1 คือ Digitized ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้เรื่องบนโลกจริงเข้าสู่โลกดิจิตอล เราจะเห็นได้ว่า ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ได้ถูกเปลี่ยนรูปแบบแทรกเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ หน้าไลน์ หน้าเฟซบุ๊ค ของเราหมดแล้ว
ต่อมา D ที่ 2 คือ Deceptive การหลอกตัวเองว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังไม่หายไปไหนหรอก กระดาษยังมีการสัมผัสจับต้องได้ คนยังชอบอ่านจากกระดาษกันอยู่
D ที่ 3 Disruptive กระบวนการทำลายของดั้งเดิม จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนตั้งตัวไม่ทัน จริงอยู่ที่มีหลายคนชอบการสัมผัสของกระดาษ แต่อ่านจากในมือถือมันสะดวกกว่า สดใหม่กว่า รวดเร็วกว่า ข่าวในกระดาษต้องพิมพ์วันรุ่งขึ้น ซึ่งทุกคนได้รับรู้ข่าวไปตั้งแต่วันนี้แล้ว ทำให้ตลาดเดิมจะถูกแย่งไปเรื่อยๆดังปรากฏให้เห็นในรายได้ของ ไทยรัฐ และ เดลินิวส์
D ที่ 4 Demonetized เมื่อเทคโนโลยีมาแทนที่ โมเดลเรื่องการเก็บเงินจากลูกค้าจะเปลี่ยนไปจนใกล้เคียง 0 ตอนนี้เราอ่านข้อมูลต่างๆได้ฟรี ไม่ต้องเสียเงินซื้อหนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสารเหมือนเมื่อก่อน
D ที่ 5 Dematerialized เมื่อกระบวนการทำลายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงจุดหนึ่ง ของเดิมก็จะหายไป ตลาดของกระดาษสิ่งพิมพ์ก็เล็กลง จนไม่สามารถ economy of scale ได้อีกต่อไป ต้องปิดตัวลง และหายไปเหมือนที่เกิดขึ้นแล้วกับนิตยสารบางฉบับ
D ที่ 6 Democratized สุดท้ายจะไม่มีใครเป็นเจ้าของที่ผูกขาดอย่างแท้จริง ข้อมูลเนื้อหาของใครมีดี คนนั้นก็ได้รับความนิยม จากที่เมื่อก่อน หนังสือพิมพ์ไม่กี่เจ้าจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคม แต่ตอนนี้ผู้มีอิทธิพลจะขึ้นกับเสียงโหวตของคนบริโภคเอง ถ้าข้อมูลไหนดีจะได้ like เยอะ ถ้าข้อมูลไหนไม่ดีก็จะตกไปเอง ทุกคนสามารถเป็น Influencer ได้ถ้าเก่งในเรื่องนั้นจริง
สุดท้ายแล้ว เทคโนโลยี จะทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์มากขึ้น สะดวกมากขึ้น
ทุกวันนี้ เราเริ่มซื้อของออนไลน์ มากกว่าในร้านค้าจริง
ทุกวันนี้ เราเริ่มแชร์ข่าวสารให้เพื่อน คุยกับเพื่อนในไลน์ มากกว่าตัวจริง
เคยไหม? เราถูกพ่อแม่ หรือ แฟน เราโกรธ เพราะสนใจเรื่องในมือถือมากกว่า เรื่องที่เขากำลังเล่าอยู่
ทุกวันนี้ เราเริ่มใช้เวลาออนไลน์มากกว่าในชีวิตจริง
และนี่เป็นแค่จุดเริ่มต้น
ประวัติศาสตร์มนุษย์เกิดขึ้นมาแล้ว 100,000 ปี
ไอโฟนเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
เราเริ่มเล่นไลน์เมื่อ 5 ปีที่แล้ว
รายได้หนังสือพิมพ์เริ่มลดลงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
จุดนี้ไม่ใช่จุดสุดท้าย แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น
ก็น่าคิดว่า ในอนาคตของพวกเรา ณ จุดสุดท้ายจะเป็นอย่างไร?..
Comments
156 thoughts on “ไทยรัฐ เดลินิวส์ รายได้ลดลงแค่ไหน?”
You must be logged in to post a comment.
เขียนได้ดีมากๆในทุกๆบทความครับ ขอชื่นชม
เหตระกูลนี่เรียนอัสสัมชัญ ทุกเจเนเรชั่น 5555
งานปีใหม่ที่อัสสัมก็ได้เดลินิวเชิญดารานักร้องมารร.
งานจตุรมิตร เดลินิวส์ เอารถมาขนเพลสไปสนามศุภทุกปี
มันเกิดเร็วจนปรับตัวตามแทบไม่ทัน
พ่อผมอายุ 60 แต่ก่อนรับไทยรัฐเดลินิวส์ทุกวัน เดี๋ยวนี้เลิกรับแล้วอ่านข่าวในแท็บแลตเอาครับ
จริงครับ เมือ่ก่อนนี้ผมอ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ
เข้าร้านหนังสือบ่อยๆ (ครั้งละนานๆ ถ้าเ)้นวันหยุด)
พอมานึกๆดู ผมซื้อหนังสือพิมพ์ ครัง้สุดท้าย ก็หลายปีแล้ว (รวมทั้งเข้าร้านหนังสือ)
คือ แต่ก่อนเหมือนยัดเหยียดให้อ่าน แต่เดียวนี้ เราหาข่าว หาข้อมุลเองได้ทาง เน็ต (ฟรีด้วย)
แถมโซเซียล มีคนลงข่าวสดๆ ไวกว่า หนังสือพิมพ์ และ ทีวีอีก
ปล. ภาพประกอบ สาขาแถวบ้านผมเองคัรบ +
เห็นแล้วก็ใจหายนะครับ
ผมก็เข้า se-ed ซื้อหนังสือประจำ แต่ก็ยอมรับว่าเดี๋ยวนี้ซื้อน้อยลง จะซื้อที่เฉพาะด้านจริงๆ เพราะการอ่านข่าวสารต่างๆ จากสื่อดิจิตอลก็กินเวลาเราไปเยอะแล้ว เวลาในการอ่านหนังสือก็เลยน้อยลง
Se-ed หนังสือ บรรยากาศร้าน ไม่น่าสนใจ และอย่าลืมว่า ข้อมูล สาระหลายอย่าง มันใช้ google srech ได้หมด
สมัยก่อนวันหยุดไม่รู้จะไปไหนผมก็มักจะไปหมกตัวอยู่ร้านหนังสือนี่แหละ ไปหาอ่านฟรีมั่ง555 ซื้อมั่ง ตั้งแต่มีอินเตอร์เน็ตผมก็แทบจะไม่ได้เข้าร้านหนังสือเลย
เราหาความจริงจากการเขียนเม้นต์ข้อความต่างๆแล้วมาประกอบกัน ชัดกว่าอ่านในนสพ.ที่ชอบคิดว่าคนอ่านคิดไม่ได้
สมัยก่อนนัดเพื่อนในห้าง หรือรอดูหนัง ก็ใด้ร้านหนังสื่อนี่ละเข้าไปอ่านฆ่าเวลา บางทีก็ซื้อติดมือออกมาด้วย ตอนนี้ นั่งเล่นมือถือแทน
แถวบ้านเราด้วย
โลตัส พระราม4
หนังสือน้อยลงมาก
เอาเครื่องเขียน
กิ้ฟช็อปมาลงแทน
เห็นแล้วเศร้า…
แต่ก็ต้องรีบปรับตัว
รับความเปลี่ยนแปลง
ย้อนกลับมาที่ m2f หนังพิมพ์แจกฟรี
Nita Sukduang
Gamè GC Kritakarawin Noenchay
น้ำแข็งละลายแล้ว ไทยรัฐ เดลินิวส์ หาที่เกาะใหม่ได้แล้ว.
Nick Theerapon
Bing Chanatip
Aticha Pongsangangan
สมัยก่อนนี่ ซอกเกอร์เลยแบ่งกันอ่าน แต่พอยุคสมัยนี้ ทุกอย่างมารวมบนfeed คอลัมน์นิสต์มาไลฟ์เล่าข่าวให้ฟัง การเข้ามาของเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งอย่าง ดีต่อผู้บริโภค (จ่ายน้อยลง) ผู้ผลิตต้องปรับตัวไปเรื่อยๆ หนังสือพิมพ์สำหรับคนยุคนี้ไม่รู้จะมีความหมายไหม เพราะข่าวใหม่ๆ ขึ้นหน้า Feed ได้เร็วกว่า ไม่ต้องรออ่านข้ามวันเลย
กำไรเยอะมาก
หนังสือพิมพ์ตาย ลดการตัดไม้ได้เยอะ เรามาถูกทางแล้ว
ไม้เค้าปลูกเพื่ออุตสาหกรรมครับ อ่านหรือไม่อ่านไม่มีผลกระทบกับจำนวนต้นไม้
จำนวนหนังสือที่มีประโยชน์จะลดลงตามไปด้วยครับ
– นิวทีวีนี่แยกกับเดลินิวส์แบบไม่อิงกันโดยสิ้นเชิงครับเพราะเรื่องพี่น้องในตระกูลเนี่ยแหละ
– ไม่ใช่ว่าคนไม่อยากอ่านหนังสือพิมพ์นะครับ แต่ซื้อมาแล้วเจอแต่คอลัมภ์นิสคนแก่ขี้บ่น กับพาดหัวเสี้ยมกันไปมาเป็นสิบๆปีคนมันเบื่อ
-นิตยสารที่มันล่มเพราะว่ามันเหมือนกันหมดเช่นตอนณเดชน์ดังก็ขึ้นแทบทุกปก ไม่ใช่ว่าคนเปลี่ยนมาอ่านดิจิตอลนะครับ ถึงเจ๊ง เพราะ ถึงเอามาเปนดิจิตอลก็เจ๊งอยู่ดี เขาไม่อ่านเรื่องพวกนี้แล้วต่างหาก
– CONTENT IS KING ยังใช้ได้เสมอกับวงการสื่อบ้านเรา ดูสำนักพิมพ์เล็กๆเข่นโอเพ่น อะเดย์ หรือ เวิร์คพ้อย ได้ครับทำไมเขาไม่เจ๊ง ทำไมคนอื่นเจ๊ง
หน้าหนังสือพิมพ์เดี๋ยวนี้แทบไม่มีโฆษณาลงเหมือนแต่ก่อน กลายเป็นพื้นที่โปรโมทรายการทีวีของตนเอง
บริษัทกระดาษ หมึกพิม คนส่งนสพ
แมสเซนเจอ บลาๆๆๆ ผู้คนจะอพยพเปลี่ยนที่ทำกินกันมหาศาล
รถยนไฟฟ้า ถ้ามาอีก ก็เตรียมตัวตกงานกันอีกเพียบ ตอนนี้คนไทยต้องหาทางหนีทีไล่ไว้นะคับ
บอกเลยว่าธุรกิจที่จะโดนdisruptionยากคือ
ภาคบริการท่องเที่ยว และเกษตร
ธุรกิจของกินนี่แหละครับที่ยั่งยืนของจริง
โลกจะเปลี่ยนไปยังไง คนเราก็ยังต้องกินเหมือนเดิม
Kz Intarachote เป็นคอมเม้นที่ทำให้ยิ่งตระหนักตาม…
เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาคือของจริง
การเกษตรนี่ละครับ โดน disrupt มากๆ ใน ตปท เช่น อิสราเอล เวียดนาม มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยครับ การเกษตรแบบเดิมจะแข่งขันไม่ได้ในแง่ปริมาณและคุณภาพครับ
Piyapong Art การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ในไร่นาตัวเองไม่ใช่การถูกdisruptionคับ
ชอบจังค่ะ 6 D ☺
ชอบเหมือนกันครับ
โดยเฉพาะ”กระบวนการทำลายของดั้งเดิม”ภาษาสวยมาก
เช็ดกระจกดีมากครับ
ทึ่งในการรวบรวมข้อมูล กระชับดีครับ
เหมือนการเขียนจม จบไปพร้อมๆกับการมาของ นวตกรรมสื่อสาร
สังเกตมานานแล้ว โฆษนาหายยไปเกือบหมดเหลือแต่ของตัวเอง ที่ร้านรับทุกวัน บางวันลูกค้าไม่อ่านเลย
ยุคนึงเป้นยุครุ่งเรืองของ RSS Feed … เดี๋ยวนี้ไม่ต้องทำอะไร เดียวมันมาโผล่บน Timeline … T_T
ใช่ๆ ผมลืมไปเลยช่วงนึงมี rss feed เหมือนจะเกิด แล้วหายไปเลย
ขอบคุณที่เขียนบทความดีๆ
ออกมาให้อ่านตลอดนะคับ อ่านแล้วรู้สึกมองโลกได้กว้างขึ้น ได้ความคิดดีๆ ได้วิเคราะห์ และแยกแยะ ให้เห็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ชีวิตคือการเรียนรู้คับผม ^^
ขอบคุณครับ
เฉพาะ SCG นี่ก็มโหราฬละ่ครับ
ผมอ่านที่คุณช่วยให้โลกกว้างขึ้น ผมอยากถามว่าที่บ้านผม จังหวัดกาญจนบุรี เปิอโรงงานด้านfiber เพิ่มขึ้นชึ่งหมายถึงพวกกระดาษ ทำให้งงว่า ความต้องการกระดาษเพิ่มแต่สวนทางกับโลกปัจจุบันอธิบายให้หน่อยได้ไหมครับ ผมคนชนบทคิดไกลๆไม่ไหมครับถ้าติบได้ก็ขอบคุณครับถ้าไม่มีประโยชน์อะไรก็ข้ามๆไปนะครับ ขอบคุณครับ
packaging พวกกล่องสินค้ารึเปล่าครับ online โต บรรจุภัณฑ์พวกนี้ก็โตตามนะครับ
ทุกวันนี้ขายของออนไลน์บูมมากๆครับ กล่องไปรษณีย์ กล่องพัสดุ ผลิตไม่ทันเลยครับ
หนังสือที่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารก็ยังต้องใช้กระดาษครับเช่น นิยายต่างๆ เรื่องสั้น ตำราเรียน จดหมายราชการ เอกสารสำคัญต่างๆ ยังต้องใช้กระดาษ ถุง ซอง ห่อกระดาษ
เขียนดีมากกครับ สุดยอดจริวๆ
เขียนบทความได้ตรงกระแทกใจมากครับ
สุดท้ายไม่มีคนผลิต content แล้วเราจะอ่านอะไร?
ต่อไปคงไม่มี content ฟรี เพราะคนทำต้องอยู่รอดด้วยในยุค 6D
ชอบอ่านทั้งหนังสือพิมพ์ fb นสพ.ดีๆก็มีนักเขียนดีๆและข่าวในนสพ.ดีๆมักจะเชื่อถือได้มากกว่า รายละเอียดเยอะกว่า
การมาของอินเตอร์เนต ข้อมูลดิจิตอลทำให้หลายธุรกิจล่มสลายครับ ในพันทิปจะมีคนมาบ่นเรื่องเศรษฐกิจไม่ดีบ่อยมากๆ อันที่จริงแล้วเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ลองสังเกตดูเมื่อก่อนเวลาทำการค้าต้องเปิดร้านติดริมถนน ต้องมีร้านใหญ่โต ฯลฯ ข้อจำกัดเหล่านี้พังทลายลงเมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิตอล
.
จากที่เราเคยมีคู่แข่งแค่คนในบริเวณนั้น หรือเต็มที่คนในจังหวัดหรือประเทศเราเอง แต่ตอนนี้เรามีคู่แข่งเป็นคนทั้งโลกครับ คนที่ทำการค้าแบบเดิมๆ หวังลูกค้าในของทางเดิมจะได้ผลกระทบมาก ในขณะที่คนบางกลุ่มกลับร่ำรวยขึ้นมาแทนที่ ในเคสสิ่งพิมพ์ตามหัวข้อนี้ก็เช่นกัน ความมั่งคั่งหรือลูกค้าไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่มันย้ายไปในรูปแบบอื่นเท่านั้น ถ้าไม่ปรับตัวก็นับถอยหลังอย่างเดียวครับ
ผมก็เป็นนักเขียน ช่วงนี้หนังสือแบบพึ่งพาสปอนเซอร์ หาสปอนเซอร์ยากมากครับ ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ต้องเปลี่ยนรูปแบบมาเป็น E-Book หรือ Print on demand แทนแบบในรูปประกอบครับ และคงต้องใช้เวลาเปลี่ยนถ่ายยุคอีกระยะ คนถึงจะมาอ่านหนังสือแบบ E-Book อย่างเต็มตัว สังเกตจากลงหนังสือขายแบบ E-Book จะขายได้น้อย แต่พอสั่งมาเป็นเล่ม ทั้งๆที่เป็นหน้าขาว-ดำแท้ๆ แต่คนสนใจซื้อมากกว่ามากเลยครับ
ถ้าต้องอ่านยาวๆนานๆชอบอ่านเป็นกระดาษคะ อ่านจากอีบุ้คปวดตาเกิน
ใช่ครับ ส่วนตัว ชอบหนังสือมากกว่า ถ้าอ่านเยอะๆ แต่ถ้าอ่านบทความไม่ยาวมาก อ่านจากมือถือไม่เป็นอะไร
มือถือมันมีรังสีออกมา อ่านนานๆ ไม่ดีต่อสายตาเหมือนกัน
ตลาด e-commernce ทั้งแบบ b2b b2c โตเร็วมาก
เขียนได้ดีเข้าใจง่ายครับ
ชอบ ขอบคุณคับ #ลงทุนแมน
สองหัวนี้ข่าวส่วนใหญ่ลงแต่ข่าวฆ่ากัน ข่มขืน ดาราผัวทิ้ง คนใบ้หวย.. ไม่ค่อยทำให่คนอยากพัฒนาตัวเองเลย ถ้ามึนักเขียน/นักข่าวอย่างลงทุนแมนเยอะๆ คนไทยคงฉลาดกว่านี้
อ่านบนมือถือมีบทความให้เลือกอ่านเยอะกว่า เร็วกว่า(ตรวจสอบได้เร็วกว่า)
สุดท้ายมันจะเป็นงูกินหาง
หนังสือพิมพ์มันต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง
ถ้าจำไม่ผิด เดลินิวส์ กับ new) tv จะทะเลาะ แตกคอกันไปแล้วนะครับ เพราะตอนนี้ new) tv ไปทำหนังสือพิมพ์แจกฟรี (ที่ตอนนี้เจ๊งไปแล้ว)
ขอบคุณบทความดีๆ ที่ทำให้เราตระหนักมากขึ้น นี้แค่เริ่มต้นเอง…
วิถีชีวิตเราก็เปลี่ยนไปมากจริงๆ
เดียวมาอ่านกะต่ายน้อย โอโนโนะ
ชอบข้อมูลและการวิเคราะห์มากค่ะ จากข่าวที่รัสเซียที่ซื้อประกาศข่าวๆเป็นหมื่นๆเพจในเฟสบุ้ค ทำให้คิดว่าการที่โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งรวมข้อมูลทุกอย่าง ใครๆก็ประกาศข่าวได้ ทำให้ง่ายในการสร้างข่าวปลอม ปลุกปั่นหัวประชาชน มันต้องมีการตรวจสอบที่แข็งแรง ดังนั้นธุรกิจพวกทำ fire wall, พวกป้องกันการ hack และหน่วยข่าวกรองจำเป็นมากในยุคนี้ หุ้น HACK เลยขึ้นเอาๆ
อนาคตเราจะเป็นแบบนี้ครับ
จาก Wall-E หนังเมื่อ 10 ปี ที่แล้ว
เข้าใจเองนะครับว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น ผมบอกชื่อไดดรับ แอดวานซ์ไฟเบอร์ เมื่อปีก่อนเห็นอยู่แถวถนนหลักอำเภอท่ามะกา พอไปด้านที่ตรงข้ามกับแม่นำ้เปิดโรงงานใหญ่มาก แถมแถวที่อำเภอริมคันคลองมีการตุนไม้ยูคา ทั้งที่สับพร้อมเข้าโรงงานกับที่เป็นวัตถุดิบ หน้าจะใช้คำว่ามหาศาลครับเลยงง ใกล้ 60 คิดไม่ทันนะครับขออภัยด้วยแต่อยากแสดงความคิดเห็น ขอขอบคุณนะครับ
มีข้อมูลรายได้จากช่อง Social media ของทั้งไทยรัฐ เดลินิวส์ เทียบกับของข่าวสดมั้ยครับ เท่าที่ดูของข่าวสดมีคนติดตามมากกว่า 2 รายแรงค่อนข้างเยอะมาก
เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อหลวงดีกว่าไม่ต้องรวยล้นฟ้าแต่ก็มีความสุขตามอัตภาพ…
เยี่ยมมากครับพี่
ธุรกิจonline ที่มาแทนที่ทำกำไรได้น้อยกว่าเดิมมากเลย
เดลินิว เปิดบริษัทขายตรง HYLI ยอดพันล้านครับ
เขียนดีทุกบทความจริง ๆ
ขอบคุณครับ / พอพูดถึงตลาดสิ่งพิมพ์ ก็นึกถึง ตลาดหนังสือสำหนักนักเรียนชั้นอนุบาล ประถม มัธยม ในบ้านเราว่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมๆไปในทางไหนบ้างครับ เข้าใจว่า สนพ. หนังสือเรียนจะต่างจากสิ่งพิมพ์อื่นๆครับ
Ning Sangsuree งานวิจัยป.โท อิอิ
กำลังจะโพสต์เรื่องงานวิจัยอยู่เหมือนกันเพราะมันเกิดขึ้นแล้วกับบ.เราด้วย
ตอนเริ่มอ่านช่วงต้น ๆ ก็คิดตามอย่างสนุก นึกในใจว่า โอ้ว ได้ความรู้ใหม่ (อีกแล้ว) ผสมกับการทบทวนความรู้เรื่อง 6D
แต่ที่ไหนได้ จุดสำคัญมันอยู่ช่วงท้ายบทความนี่เอง อ่านช่วงท้ายจบ ผมนี่ หยุดกึก เหมือนดูหนังซีรี่ย์จบ แล้วทิ้งอะไรบางอย่างไว้อย่างน่าขนลุก อ่าาาาา
สุดยอดจริง ๆ เพจนี้ ขอบคุณครับ ที่ให้ผมเสพย์การอ่านอย่างชื่นใจจจจ
ไม่ผิดหวังที่ like เพจนี้ คาราวะครับ
อนาคต เราจะไม่มีเพื่อน จะพูดคุยกับ สิริ กับหุ่นยนต์ เพราะคุยแต่เรื่องที่เราอยากคุย ไม่ต้องเกรงใจกัน
ขอบคุณบทความดีๆนะคะ
สั้นกระชับ-ละเอียด-ตรงแระเดน-เพิ่มเติมได้ตามควร-ทำให้สรุปจบครบความ-ปรบมือขอบคุน
Penkawin Kaewkanokwijit
ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ
แอดอ่านหนังสือวันล่ะกี่เล่มคาับ
สะพรึงมากเลย สงสัยว่าอนาคต ธุรกิจทีวีดิจิตอล จะเป็นยังไงต่อ แข่งขันสูงปรี้ด จำช่อง ยังไม่ถูกเลย
Ananda Tieansawat
นสพ ไทยรัฐ ไม่เห็นมี ads เลยครับ รายได้ที่เอามาลงเค้ามีที่มาจากแหล่งอื่นบ้างหรือเปล่าครับ
ลึกซึ้ง
ลดลงทุกค่ายแน่หมดยุคกระดาษสะที
ไทยรัฐรายได้ 3000ล้าน กำไร 920ล้าน เกือบ 1 ใน 3 เลยแหะ นึกว่าพวกสิ่งพิมพ์จะมีอัตราส่วนกำไรน้อยกว่านี้สักอีก
จริงทุกอย่างเปนไปได้
การค้าขายจะผ่านโซเชียลและเดลิเวอรีอีอมเมิร์ชมากขึ้น
ทุกธุรกิจส่วนมาก ณ.เพลานี้ มีปัญหาที่คล้ายกัน ใครจะปรับตัวได้ก่อนและแก้เกมส์ธุรกิจได้เร็วกว่า ขอบคุณแอดมินที่เอาเรื่องดีๆมาให้อ่านครับ อนาคตก็จะเป็นค่ายรถยนต์ ICE และชิ้นส่วนประกอบ
ขอบคุณเพจนี้มากๆค่ะ ที่ทำให้มองอะไรได้ไกลขึ้นชัดขึ้นค่ะ..
นิวทีวี ไม่ใช่ของ เดลินิวส์ นะครับ แม้จะมีเจ้าของนามสกุลเดียวกัน แต่แยกกันบริหารชัดเจน ไม่เกี่ยวข้องกัน ช่วงที่เปิดตัวใหม่ ๆ ก็มีข่าวทีมงานเดลินิวส์ที่มาทำทีวีต้องลาออกจากเดลินิวส์ไปเลย
ผมเห็นด้วยมากๆว่าสุดท้ายคนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆจากเทคโนโลยี … และผู้ที่จะร่ำรวยจากอะไรก็ตาม จะต้องเก่งจริงในสิ่งที่ทำและต้อง give ก่อน take เสมอครับ.
จบได้สวย คมคาย เหมือนเดิม
ขอกราบเพจนี้งามๆ
ชอบบทความนี้มากครับ ได้ความรู้ 6D
เมื่อก่อนบ้านเรารับนสพ.บางหัว เพราะรายละเอียดเยอะกว่า
ปัจจุบัน เน้นอ่านฟรีทั้ง นสพ.และในมือถือ
ส่วนตัวยังชอบอ่านแบบ อนาล็อคมากกว่าดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นข่าว การ์ตูน หรือหนังสือต่างๆ โดยเฉพาะตำรา ชอบขีดๆเขียนๆ อาจจะเพราะว่าเราเป็นคนยุคเก่า และข้อดีของข้อมูลดิจิตอล คือการบริหารพื้นที่จัดเก็บ และ อายุข้อมูลที่อยู่นานกว่า
ผมชอบอ่านหนังสือพิมพ์ แต่ระยะหลังๆเวลาอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์เรามักอ่านผ่านตามาแล้วในมือถือ มันช้าไปแล้ว
ขอบคุณแอดมินสำหรับบทความดีๆนะครับ
ต่อไปเราคงไม่ต้องคุยแบบเห็นหน้ากันจริงๆ face to face แต่เป็น line to line แล้ว
Yu Ki คิดว่าน้องต้องร้องอะโห
โอ้ยยยยยย
เรื่องปกติที่ อเมริกาเป็นมานานกว่า 10 ปีแล้ว
จุดสุดท้าย มนุษย์จะอยู่ในโลกเสมือนจริง ตัวตนนอนอยู่บนเตียง ความคิดจิตใจล่องลอยไปในโลกไซเบอร์
กระดาษขาดแคลน สำหรับวงการพับถุงกล้วยทอด
และห่อกล้วยหอมจากสวนแน่ๆ ^^
คุณากร ศิริกุลธรรมา
Pond Nachaphol Chelsea Phirapol Ph
ดิฉันไม่ซื้อเลยค่ะ หนังสือพิมพ์ เสียดายเงิน สมัยนี้รับข่าวสารได้หลายทาง โดยเฉพาะทางอินเตอร์เน็ต ไวกว่าหนังสือพิมพ์ แถมบางทียังมีคลิป ภาพเสียงประกอบด้วย มีคนมาเม้น มาถกกันออนไลน์ได้ ดูมีความโปร่งใสกว่าค่ะ
จบได้รันทดมากๆ
อีกกี่อาชีพมี่ต้องหายไปพร้อมตอนจบ
ใครคิดได้อยุ่ในสายงานนี้ รีบชิ่งพร้อมตั้งรับน่าจะดีกว่า
มันเร็วกว่าที่คิดสมาท?โฟนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้
ก้อทำลายอาชีพเก่าๆได้เช่นมากกว่า
เป็นเพจแรกที่ผมอ่านทุกตัวอักษร อ่านทุกบทความ ขอบคุณครับที่มีสิ่งดีๆมาให้ตลอด
Benjaporn Amnouypornkunkit
รถส่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจะกลายเป็นเพียงตำนานเล่าขาน
คนขับรถส่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเปลื่ยนไปขับรถฟอร์มูล่าวัน เเลัว ครับ
เสือนอนกิน ไทยรัฐ ช่อง 3 7 รายได้หายไป เป็นเท่าตัว ไม่ปรับตัวเท่ากับ ถอยหลัง ประชาชนได้เปรียบ
แอด เป็นไปได้อยากรู้รายได้คลื่นวิทยุ ส่วนตัวผมเดาว่า ไม่น่าดีโดยเฉพาะรายการเพลง เดียวนี้อยากฟังเพลงอะไร กดไม่กี่ครั้งก็ได้ฟังแล้ว ขอบคุณครับ
พวกคลื่อวิุทยเดียวนี้ลงมาเล่น ในรูปแบบ appบนมือถือ หรือ live สดบนfb เพราะไม่ต้องมีข่าวหรือรายการของรัฐมาขั่นกลางรายการ อนาคตไม่แน่อาจจะมีหลายเจ้าคืนคลืนวิทยุบนภาคพื้นดิน แล้วมาลุย บน internet แทน
ดีครับ อยากให้พวกหนังสือพิมพ์ขยะ กากๆ มันเจ๊งไปให้หมด
ชอบๆ
Creamberry Khanita
ต้องอ่านลงทุนแมนทุกวัน เพื่อสร้างรอยหยักในสมอง ขอบคุณค่ะ
Nok Sakwattanakul
จะหนังสือพิมหรือสื่อออนไลน์ คนบางคนก็อ่านแค่พาดหัวอยู่ดีิ5555
จริง
Paperless!
ทุกคนสามารถเป็น influencer ได้ ถ้าเก่งในเรื่องนั้นจริง
ถ้าข้อมูลไหนดียอด (y) จะได้เยอะ ถ้าข้อมูลไหนไม่ดีก็จะตกไปเอง <3 -/- #ลงทุนแมน #เพจขั้นเทพเมพขิงๆ <3
ดีแล้วครับ หนังสือพิมพ์พวกนี้ชอบลงแต่ข่าวฆ่า ข่มขืน การเมืองน้ำเน่าเรื่องพระผิดวินัยต่างๆ ทำให้สังคมไทยที่เคยสุขสงบ ต้องมีความระแวงแคลงใจกัน คนเราเมื่ออ่านข่าวดูข่าวพวกนี้ทุกวันสภาพจิตใจก็เปลี่ยนไป คอลัมนิสต์ที่มีความรู้นิดหน่อยก็เขียนข่าวหลอกชาวบ้านที่ไม่มีการศึกษาได้ แต่มาเป็นสมัยนี้คนที่มีความรู้จริงๆได้มีโอกาสแสดงความสามารถ เหมือนกับคนเขียนบทความในลงทุนแมน ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนตอนที่ยังไม่มีสื่อออนไลน์ คงมีโอกาสน้อยมากที่จะได้เขียนสิ่งดีๆเหล่านี้ให้คนทั่วไปได้อ่านกัน
ยอดขายหนังสือพิมพ์ลดลงจริงค่ะ บริษัทลดยอดหนังสือลงให้พอขายแต่ละวัน แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ ลูกค้าต้องรีบมาซื้อไม่งั้นนสพ. หมดก่อน
และเมื่อคนอ่านน้อยลง ปริมาณหนังสือพิมพ์ที่ไปชั่งกิโลขายก็น้อยลงตามไปด้วย กลุ่มคนที่ต้องการซื้อนสพ.เก่าไปห่อฝรั่ง เช็ดกระจก ก็ต้องแย่งกันซื้อ ถ้าซื้อไม่ได้เขาก็จะลงทุนซื้อนสพ.ใหม่ไปเช็ดกระจกกันเลยค่ะ
เข้ามาอ่านทุกวันประเทืองปัญญาจริงๆค่ะ
เลิก อ่านเพราะข่าวไม่จริงข่าวบิดเบือน. นำเสนอเอนเอียง
Sekh Wannapok Surapong Iampongpaiboon
Narissara Puriwattanakun Hejongku He อิอิ
ขอบคุรนสำหรับบทความดีๆครับ
ถ้าคนเราตระหนักรู้ได้ว่าทิศทางที่มุ่งไปเป็นหายนะมากกว่าเรื่องดีของเก่าๆธุรกิจเก่าๆคงจะได้กลับมาบ้าง
Pansiree Thavornpinijtham
บทความนี้ยอดเยี่ยมมากครับ ทั้งเนื้อหา การเรียบเรียง และบทสรุป
ขอบคุณที่เขียนบทความดีๆเสมอมาครับ
ล่าสุด…มีคนแชร์หุ่นยนคร์
ทำกับข้าวมาให้ดู…เฮ้ย!
ทำได้จริงๆด้วย…น่าทึ่ง!!
ทำเก่งกว่าเราด้วยเพราะ
เราทำอาหารฝรั่งไม่เป็น…
ไม่ปรับตัวก็รอวันตายค่ะ
หนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับ สมัครเน็ตได้ 1 วันหรือราคาอาจถูกกว่า
คนสมัยใหม่ ไม่นิยมอ่านหนังสือมากเท่าไหร่
ยกตัวอย่าง ห้องสมุด รร. ม.ลัย
หนังสือพิมพ์มีน้อยคนที่จะอ่าน
แถมคุณภาพการเขียนข่าว ก็กะลา เสียมบาง
ปะหน้าหัวข้อเวอร์ ไร้จรรญาบรรณ ไม่เร็ว ไม่นั้นนุ้นนี่
อ่านเพจจ่า และอื่นๆ หาข้อความจริง
มีคนวิเคราะห์ สังเคราะห์ อภิปราย
บลาๆ
หนังสือ พิมพ์ มันคล้ายๆ สือด้านเดียว
จะเขียนดีก็ดี เขียนใส่ร้าย ชี้ทางก็แย่
ที่แน่ๆ ฝนตกเปียกแน่นอน 555
พกโทรศัพท์คุณไปได้ทั่วโลก
ใครอ่าน อิ้งได้สบายเลย
นี่ยังไม่นับ ยูทูป กูเกิล เฟส ไล บลาๆ เยอะ
หลายช่องทาง หาข่าว
ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง เลิกอ่านหนังสือพิมพ์มานานแล้ว
ที่เห็นความต่างมากที่สุดคือ ความคิดเห็น หนังสือพิมพ์ไม่มี แต่เฟดบุ๊คมี
เพิ่งคุยกับผู้ใหญ่ท่านนึงที่เคารพว่าธุรกิจหนังสือพิมพ์จะเป็นไงบ้าง กระจ่างเลยค่ะตอนนี้
ดูไทยรัฐมี profit margin สูงกว่าเดลินิวส์มากๆ เลย ยอดต่างกัน 3 เท่า กำไรต่างกันเกือบ 8 เท่าตัว
ผมสังเกตุไทยรัฐมาหลายปี ตอนที่ยังพอซื้อบ้าง ก็เห็นว่าหน้าโฆษณาด้านหลังลดลงไปเรื่อยๆ มีแต่โฆษณาของตัวเอง
ในยุคก่อนเนี่ย ลูกกำพร้าจะหาพ่อแม่ ต้องมาหาไทยรัฐกันเลย
คอลัมน์ ไว ตาทิพย์ ที่อยู่หน้าหลังสุด ก็ทรงพลังมาก เขียนอะไร มีผลกระทบ
ผลกระทบต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้ สื่อมวลชน ไม่สามารถชี้นำสังคมได้เหมือนเดิมอีกแล้ว
แล้วผลอื่น ๆ ก็ตามมาอีก ปรับตัวกันน่าดูแหละครับรอบนี้ ท่าทางมันจะพัฒนาต่อไปอีกยาวด้วยแบบก้าวกระโดด
Tuck Panpilas
อ่านแล้วสะเทือนใจ ขอบคุณแอดมากครับบ
Nantisa Tantawansodsai
มองตัวเลขกำไรต่อรายได้ เดลินิวส์น้อยกว่าไทยรัฐ หลายเท่าตัว
รถส่ง นสพ ไทยรัฐ แรงจริงๆ