ค่าเงินบาท แข็งแกร่งสุดในปฐพี

ตั้งแต่ต้นปีมาถ้าใครได้ซื้อหุ้นในประเทศเวียดนามแล้วได้กำไร 7.9% อย่าพึ่งดีใจ เพราะตัวเลขนี้ถือว่าเป็นผลตอบแทนที่แย่กว่าฝากเงินธนาคารไว้เฉยๆในประเทศไทย
สมมติถ้าเราได้กำไรจากหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีแค่ 5% จะเป็นกำไรที่เทียบเท่ากับ กำไรจากหุ้นเวียดนามมากถึง 12.9%
เพราะอะไร?
เพราะว่าจากต้นปี ค่าเงินของเวียดนามอ่อนลงเมื่อเทียบกับไทย 7.9%
ทั้งที่ตอนนี้มีปัญหาของประเทศไทยที่หลายคนเป็นห่วงก็คือ
1) สังคมผู้สูงอายุ ขาดประชากรวัยแรงงาน
2) ประเทศขาดเทคโนโลยีขั้นสูง หรือนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า
3) หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง กดดันการบริโภค
พอเรื่องเป็นอย่างนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมามีนักลงทุนไทยหลายคนย้ายเงินออกไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ
เพราะคิดว่าประเทศไทยมีอนาคตไม่สดใสเท่าไรเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
แต่เรื่องมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เพราะ ตั้งแต่ต้นปีมาค่าเงินบาทไทยกลับแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆเมื่อเทียบกับหลายประเทศ
ถึงแม้ว่าเราจะได้กำไรจากหุ้นในต่างประเทศ แต่เมื่อคิดกลับมาเป็นเงินบาท เงินนั้นกลับมีมูลค่าลดลง
เช่น ถ้าเราไปลงทุนในหุ้นอเมริกาได้กำไรตั้งแต่ต้นปี 6.1% ยังถือว่าเป็นผลตอบแทนที่แย่กว่าฝากเงินธนาคารไว้เฉยๆในประเทศไทย
แล้วตั้งแต่ต้นปี ค่าเงินบาท แข็งค่ามาเท่าไรแล้วเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน?
ฟิลิปปินส์ 8.61%
เวียดนาม 7.92%
อินโดนีเซีย 5.02%
มาเลเซีย 1.74%
สิงคโปร์ 0.85%
ดูเหมือนว่าการลงทุนในต่างประเทศนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด ถ้าเรามองในมุมว่าเราเป็นคนไทย และสุดท้ายเราต้องการนำผลกำไรกลับมาใช้จ่ายเป็นเงินบาท
ประเทศที่ใครๆก็รู้ว่าเติบโตแรง อย่าง ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ค่าเงินกลับอ่อนค่าไปมากเมื่อเทียบกับไทย สาเหตุก็อาจเป็นเพราะการเติบโตแรงทำให้เกิดเงินเฟ้อที่มากกว่าไทย
เรื่องนี้ยังกระทบกับภาคธุรกิจที่ต้องนำเข้าและส่งออกของไทย อีกด้วย
หลายคนที่อยู่ในธุรกิจนำเข้าก็ดีใจเพราะซื้อของได้ต้นทุนที่ถูกลง ถ้ายังขายราคาเท่าเดิมได้ก็หมายถึงกำไรเพิ่มขึ้น
ส่วนคนที่อยู่ในธุรกิจส่งออกก็คงต้องเอามือก่ายหน้าผาก เพราะถ้าขายเป็นเงินต่างประเทศเมื่อแปลงกับมาเป็นเงินบาทจะได้น้อยลง
ดังนั้นในช่วงนี้การ hedge ค่าเงินไว้อาจจะจำเป็นสำหรับคนที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามโลกนี้คงไม่มี free lunch การ hedge ค่าเงินก็มีต้นทุนของมันอยู่
สรุปแล้วช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก และยากลำบากในการตัดสินใจของนักลงทุนไทย
ในประเทศ ตลาดหุ้นก็ซึมๆ ไม่ไปไหน ถ้าจะให้ไปลงทุนต่างประเทศก็มีความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน..
หมายเหตุ: ค่าเงินบาทในอนาคตอาจจะไม่ได้มีทิศทางเดียวกันกับในอดีต การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
Comments
78 thoughts on “ค่าเงินบาท แข็งแกร่งสุดในปฐพี”
You must be logged in to post a comment.
เม้นแรก อิอิ
รถไฟทับไม่แบนเลย
เม้นสองรองจากท่านอาจารย์ครับ … พร้อมเเชร์
แหม…ทันข่าวรถไฟเหยียบเหรียญเลยนะครับ 55555
ถึงว่า รางรถไฟเป็นร่องขนาดนั้นได้ เงินบาทแข็งใช้ได้เรยนิ
แบบนี้
ไม่มีเหรียญไทยนิครับ อิอิ
จะพยุงบาทจนล้ม ต้มยำกุ้ง อีกหรือเปล่าคะ
อันนี้กลับข้างกันครับ ต้องเอาเงินบาทมาช่วยซื้อดอลล่าร์แทน
ครับ ถึงเวลาไปสอยดอลล่าร์กันครับ (ถ้าไม่กลัว)
สงสัยเป็น แกงเขียวหวาน ครับรอบนี้
ลงทุนแมน สถิติการเทรด intervene จาก Central Bank โดยใช้ FX-SPOT, FORWARD, SWAP ดูข้อมูลที่ไหนครับ
น่าจะส้มตำกุ้ง มากกว่า
Lek Watcharaphol อ่านๆ
thx krab. : )
ปีนี้ใครลงยูโรได้ currency เสริม return นะ
เหมากับการไปเที่ยวนอกนะครับ ad สำหรับขาใช้เงิน ไปเที่ยวดีกว่า shopping กระจาย
เที่ยวชอปปิ้งได้แต่ตอนนนี้ศุลกากร เข้มมากนะครับ
ค่าเงินแข็งแต่ประชากรส่วนใหญ่อ่อนแอจะมีประโยชน์อะไร
คนในประเทศไม่มีเงินซื้อ ค่าเงินแข็งไปก็เท่านั้น แถมคนจะขายยังขายยากอีก
เห็นเอาเงินไปซื้อบริษัทที่อังกฤษกันยกใหญ่
ดอลล่าสหรัฐ มีโอกาศตกลง30 ไหมครับ
Pathompol Vannasetta
Woody Wooddy
Sakao Techacharnwichit ได้เวลาช้อปละมึง
ขอบคุณบทความที่มีประโยชน์ครับ
เมธาสิทธ์ กาญจนะ
เห็นงบไตรมาสแรก บ.ในกลุ่มโรงกลั่นได้กำไรค่าเงินบาทแข็งพอควรหลาย บ. เหมือนกัน
ราคาน้ำมันถึงลง
Erkkub AstsadawutMiew Kamonthip
Bonze Subin Charuscharungkiat
อย่าซีเรียสครับ แย่สำหรับคนจะขาย ดีสำหรับคนจะซื้อ
ส่งออกก่ายหน้าผาก แต่ก็ยังเห็นมี นลท. หาลงกองหุ้นเวียดนามอยู่
ในไทยดึที่สุดเมืองแห่งพระราชาสร้างมาไม่ใช่ระบบทุนนิยมการเติบโตมาจากโครงการราชดำนิ4พันกว่าโครงการ
ไม่ใช่ทุนนิยมแต่เป็นระบบผูกขาด ดูตัวอย่างจากต่างประเทศ คือห้ามผูกขาดเกิน30% แต่ไทยเท่าไรก็ได้ยกตัวอย่างcpคับ
ถ้าเทียบกับค่าเงินมาเลเซีย ทำไมเงินบาทแข็งค่ามากเกินไปครับ
อันเนี่ยเรื่องจิงคนที่ทำงานมาเลย์บ่นอุกทั้งที่รัฐบาลซื้ออาวุธ7หมื่นล้านแต่ค่าเงินกลับไม่ลดสักนิดเดียวหมายความว่าอย่างไร
เงินทองคือมายาข้าวปลาสิของจิง
เงินทองเปนเพียงปัจจัยการสร้างกิจการจากสิ่งของเทคโนโลยี่ยุคนี้อยุทึ่ใหนมันไปได้ทั่วโลกทุกอย่างเปนโซเชียลเวิลด์
เงินแข็งเพราะได้ดุลเยอะ และมันจะแข็งไปเรื่อย ถ้าเรายังได้ดุลอยู่ ธปท พยายามยื้อไม่ให้แข็งเร็วไปจนกระทบคนส่งออก
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเพราะอะไรหรอครับ แล้วจะส่งผลอะไรกับเศรษฐกิจมั้ยคับ เปนมือใหม่คับ
มีผลท้้งดีและเสียคับ
ดีคือเราแลกเงินดอลได้มากขึ้น เสียนิการส่งออกน้อยลง ศก ซบเซาคับ
อีกข้อครับ ดีกับสินค้าขาเข้าเช่นพืชไร่ที่ซื้อเข้ามาขายจะได้ราคาถูกลงนำเข้ามาขายในไทยแต่ขายในไทยราคาเท่าเดิมนะเช่นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ด้วยครับ
เงินบาทแข็งแบบนี้. ต่างชาติจะมาซื้อหุ้นในตลาดหุ้นน้อยลงสิครับ. เพราะเงินสกุลเขาแลกเงินบาทเราได้น้อยลง.
Muk Laksamon
แบบนี้ ถ้ามีเงินบาทเราก็ซื้อเงินดอลฯ มาตุนไว้..แล้วรอขายตอนค่าเงินบาทอ่อนไปที่ 35.5 ทำกำไรได้ซิ..ใช่ป่าว
มันมีแต่จะแข็งขึ้นเรื่อยๆ คือขาดทุนครับ
ใครถือดอลล่า ก็กำไร สินะ
ไหนๆ แข็งแล้ว เอาซํก 33 แล้วกัน
สวัสดีครับคุณแมน
อาจจะเปนเพราะ ประเทศไทยเรยเคยผ่าน Crisis 97 มา เรยทำให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงประเดน Current account/ Gdp 13%/gdp , ทุนสำรองระหว่างประเทศ( 10.2เท่า) ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นมาก
โดยปัจจุบัน ตลาดทุนประเทศไทยทั้ง bond , stock มีเสถียรภาพ , ขนาดที่สามารถรองรับ flow มากกว่า TIPs รึเปล่าครับ ?
เรยทำให้อาจถูกมองเป็นที่พักเงิน ที่มีเสถียรภาพรึเปล่าครับ
ต้องอย่าลืมครับว่า เงินที่เข้ามาในภูมิภาคเราตั้งแต่ FED , EU ทำ QE ( จาก ADXY ) เป็นHot money ทั้งนั้น ซึ่งส่วนมากจะลงใน bond , stox มากกว่า real asset ครับ
ลองดูภายหลัง fed ลด balance sheet และ ทยอยขึ้นดอกเบี้ยก่อนสิครับ
GDP เรา3% ( คนอื่น 5-7%)
Eps growth เรา 4-6% ( คนอื่น 10-30% )
ลองดูซัก 3-5ปีครับ
ประเด็นหลักที่ผมมองเป็นเรื่องเงินเฟ้อของบ้านเราต่ำมาก (เดือน june แค่ 0.45%) ทำให้ real interest rate น่าจูงใจมาก และเรื่องเสถียรภาพอย่างที่คุณ Bomb ว่าครับ
Real interest rate= nominal interest rate – inflation
พอ inflation ต่ำแบบนี้ ไทยก็น่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้ยาก
ทีนี้ถ้าพูดถึงเรื่องการประเมินมูลค่าบริษัท จาก eps ถึงแม้ไม่มี growth แต่ถ้า discount rate เราต่ำ WACC ต่ำ (เพราะ risk free rate ต่ำ) และ earning yield gap สูง ก็ทำให้ มูลค่าของบริษัทในประเทศเราอาจจะน่าจูงใจในมุมมองต่างชาติก็ได้ครับ + แถมยังกำไรค่าเงินอีก ถ้าเขาอยากเก็งกำไรค่าเงินด้วย ตั้งแต่ต้นปีถ้าต่างชาติซื้อไทยบาท ตอนนี้จะกำไรตั้ง 6.1% เมื่อเทียบกับ USD
ยกเว้นว่าดอกเบี้ยต่างประเทศจะสูงกว่าไทยมากๆ จนทำให้ real interest rate ของเราไม่น่าจูงใจ ก็จะกลับข้างกัน เงินก็น่าจะเริ่มไหลออก และค่าเงินเราอ่อนลงได้.. แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นภาพนั้นเท่าไร คงต้องรออีกสักระยะ
มีโอกาสที่ กนง.จะพิจารณาขึ้นดอกเบี่ยในช่วง 1Q61 หาก Fed ปรับดอกเบี้ยขึ้นมาเท่ากับไทย ที่ 1.50% และถึงตอนนั้น Gap bond yield ระหว่าง us, th จะแคบลงเรื่อยๆ จากปัจจุบันประมาณ 20-30bps ซึ่งจะเปนแรงกดดันค่าเงินบาทครับ
ส่วน earning yield gap ของ set ตอนนี้อยู่ในระดับยังไม่สูงพอ ที่จะทำให้นลท.ต่างชาติเข้ามาลงทุนขนาดนั้นคับ
Btw, ยินดีที่ได้คุยกับคุณครับ
คุณแมน ,
BomB
ยินดีครับ
ไม่เข้าใจ 7.9% อ่ะครับ
คือผมอยู่ประเทศไทย แล้วเอาเงินไปฝากธนาคารไทยแล้วได้ดอกเบี้ยมากกว่า 7.9% ??
ประมาณว่าถ้าอยู่ไทย ได้ดอกเบี้ย 2% แต่ถ้าไปลงทุนเวียดนาม สมมติได้กำไร 8% แต่พอเอาเงินกลับไทย ขาดทุนค่าเงิน 7.9% แสดงว่าเหลือกำไรจริงๆ 0.1% แบบนี้สู้ฝากเงินเฉยๆในไทยจะดีกว่าน่ะค่ะ
อ่อ ขอบคุณครับ
คนต่างชาติในกลุ่ม aec เช่นคนฟิลิปปินส์ ที่ทำงานในไทยแล้วส่งเงินกลับบ้านคงถือว่าโชคดี
Wrangkanar Fiange Ying
เรียบร้อยโรงเรียนไทย
Home ‘oms
ถามแบบคนโง่ๆ เลยบาทแข็งเพราะอะไรครับ
นที นที หิรัญเศรษฐวัฒน์ ใช่หรอวะ
ไม่รู้สิ เป็นอีกหนึ่งมุมมองมั่ง แล้วแต่ใครจะวิเคราะห์ โนคอมเม้น
บาทจาแข็งได้ถึงไหนน้า555
ขอบคุณสำหรับบทความที่ให้แนวคิดนะครับ..
http://www.marketwatch.com/story/this-is-the-only-single-country-etf-out-of-45-trading-lower-in-2017-2017-07-17?link=sfmw_fb เทียบ ETF ทั่วโลก, เทียบเวียดนาม vs ไทย, เป็น absolute USD term, return ของเวียดนามดูสูงกว่าน่ะครับ, ไม่แน่ใจเกี่ยวกับ foreign limit หรือเปล่า (ของเวียดนาม), เพราะ performance ของกอง ไม่น่าจะต่างเยอะ ถ้าดูเป็น ETF, ควรจะ track ตลาดมั๊ยครับ?
เป็นไปได้ว่า ผลตอบแทน ETF เขาเมื่อหักเรื่องค่าเงินบาทยังสูงกว่าของไทย เพราะหุ้นบ้านเราไม่ไปไหนจริงๆครับ
แสดงว่าตอนนี้เหมาะที่จะโยกไปลงแถวaec เพราะจะเราจะได้หุ้นมากกว่าปกติ แถมตลาดเค้าก็โตดีอีกต่างหาก เช่นฟิลิปปินส์ เวียดนาม
ถ้าคิดว่าตอนนี้มันแข็งพอแล้ว ก็อาจจะเป็นอย่างนั้นครับ
รายงานนี้หลังจากทำ NDT โดยฝรั่งขี้นก รถไฟทับแล้วไม่บุบสลาย
Maeteera Pongsirinirandorn
น้ำตาตกใน
Batt Chanakarn
กองเงินไว้ที่นั่นเลย…
อาจารย์แมนครับ แล้ว Brazil Russia นี่ดีไหม เห็นดอกเบี้ยพี่เขาสูงดี จะเป็นเหมือน ได้ซื้อหุ้นในประเทศเวียดนาม รึเปล่าครับ
ถูกต้องครับ ต้องเอาความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมาคิดคำนวณด้วย ประเทศที่ยังตามหลัง มักจะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสูง แต่มักมีค่าเงินที่อ่อนตัวสูงด้วย เพื่อผลักดันการส่งออก และดึงFDI เงินนอกเข้ามาลงทุนในประเทศ ต้องลงทุนยาวๆๆๆๆถึงจะคุ้ม
แลกดอลล่าไว้
Krittapas Jantarug