รู้จัก เครือข่ายร้านอาหารของ เซ็นทรัล

KFC, Mister Donut, Ootoya, Yoshinoya, Cold Stone
เวลาทุกคนไปเดินห้าง น่าจะเคยเข้าไปทานร้านเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง
เคยสงสัยกันมั้ยว่า ใครเป็นเจ้าของกิจการร้านพวกนี้ในไทย
บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (Central Restaurants Group หรือ CRG) ดำเนินธุรกิจร้านอาหารเครือข่ายและอาหารบริการด่วน โดยได้รับสิทธิ์จากเจ้าของแฟรนไชส์ ซึ่งมีหลากหลายแบรนด์ครอบคลุมอาหารเกือบทุกประเภท ซึ่งในปี 2559 CRG มีสาขาของทุกร้าน ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 830 สาขา
ร้านในเครือของ Central Restaurant Group มีอะไรบ้าง?
1. Mister Donut ผู้นำตลาดโดนัทของประเทศไทย
2. KFC ร้านไก่ทอดที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก
3. Auntie Anne’s เพรทเซลที่มีเอกลักษณ์ รูปร่างที่ไม่เหมือนใคร
4. Pepper Lunch อาหารจานร้อนแนวใหม่ ที่สามารถปรุงสุกได้ด้วยตนเอง บนอุณหภูมิสูงสุด 260 องศาเซลเซียส
5. Chabuton ราเมนต้นตำรับแท้จากประเทศญี่ปุ่น โดยเชฟผู้ชนะเลิศ TV Champion
6. Cold Stone Creamery ไอศกรีม ระดับซูเปอร์พรีเมียม ที่มีรสชาติเข้มข้นสไตล์อเมริกัน
7. The Terrace ร้านอาหารไทยที่เน้นคุณภาพ และวัตถุดิบสดใหม่
8. Yoshinoya ต้นตำรับข้าวหน้าเนื้อสไตล์ญี่ปุ่น
9. Ootoya ร้านอาหารญี่ปุ่นพรีเมียม สไตล์ โฮมเมด เน้นความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆ
10. Tenya ร้านเทมปุระอันดับหนึ่งจากญี่ปุ่น ด้วยกุ้งคัดพิเศษจากฟาร์มพิเศษ ราดด้วยซอสสูตรลับตำรับโตเกียว
11. Katsuya ร้านทงคัตสึ และ คัตสึด้ง ยอดนิยมจากประเทศญี่ปุ่น
12. FEZT ไอศกรีมพรีเมี่ยม เนื้อแน่น เข้มข้น ที่ผลิตโดยครีมสดจากนมสดแท้ 100%
ทั้ง 12 แบรนด์ของ Central Restaurant Group รวมแล้ว มีรายได้เท่าไร?
ปี 2557 รายได้ 9,901 ล้านบาท กำไร 295 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้ 10,095 ล้านบาท กำไร 541 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 10,529 ล้านบาท กำไร 636 ล้านบาท
ถ้าหาก CRG อยู่ในตลาดหุ้น หมวดอุตสาหกรรมอาหาร CRG จะมีรายได้เป็นอันดับ 9 จาก 39 บริษัทในกลุ่ม เป็นรองหุ้น CPF, KSL, KTIS, M, MINT, TF, TFG และ TU แต่เหนือกว่าหุ้นอย่าง CBG ASIAN ICHI OISHI TKN
เมื่อเทียบกับบริษัทไมเนอร์ หรือ MINT บริษัทที่ทำทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารเช่นกัน ปี 2559 MINT มีรายได้จากธุรกิจอาหาร 23,157 ล้านบาท ดังนั้นความใหญ่ของ CRG จึงเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของธุรกิจอาหารใน MINT
แล้วใครเป็นเจ้าของ CRG?
บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา หรือ CENTEL ถือหุ้น 100% พูดง่ายๆคือ CENTEL มีธุรกิจอยู่ 2 อย่างคือ 1. ธุรกิจโรงแรม 2. ธุรกิจร้านอาหาร
ถ้าเราอยากเป็นเจ้าของ CENTEL เราสามารถซื้อได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในปี 2559 ธุรกิจโรงแรม CENTEL มีรายได้ 8,919 ล้านบาท กำไร 1,469 ล้านบาท รายได้น้อยกว่าธุรกิจอาหารเสียอีก
สรุปแล้วบริษัท CENTEL ไม่ได้เป็นหุ้นโรงแรมเหมือนชื่อซะทีเดียว เพราะ รายได้เกินครึ่งมาจากธุรกิจอาหาร
นี่เป็นตัวอย่างว่าการศึกษาบริษัท ควรดูว่าแต่ละธุรกิจมีสัดส่วนรายได้เท่าไร ถ้าดูแต่ชื่อ ก็อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้
เช่น ถ้าคนชอบร้านอาหารสุกี้ MK แต่ไปซื้อหุ้นชื่อย่อ MK ในตลาด จะกลายเป็นว่าเราได้บริษัทอสังหาริมทรัพย์มาแทน..
บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหุ้นนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
ขอบคุณรูปจากเพจ Mister Donut (Thailand)
Comments
37 thoughts on “รู้จัก เครือข่ายร้านอาหารของ เซ็นทรัล”
You must be logged in to post a comment.
NewJayda Jayda
ขำๆเรื่อง MK ตอนเข้าตลาดใหม่ๆก็งงเรื่อง M กับ MK เหมือนกัน
ข้อมูลแน่นมากครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
Jinny Joy Jack NJ Nun Jeeranun
รายได้จากอาหารมากกว่าแต่กำไรน้อยกว่าโรงแรมเกินครึ่งเลยนะ
รายได้ไม่สำคัญ ที่สำคัญคือกำไร ก็เหมือนบางสายการบิน รายได้แสนล้านแต่กำไร16 ล้าน
ผมก็ว่างั้น เพจลงทุนแมนหลายโพสต์ให้ความสำคัญกับ revenue มากจนมองข้าม net profit margin ที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพธุรกิจมากกว่า
El Nino Pong Nattaya Wisawarungruangkij
Joe Yothepitak Notcore เพ็ชร ธรรมญาณรังสี -/-
kslกับktisนี่ทำน้ำตาลไม่ใช่หรอครับหรือมีทำอาหารด้วย
จัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจอาหารครับ
น้ำตาล 2 ยักใหญ่ ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น ทั้งมิตรผล และ ไทยรุ่งเรือง
ต้องดูไส้ใน
แต่บอกได้เลยเพจนี้จะทำให้เราตัดสินใจเลือกลงทุนกะหุ้นได้ถูกตัวคะ
Aticha Pongsangangan
Bing Chanatip
แหม…ผมแวะ ootoya ใน the mall บ่อยๆ ตกลง central เป็นเจ้าของซะงั้น ปล.ของเดอะมอลล์กรุ๊ป ไม่มีบ้างเหรอครับ ???
Maiyasit Cha
ขอบคุณครับ
ออโตย่า ทำไม่ค่อยลงเซ็นทรัลเลย ลงแต่เดอะมอลล์ นึกว่าของเดอะมอลล์นะเนี่ย
เดิมเป็นของเบทาโกร ซึ่ง coperate กับกลุ่ม the mall ภายหลังขายให้กับกลุ่ม central
กลยุทธ์ดีมาก
เนื้อหมู s-pure ทั้งนั้น
ขอบคุณมากค่ะ
ข้อมูลแน่นเหมือนเดิม ขอบคุณคะ
CRG ไม่ได้เป็นเจ้าของร้าน KFC ทั้งหมด มีร้านสาขา KFC แค่ 219 สาขา คิดเป็น 37% สาขาที่เหลืออีก 367 สาขา (คิดเป็น 63%) เป็นของ บ.ยัม เรสเทอรองตส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์รายอื่น ๆ
บทความก็บอกอยู่แล้วว่า CRG ได้รับสิทธิ์จากเจ้าของแฟรนไชส์ ที่คุณเม้นนี่แหละจะยิ่งทำให้คนไม่รู้งง ซึ่ง CRG เป็นเจ้าของร้าน KFC 219 สาขา แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ไงครับ
อีกอย่างข้อมูลคุณก็โคตรจะไม่แน่นเลย ที่ถูกคือ
ปัจจุบันเคเอฟซีมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ โดยบริษัทยัม! ประเทศไทยได้ขายสิทธิ์แฟรนไชส์ให้แก่สามบริษัท ได้แก่
1. CRG ประมาณ 219 สาขา ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาในศูนย์การค้ากลุ่มเซ็นทรัล บิ๊กซี และเทสโก้ โลตัส
2. เรสเทอรองตส์ ดีเวลลลอปเม้นต์ 123 สาขา
3. คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย ในเครือไทยเบฟเวอเรจ ของเจ้าสัวเจริญอีก 244 สาขา
นั่นคือ ตอนนี้ บ.ยัม เรสเทอรองตส์ ได้ขายสิทธิในร้าน KFC ให้กับบริษัทอื่นหมดแล้ว ตอนนี้ทำหน้าที่เพียงเป็นผู้บริหารแฟรนไชส์ในประเทศไทยเท่านั้นนะครับ
อาณาจักรนี้ใหญ่จริงๆครับ ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ ติดตามอ่านตลอด
The terrace ห่วยแตก
อาหารญี่ปุ่นชอบย่าย้อย
ของMK…อร่อย…ราคา
รับได้…
CENTEL ถือหุ้น CRG 100%
รายได้ของ CRG ต้องถูก fully consolidated กับงบของ CENTEL รึเปล่าครับ
Centel
Ninglek Yuvarath
บทความเยี่ยมมาก
12 แบรนด์ เป็นอาหารญี่ปุ่นไปซะ 5 แบรนด์
Punpisal Praditsin