ผู้สนับสนุน.. AP กำลังเป็นมากกว่า บริษัทอสังหา

ผู้สนับสนุน.. AP กำลังเป็นมากกว่า บริษัทอสังหา

22 มิ.ย. 2019
ผู้สนับสนุน..
AP กำลังเป็นมากกว่า บริษัทอสังหา / โดย ลงทุนแมน
“ถ้าอยู่แต่ในกล่อง เราก็จะไม่เห็นอะไร”
ประโยคนี้เป็นแนวคิดของ คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการผู้จัดการบริหารบริษัท AP
จากงาน AP World ครั้งล่าสุด บริษัท AP แสดงให้เห็นว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องมีการปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทุกวัน
แล้ว AP จะนำเทคโนโลยีมารวมกับธุรกิจอสังหาอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่น เรามาดู..
ภาพรวมผลประกอบการบริษัท AP ช่วงที่ผ่านมา
ปี 2559 รายได้ 24,991 ล้านบาท กำไร 2,703 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 28,904 ล้านบาท กำไร 3,148 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 38,020 ล้านบาท กำไร 3,856 ล้านบาท
คิดเป็น การเติบโตรายได้และกำไร เฉลี่ย 23% และ 19% ต่อปี
โดยมีโครงสร้างรายได้มาจาก
บ้าน 60%
คอนโดมิเนียม 35%
บริการ 5%
แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจหลักอย่าง บ้าน และ คอนโดนิเนียมยังสามารถเติบโตได้ดี
อย่างไรก็ตาม AP กำลังเปลี่ยนภาพลักษณ์จากเดิมเป็นผู้สร้าง เพื่อขายไปอีกระดับ
โดยการเจาะธุรกิจบริการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
โดยไอเดียทางธุรกิจที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจาก “ปัญหาของผู้อยู่อาศัยโดยตรง”
เรื่องแรกคือ เรื่องของความปลอดภัยของที่อยู่อาศัย
AP พัฒนานวัตกรรมระบบความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน KATSAN
เป็นระบบประมวลผลการเข้า-ออกอัฉริยะผ่าน Computer Vision และการประมวลผลผ่าน AI ด้วยการจดจำทะเบียนรถ
โดยข้อมูลทางสถิติจะถูกนำเสนอให้ลูกบ้านโดยตรงผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
อธิบายเป็นตัวอย่างง่ายๆ เช่น
หากมีแขกมาหาเราที่บ้าน
ระบบจะแจ้งเตือนเราผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ช่วยสกรีนความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนแขกเข้ามาถึงตัว
กรณีหากมีรถผู้อื่นจอดขวางหน้าบ้าน
ก็สามารถเข้าระบบตรวจเช็คหาเจ้าของได้
ทำให้เราสามารถ ยืนยันกับระบบได้โดยตรงเลยว่า
แขกคนนี้เป็นแขกของเราหรือไม่ นั่นเอง..
มากไปกว่านั้น KATSAN ยังสามารถเชื่อมต่อกับ รปภ. และแจ้งเหตุฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือพิเศษ ทั้งจากนิติบุคคล, โรงพยาบาลหรือสถานีตำรวจ ได้โดยตรง..
อีกหนึ่งปัญหาที่ AP นำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมก็คือ
แพลตฟอร์มผู้เชี่ยวชาญประจำบ้าน HOMEWISER
บริการดังกล่าวจะเป็นการเก็บข้อมูลสภาพบ้านของเราในระบบ
ผ่านเช็กลิสต์กว่า 400 รายการโดยผู้เชี่ยวชาญ
และเราสามารถได้รับข้อแนะนำ และการวางแผนเกี่ยวกับสภาพบ้านของเราได้โดยตรง และยังรวมไปถึงบริการเสริมในเรื่องงานตกแต่ง ซ่อมแซม และงานทำความสะอาด
หมายความว่า ในอนาคตหากเราบันทึกข้อมูลลงบนแพลตฟอร์ม HOMEWISER
เราก็จะตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้อย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็น
เราซ่อมบ้านครั้งสุดท้ายวันไหน
รายละเอียดการซ่อมจุดไหนบ้าง
อายุการใช้งานเหลืออีกกี่ปี
และที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องทั้งหมดนี้อยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน..
จากสถิติจำนวนประชากร และบ้านในประเทศไทย
ปี 2551 ประชากร 63.4 ล้านคน บ้าน 20.6 ล้านหลัง
ปี 2561 ประชากร 66.4 ล้านคน บ้าน 26.2 ล้านหลัง
แสดงให้เห็นว่า หาก AP พัฒนานวัตกรรมทั้ง 2 แพลตฟอร์มออกมาตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัย
ตลาดในอนาคตของบริษัทจะไม่ใช่เพียง คนที่ต้องการที่อยู่อาศัย แต่จะเป็นจำนวนบ้าน และโครงการที่พร้อมจะมาอยู่บนแพลตฟอร์มบริการของบริษัท AP
แต่เรื่องยังไม่หมดเพียงแค่นี้ เพราะบริษัท AP กำลังมองไกลไปกว่านั้น
จากอสังหาริมทรัพย์ มาสู่แพลตฟอร์มบริการ
จนปัจจุบัน AP กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มการศึกษา
ปัจจุบันคนไทยหลายคนยังไม่สามารถเข้าถึงหลักสูตรสมัยใหม่ และอาจมีวีธีการเรียนรู้ที่ต่างกัน
นักเรียนยุค 90
เรียนจากคุณครูยุค 80
ที่สอนจากหลักสูตรยุค 70
จึงมีโอกาสที่เราจะพลาดความรู้และทักษะใหม่ๆ และอาจทำให้เราตามหลังประเทศชั้นนำอยู่พอสมควร
AP จึงนำปัญหาดังกล่าวมาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์ม YourNextU
ที่รวบรวมหลักสูตรระดับโลก เช่น Design Thinking ต้นฉบับจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และหลักสูตรที่ทันต่อเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน เช่น Business Management 4.0, Data Analysis, Cloud Computing และ AI เป็นต้น
โดยแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 รูปแบบทั้ง
การเข้าคลาสเพื่ออบรม
แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ
การเรียนบนระบบออนไลน์
และคลังความรู้ออนไลน์
ที่น่าสนใจคือ โมเดลของ YourNextU จะเป็นระบบสมาชิกรายปี และเราสามารถเลือกเรียนได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด
จากการนำเทคโนโลยีที่พัฒนามาเป็นนวัตกรรม
ที่ขับเคลื่อนจากปัญหาต่างๆ ทั้งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการเรียนรู้
เรื่องนี้กำลังสะท้อนให้เห็นว่า AP กำลังจะเป็นมากกว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
และแก้ไขปัญหาเพื่อเติมเต็มช่องว่างในสังคมไทยได้อย่างแท้จริง..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.