ผู้สนับสนุน.. กรณีศึกษา บ้านอารียา พลิกวิกฤติสู่กิจการรายได้พันล้าน

ผู้สนับสนุน.. กรณีศึกษา บ้านอารียา พลิกวิกฤติสู่กิจการรายได้พันล้าน

3 ต.ค. 2018
ผู้สนับสนุน..
กรณีศึกษา บ้านอารียา พลิกวิกฤติสู่กิจการรายได้พันล้าน / โดย ลงทุนแมน
วันที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะฟองสบู่เมื่อปี 2540 ทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นก็ต่างอยู่ในช่วงขาขึ้น
เกิดการซื้อและการลงทุนเพื่อเก็งกำไรจำนวนมาก ซึ่งแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากต่างประเทศเนื่องจากมีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ
แต่เมื่อฟองสบู่แตกค่าเงินบาทก็อ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่เงิน 25 บาท สามารถแลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็นต้องใช้เงิน 50 บาทเพื่อแลกเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ
นั่นแปลว่ามูลค่าหนี้ต่างประเทศที่กู้มา กลายเป็นสองเท่าภายในเวลาชั่วข้ามคืน
ผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ก็คือผู้ที่ลงทุนในหุ้น ที่ดิน บ้านและคอนโด เนื่องจากไม่มีใครมาซื้อต่อ
ส่วนผู้ที่กู้เงินมาเพื่อขยายธุรกิจต้องประสบปัญหากับมูลค่าหนี้ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับจำนวนลูกค้าที่ลดลง
แม้แต่พนักงานบริษัททั่วไปก็ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีบริษัทจำนวนมากล้มละลาย และบริษัทที่เหลืออยู่ก็จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานเพื่อลดต้นทุน
ในภาวะที่สภาพเศรษฐกิจและสังคมมีแต่ปัญหา กลับมีบางคนที่มองเห็นว่านี่เป็นช่วงเวลาแห่งโอกาส
คุณวิวัฒน์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการอาวุโส และ คุณวิศิษฎ์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในนั้น..
ช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศครั้งใหญ่ ราคาที่ดินลดลงอย่างรวดเร็ว
ผู้นำในตลาดอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ยังต้องวุ่นวายอยู่กับการปรับโครงสร้างหนี้
โดยมองว่าที่อยู่อาศัยถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตที่คนเราไม่สามารถขาดได้
เมื่อเห็นช่องว่างในตลาด จึงได้ก้าวเข้าสู่วงการอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มตัว และก่อตั้ง บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด ในปี 2543
และได้ซื้อที่ดินในขณะที่ราคากำลังตก เพื่อพัฒนาเป็นโครงการที่พักอาศัย
พวกเขาเลือกที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า โดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อภายใน 2 เดือนหลังจากการทำสัญญาและวางเงินจอง และเก็บเงินตามความคืบหน้าของการก่อสร้าง
ซึ่งวิธีการนี้ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้บริษัทอารียามีกระแสเงินสดเข้าจำนวนมาก และสามารถขยายโครงการได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยตัวเลขผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 ปี
ในปี 2547 ก็สามารถนำบริษัทอารียาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้
นับจากวันนั้นยอดขายของบริษัทก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะหมื่นล้านบาทในปี 2560
ยอดขายของบริษัทอารียา
ปี 2558 ยอดขาย 6,873 ล้านบาท
ปี 2559 ยอดขาย 8,004 ล้านบาท
ปี 2560 ยอดขาย 11,125 ล้านบาท
โดยยอดขายหลักของบริษัทอารียามาจากบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65% ของรายได้ทั้งหมด และส่วนที่เหลือจะมาจากการขายคอนโดมิเนียม ทั้งนี้ สัดส่วนของแนวราบและแนวสูงจะแบ่งตามการเปิดโครงการในแต่ละปี
นอกจากนั้นอารียายังเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เน้นการออกแบบที่พักอาศัยให้ตรงกับลักษณะการใช้ชีวิตและความต้องการของลูกค้า
และให้ความสำคัญกับแนวคิดที่ว่า ที่พักอาศัยเป็น ‘สุนทรียะแห่งการใช้ชีวิต’
ทั้งงานออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามีส่วนร่วม
รวมทั้งการยกระดับการบริการหลังการขาย เพื่อเติมเต็มความสุขให้กับการพักอาศัยของลูกบ้าน
ล่าสุดอารียาได้เปิดตัวแคมเปญใหม่ “ความสุขมีตัวตน”
เพื่อต้องการสื่อสารให้สอดรับกับความทันสมัยของผู้บริโภค รับกับรสนิยม และการใส่ใจสุขภาพกายและใจของสังคมเมือง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับลุคใหม่ของ อารียา ให้มีความทันสมัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการปรับโฉมใหม่ของเว็บไซต์หลัก www.areeya.co.th ให้มีความสมัย ให้มีความง่ายและรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เรื่องของอารียาเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่บอกเราว่าท่ามกลางปัญหามักจะมีเส้นทางสู่โอกาสเสมอ
เราแค่ต้องมองหาเส้นทางนั้นให้เจอ
และเมื่อเราเจอเส้นทางนั้นแล้วก็ต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะเดินไปให้สุดปลายทาง
เช่นเดียวกับคุณวิวัฒน์ และ คุณวิศิษฎ์ ที่แม้ตอนเริ่มต้นจะมีประสบการณ์ในวงการอสังหาริมทรัพย์มาไม่มาก แต่เมื่อมีโอกาสเข้ามาก็ได้คว้าเอาไว้
แต่ทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะพวกเขาก็ต้องศึกษาด้วยตัวเองตั้งแต่ ต้นทุน แบบก่อสร้าง รายละเอียดงานดีไซน์ รวมไปถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
จนทำให้ อารียาฯ สามารถยืนหยัดอย่างยั่งยืนมาได้จนถึงทุกวันนี้..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.